บทคัดย่อ
" ทะเลสาบหนองหานนอกจากรองรับน้ำจากลำห้วยต่าง ๆ แล้วยังรองรับน้ำทิ้งจากชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จึงส่งผลให้หนองหานเน่าเสีย และมีความพยายามแก้ปัญหาเรื่อยมายาวนาน จนในที่สุดจึงเกิดโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน) โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "
การอ้างอิง: ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์. (2562). เรื่องจากปก "หนองหาน สกลนคร" ความงามภายใต้ความเป็นห่วงตลอดมา. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 1).
"หนองหาน สกลนคร" ความงามภายใต้ความเป็นห่วงตลอดมา
ทะเลสาบหนองหานเป็นแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย แหล่งน้ำจืดนี้ช่วยเกื้อกูลผู้คนในพื้นที่ให้ได้ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ประมง และเลี้ยงสัตว์ ทะเลสาบหนองหานจึงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวสกลนครอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม ทะเลสาบหนองหานนอกจากรองรับน้ำจากลำห้วยต่าง ๆ แล้วยังรองรับน้ำทิ้งจากชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร จึงส่งผลให้หนองหานเน่าเสีย และมีความพยายามแก้ปัญหาเรื่อยมายาวนาน จนในที่สุดจึงเกิดโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน) โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริว่า "ควรรวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานที่ข้างโรงผลิตน้ำประมาณร้อยละ 70 จากเขตเทศบาลฯ ซึ่งระบายลงหนองหานมาไว้ที่เดียว เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัดในทำนองเดียวกันกับหนองสนม แต่มีขนาดใหญ่กว่า และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนครในอนาคตอีกด้วย"
บรรณานุกรม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เข้าถึงเมื่อ 2562).โครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน). [Website]. สืบค้นจาก http://km.rdpb.go.th/Project/View/6944
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (2559, พฤษภาคม 24). เปลี่ยน ‘หนองหาร’ เปลี่ยนชีวิตและสังคมคนสกลนคร. [Website]. http://lek-prapai.org/home/view.php?id=750