บทความ: “วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า”กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต

จากผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอโอ)  พบว่าประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ใช้น้ำมากที่สุดในโลก     รองจากอินเดีย จีน สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และญี่ปุ่น โดยน้ำที่นำไปใช้ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันทุกภาคส่วนการผลิตและบริการยังไม่มีการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี โดยเฉพาะการนำเครื่องมือวัดร่องรอยการใช้น้ำ (วอเตอร์ฟุตพริ้นท์) มาใช้ประเมินปริมาณน้ำใช้ตามแบบสากล เพราะต่อไปทั่วโลกจะนำมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากมองว่าไม่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ทั่วโลกมีแนวโน้มการขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดมาตรการกีดกันทางการค้า ภาครัฐจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของไทย (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, 2562) โดยเฉพาะภาคธุรกิจโรงแรมของจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำที่สูงขึ้นตามจำนวนโรงแรมและอัตราการเข้าพักโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต (ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน) ความต้องการใช้น้ำสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งหมดมีปริมาณสูงถึง 595,545.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (การประปาส่วนภูมิภาค ภูเก็ต, 2561) ความต้องการใช้น้ำของกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำประปาของจังหวัดภูเก็ตนั้นมีมากกว่ากำลังผลิตน้ำประปาทั้งหมด ในปัจจุบันปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้ สามารถให้บริการในสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 50 ของประชากร อีกทั้งแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ชายฝั่งล้วนมีศักยภาพต่ำ เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำบาดาลเค็มซึ่งเกิดจากการรุกล้ำของน้ำทะเลบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน (สำนักงานจังหวัดภูเก็ต, 2562) ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมจึงหันไปใช้แหล่งน้ำสำรองอื่น ๆ เช่น ซื้อน้ำจากรถน้ำเอกชน จึงทำให้มีต้นทุนในการดำเนินการที่สูงขึ้น ในปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมเริ่มหันมาศึกษาปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยรวมของแขกที่เข้าพักในโรงแรม (ลิตร/คน/วัน) โดยประเมินตามอัตราการเข้าพักของโรงแรม เป็นกรณีศึกษาในหลายประเทศ ซึ่งผลการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับขนาดและสิ่งอำนวยความสะดวก รูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงแรม เช่น ห้องพักแขก ห้องครัว-ห้องอาหาร สระว่ายน้ำ ห้องส่วนกลางสุขา ห้องซักรีด และพื้นที่เล่นสกี ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำ

การดำเนินงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ประเมินปริมาณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า ที่มีการใช้น้ำสูง 3 พื้นที่ ได้แก่ ห้องพักแขก ห้องครัว-ห้องอาหาร และสระว่ายน้ำ โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

หลักการและแนวความคิดของวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (Water footprint) มีลักษณะคล้ายคลึงกับรอยเท้าทางนิเวศวิทยา (Ecological footprint) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลกระทบของกิจกรรมจากมนุษย์ที่มีต่อระบบนิเวศ โดยมีผลลัพธ์แสดงในรูปของพื้นที่ต่อคน ส่วนวอเตอร์ฟุตพริ้นท์นั้น ผลลัพธ์จะแสดงในรูปของปริมาณน้ำหรือปริมาณน้ำต่อปี (Hoekstra and Chapagain, 2008) และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ยังเป็นค่าชี้วัดการใช้น้ำของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงปริมาณน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งทางตรงและ ทางอ้อม โดยคำนวณปริมาณน้ำจากผลรวมของทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่ของการผลิตสินค้าและบริการ โดยมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร/ปี หรือลูกบาศก์เมตร/คน/ปี ทั้งนี้ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ถือเป็นค่าชี้วัดที่ชัดเจนเพราะนอกจากจะแสดงปริมาณน้ำใช้และปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมาแล้ว ยังแสดงสถานที่และระยะเวลาที่เกิดการใช้น้ำอีกด้วย (Chapagain et al. 2006)

1. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์เขียว (Green water footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำที่อยู่ในรูปของความชื้นในดินที่มาจากน้ำฝน ซึ่งถูกใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการ 
2. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์น้ำเงิน (Blue water footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดินที่ถูกใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการ*
3. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์เทา (Gray water footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นน้ำดีตามค่ามาตรฐาน

ระเบียบวิธีการคำนวณ

ตารางที่ 1 รหัสโรงแรมและความหมาย

การเก็บรวบรวมข้อมูลในการดำเนินการครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และแบบบันทึกปริมาณการใช้น้ำ โดยรวบรวมข้อมูลจากโรงแรมระหว่างเดือนมิถุนายน ปี 2561 – มกราคม ปี 2562 รวมระยะเวลาประมาณ 8 เดือน ซึ่งการเก็บข้อมูลในโรงแรมประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รวบรวมข้อมูลทั่วไปจากเจ้าของและผู้จัดการโรงแรม และส่วนที่ 2 รวบรวมข้อมูลแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้น้ำและประเมินปริมาณการใช้น้ำของพื้นที่การบริการลูกค้าที่มีการใช้น้ำสูง 3 พื้นที่ ได้แก่ ห้องพักแขก ห้องครัว-ห้องอาหาร และสระว่ายน้ำ โดยการวัดอัตราการไหลของน้ำ (ลิตร/นาที) ของอุปกรณ์ที่ใช้น้ำทุกประเภทใน 3 พื้นที่ โดยการใช้ Flow meter ติดตั้งกับก๊อกน้ำและฝักบัว ส่วนโถสุขภัณฑ์ ปริมาณน้ำใช้ได้จากการสืบค้นจากรุ่นและยี่ห้อ ทั้งนี้สามารถคำนวณอัตราการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ดังสมการที่ 4 คือ

ก) พื้นที่ห้องพักแขก (Guest room)
โรงแรมมีห้องพักหลายประเภท การศึกษาครั้งนี้เลือกห้องพักประเภท Standard ที่มีจำนวนเป็นสัดส