บทสัมภาษณ์: การพัฒนาเมืองตามอัตลักษณ์และภูมิวัฒนธรรมของเมือง

บทคัดย่อ

การพัฒนาเมืองในปัจจุบันและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองในอนาคต มักมุ่งเน้น ความหรูหรา ความทันสมัย การออกแบบภูมิทัศน์ของเมืองจึงมักเป็นไปในรูปแบบของรูปทรงที่ล้ำสมัย จนทำให้ เมืองแลดูไม่มีชีวิตชีวาและขาดการเชื่อมโยงกับรากเหง้าของชุมชน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและรากเหง้าของเมือง ซึ่งเป็นการพัฒนาเมืองตามภูมิวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของเมือง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกริก กิตติคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์เมือง จะมาร่วมพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ ภูมิลักษณ์ และจิตวิญญาณของเมือง รวมทั้ง ประเด็นปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาเมืองตามแนวคิดดังกล่าวของประเทศไทย


การพัฒนาเมืองตามอัตลักษณ์และภูมิวัฒนธรรมของเมือง

     การพัฒนาเมืองในปัจจุบันและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองในอนาคต มักมุ่งเน้น ความหรูหรา ความทันสมัย การออกแบบภูมิทัศน์ของเมืองจึงมักเป็นไปในรูปแบบของรูปทรงที่ล้ำสมัย จนทำให้ เมืองแลดูไม่มีชีวิตชีวาและขาดการเชื่อมโยงกับรากเหง้าของชุมชน 
      วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและรากเหง้าของเมือง ซึ่งเป็นการพัฒนาเมืองตามภูมิวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของเมือง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกริก กิตติคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์เมือง จะมาร่วมพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ ภูมิลักษณ์ และจิตวิญญาณของเมือง รวมทั้ง ประเด็นปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาเมืองตามแนวคิดดังกล่าวของประเทศไทย

     อัตลักษณ์เมือง ดูเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยกันนักสำหรับคนทั่วไป และเป็นคำที่มักใช้กันเฉพาะในวงวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ อัตลักษณ์ของเมือง จะหมายถึง คุณค่าของความเป็นตัวตน ที่แสดงลักษณะเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งสะท้อนคุณค่าของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สรรค์สร้าง ปรากฏความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การอยู่อาศัย ประเพณี และวัฒนธรรม ที่มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้คนแต่ละบริบทเชิงพื้นที่
     นอกจากนี้ อัตลักษณ์เมือง มักเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับคำว่า "ภูมิทัศน์เมือง" ซึ่งเป็นคำแปลที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Urban Landscape" หรือ "Townscape" ที่เกิดจากการรวมกันของคำว่า Urban หรือ Town ที่แปลว่า "เมือง" ซึ่งเป็นคำที่ใช้แสดงลักษณะพื้นที่หนึ่ง ๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยกำแพง หรือ เป็นพื้นที่ในเขตรัศมีที่แยกตัวจากพื้นที่ชนบท รวมทั้ง เป็นพื้นที่ที่มีแบบแผนในการจัดองค์กรบริหารจัดการภายในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และคำว่า Landscape ที่แปลว่า "ภูมิทัศน์" หมายถึง การรับรู้สภาพแวดล้อมภูมิประเทศ ทั้งที่ปรากฏตามจริงและภาพลักษณ์ในจิตใจของมนุษย์ที่รู้สึกได้ 

     การพัฒนาเมืองตามอัตลักษณ์ของเมืองที่คำนึงถึงมรดกทางสถาปัตยกรรม ซึ่งถือว่าเป็น
     จากความเป็นอัตลักษณ์ของเมืองที่ส่งผลให้การพัฒนาเมืองเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ ในกรณีดังกล่าว เทศบาลนครเชียงรายและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จึงได้ริเริ่มโครงการการฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) การอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความหมายและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย และการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมล้านนาในย่านเมืองเก่าของเมืองเชียงราย เช่น อาคารเก่าในเขตเมือง  และกลุ่มอาคารในพื้นที่ศาลากลางหลังเก่า เพื่อคงไว้ซึ่งคุณค่าและความหมายของความเป็นมาและรากเหง้าของชุมชน โดยเป็นการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมเก่าและการพัฒนาเมืองให้มีความสวยงาม พร้อมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สอยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในการดำเนินการได้สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อความยั่งยืนของเมืองและสุขภาวะของผู้คนที่อยู่อาศัยในเมือง โครงการในการพัฒนาเมือง เพื่อการอนุรักษ์สภาพทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบการพัฒนาเมือง ได้ออกข้อบังคับเทศบัญญัติ ในการควบคุมรูปทรง สี วัสดุ และความสูงของสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เมือง เพื่ออนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเชียงราย



การกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม ในเขตพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน

     หากพูดถึงข้อจำกัด และ/หรือปัญหาในการพัฒนาเมืองตามอัตลักษณ์ของเมืองสำหรับประเทศไทย คือ การทำงานแบบแยกส่วนกันของหน่วยงานราชการ ทั้งแยกส่วนกันภายในหน่วยงานราชการเดียวกัน และการทำงานแยกส่วนกันระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันเอง ทั้งในหน่วยงานระดับเดียวกัน และหน่วยงานต่างระดับกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่น ในการพัฒนาพื้นที่เมืองแห่งหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการพัฒนาเมืองทำตามยุทธศาสตร์ของตน ส่วนในระดับจังหวัด มีการดำเนินการอีกอย่างตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทั้งสองแนวทางไม่สอดคล้องกัน หรือในกรณีเป็นพื้นที่ในเขตโบราณสถาน จะมีหน่วยงานกรมศิลปากรเข้ามาดูแล ซึ่งจะมีการดำเนินการในการพัฒนาอีกแบบ 
     ในหลายพื้นที่การพัฒนาเมืองที่เราจะเห็นตัวอย่างในลักษณะดังกล่าวชัดเจน เช่น การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ซึ่งมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก ทั้งหน้าที่ดูแลในฐานะของการเป็นหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ เช่น กรมเจ้าท่า หรือหน่วยงานดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน สำนักงานจังหวัด และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเทศบาล ซึ่งต่างมีหน้าที่ในความรับผิดชอบที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียวกัน รวมทั้ง อาจมีนโยบายและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตามภารกิจของหน่วยงานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพื้นที่นั้น ๆ มีปัญหาหรือกรณีพิพาทเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการบุกรุกพื้นที่ของประชาชนด้วย จะส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามกรอบและทิศทางในการวางผังเมือง หรือเป้าประสงค์ในการพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของเมืองนั้น ดำเนินการไปได้ลำบาก 
     นอกจากนั้น ข้อจำกัดเดิม ๆ ในการพัฒนาพื้นที่ หรือพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของประเทศเรา คือ การขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการนำอัตลักษณ์เมือง เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเมือง และไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาเมืองที่กำหนดไว้ ดังนั้น การพัฒนาเมืองตามอัตลักษณ์ของเมือง มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชน กับ หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐที่มีบทบาทในการจัดการภูมิทัศน์เมือง เพื่อให้ทั้งสองภาคส่วนเล็งเห็นเป้าหมายเดียวกัน รวมทั้ง รับรู้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและที่จะได้รับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงสามารถขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ ในการพัฒนาเมืองให้เกิดขึ้นได้ และมีความยั่งยืน 
     ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมและการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดการและควบคุมภูมิทัศน์เมือง ซึ่งเป็นกลไกของภาครัฐเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพภูมิทัศน์เมือง โดยการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่กำหนดรูปแบบและประเภทของอาคารไว้เป็นการเฉพาะ นอกเหนือจากบทบัญญัติในกฎหมายอาคารที่ใช้บังคับทั่วไป รวมทั้ง การใช้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่ เช่น การวางผังเมืองเฉพาะ และการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติ การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 เพื่อรักษาบรรยากาศของความเป็นย่านเมืองเก่าให้คงอยู่

     ตัวอย่างของเมืองในต่างประเทศ ที่สร้างคุณค่าของสิ่งที่ควรอนุรักษ์ที่มีเอกลักษณ์ (Uniqueness) ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะในการสร้างจิตวิญญาณแห่งสถานที่ (Spirit of place) ตามลักษณะเฉพาะของเมือง (Character of town) เช่น เมืองบาธ (Bath) เมืองเก่าบนเกาะอังกฤษที่ยังคงมีกลิ่นอายของโรมันอยู่ทั่วไปในเมือง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage) ใน ปี ค.ศ. 1987 เป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการภูมิทัศน์ของเมืองที่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของเมืองไว้
     เมืองบาธ ตั้งอยู่ในบริเวณหุบเขาของแม่น้ำเอวอน มีฐานะเป็นนครในมณฑลซอมเมอร์เซท (Somerset) ในประเทศอังกฤษ อยู่ห่างจากนครลอนดอนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 156 กิโลเมตร ปัจจุบัน เมืองบาธเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ด้วยความสวยงามของสถาปัตยกรรมในยุคโรมันที่ยังคงความสมบูรณ์และสวยงาม อาทิ มหาวิหารบาธ (Bath Abbey) โรงอาบน้ำ (Roman Bath) The Circle & Royal Crescent โรงละคร (the Theater Royal) และ สะพาน Pulteney เป็นต้น
     ถึงแม้ว่า เมืองบาธ จะเป็นเมืองที่เคยประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่ทั้งภัยจากน้ำท่วม ไฟไหม้ และการถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่จากแนวทางการฟื้นฟูและการบริหารจัดการเมือง ยังคงสามารถรักษาร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์และอารยธรรมเก่าแก่สมัยโรมันไว้ได้ การจัดการเมืองที่เน้นการใช้ประโยชน์จากอาคารเก่าและกิจกรรมที่แสดงรูปแบบ และลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของแต่ละยุคสมัยเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง และมีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในการจัดตั้งและดำเนินการโครงการอนุรักษ์เมือง เช่น การให้คนในชุมชนเป็นผู้นำชมโบราณสถานในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความรู้สึกของการเป็นเจ้าของให้คนในชุมชน เป็นต้น เมืองบาธจึงเป็นหนึ่งในจุดหมายของการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก


     มหาวิหารบาธ เป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของเมือง Bath Abbey หรือชื่อเต็มว่า Abbey Church of Saint Peter and Saint Paul ปัจจุบัน วิหารแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยสถานที่แห่งนี้ได้รับการบูรณะและต่อเติมหลายครั้ง แต่ยังคงรักษารูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างครบถ้วน โดยมีการบูรณะให้เป็นรูปแบบ Victorian Gothic ในช่วงปี ค.ศ. 1864 – ค.ศ. 1874 ภายในมหาวิหารแห่งนี้ มีสถาปัตยกรรมภายในที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นศิลปะแบบกอธิคที่มีความสวยงามที่สุดในทวีปยุโรป โดยสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ เพดานพัด (Fan Vault) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่มีเฉพาะในประเทศอังกฤษเท่านั้น และห้องใต้ดินที่เป็นพิพิธภัณฑ์ Heritage Vaults Museum ที่แสดงเรื่องราวในอดีต และประวัติความเป็นมาของมหาวิหารแห่งนี้ บริเวณจัตุรัสด้านหน้า จะเป็นพื้นที่สำหรับแสดงศิลปะต่าง ๆ ของชาวเมืองบาธ โดยรอบยังคงมีแผ่นหินรำลึกซึ่งบางส่วนแสดงเรื่องราวของทหารหาญและคำอุทิศให้กับทหารที่เสียชีวิต


     Roman Bath แสดงรูปแบบและลักษณะทางศิลปกรรมของยุคสมัย ผ่านทางสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง ที่สะท้อนภูมิลักษณ์ของเมืองที่เป็นเมืองที่เป็นแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้น ๆ ที่มีวัฒนธรรม “Thermae Bath Spa” ซึ่ง Roman Bath ได้รับการก่อสร้างขึ้นโดยชาวโรมันในคราวที่ยกพลขึ้นเกาะอังกฤษในปี ค.ศ. 60  ต่อมา สถานที่แห่งนี้ได้ถูกชาวโรมันทิ้งร้างไว้ จวบจนศตวรรษที่ 12 อังกฤษจึงได้มีการปรับปรุง Roman Bath ขึ้น โดยในการปรับปรุงนั้น มุ่งเน้นการแก้ไขตัวอาคารให้มีความแข็งแรงและคงทนด้วยวัสดุสมัยใหม่ หากแต่ยังให้คงรูปแบบและลักษณะของสถาปัตยกรรมในรูปแบบดั้งเดิมไว้ ส่งผลให้ Roman Bath ในปัจจุบันจึงยังคงให้ภาพและความรู้สึกเหมือนยังคงอยู่ใน Roman Bath ในยุคก่อสร้าง ปัจจุบัน Roman Bath เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้   
     นอกจากนั้น การบริหารจัดการเมืองที่ผนวกเรื่องราวที่แสดงอัตลักษณ์ของเมือง และยังคงประโยชน์ใช้สอยได้จริงในปัจจุบัน นำมาซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของเมืองบาธ เช่น ศูนย์เจนออสติน สถานที่จัดแสดงชีวิตและการทำงานของ เจน ออสเตน (Jane Austen) นักเขียนนวนิยายซึ่งถือกันว่าเป็นต้นแบบของผู้หญิงยุคใหม่ และเป็นที่มาของแนวคิด สตรีนิยม (Feminism) และ สิทธิสตรี ในเวลาต่อมา เมืองบาธ มีการจัดเทศกาลเจน ออสเตน ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี โดยเป็นงานเฉลิมฉลองจำนวน 10 วันที่มีกิจกรรมในธีมสมัยรีเจนซีรอบตัวเมืองบาธ หรือ พิพิธภัณฑ์แฟชั่น (Fashion Museum) ซึ่งใช้สถานที่จริงทางประวัติศาสตร์ในการสร้างการจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้าใจถึงศิลปวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัย
     เมืองที่น่าสนใจอีกแห่ง ที่ถึงแม้ว่าจะประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในปี พ.ศ. 2558 แต่ยังคงสามารถฟื้นฟูเมืองให้คงไว้ตามอัตลักษณ์ของเมือง คือ เมืองภักตะปุร์ (Bhaktapur) ประเทศเนปาล เมืองสำคัญซึ่งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างเนปาลไปสู่ทิเบตและจีนในอดีต ส่งผลให้เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานได้อย่างลงตัว ภักตะปุร์ เป็นเมืองเก่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก 1 ใน 7 แห่งของประเทศเนปาล  


     ภักตะปุร์ (Bhaktapur) แปลว่า เมืองที่ผู้คนภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ตั้งอยู่ในหุบเขากาฏมาณฑุ ซึ่งโดยสภาพของเมืองเป็นเนินสูง มีสภาพแวดล้อมที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ได้ ถึงแม้ว่า กระแสการท่องเที่ยวจะหลั่งไหลเข้าสู่เมืองมาโดยตลอด
     เมืองภักตะปุร์ ยังคงเป็นเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ในยุคกลางถึงแม้ว่าจะล่วงเลยมานานหลายร้อยปีก็ตาม ภักตะปุร์ยังมีร่องรอยความรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรมในอดีตอย่างชัดเจน โดยชุมชนมีส่วนร่วมกับโบราณสถาน ผู้คนในเมืองยังคงสามารถดำเนินชีวิตตามปกติ และยังแสดงออกถึงความเชื่อ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ยังคงได้รับการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งกลมกลืนกับอัตลักษณ์ของเมือง ที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมเมืองเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากบริเวณจตุรัสภักตะปูร์ (Bhaktapur Durbar Square) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวจะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวเนปาลี ทั้งการประกอบพิธีกรรมสำคัญ เช่น พิธีตีจ (Teej) การขายสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ เช่น ผ้าพาสมินา (Pashmina) หมวกภาทคาวันโตปี (Bhadgaonle Topi) ถ้วยรักซี งานแกะสลักไม้ ซึ่งการทำเครื่องปั้นดินเผา งานถักทอ และงานแกะสลักเป็นอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่สำคัญของเนปาล เป็นต้น 


ที่มา : Euro-Asia (n.d.)

----------------------------------------------------------------------------------------

 


บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: การคัดแยกขยะรีไซเคิลพลัส หรือขยะที่เป็นเชื้อ เพลิงมูลฝอย (RDF) เป็นแนวทางการลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง กรณีศึกษา การจัดการขยะในโรงอาหารสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี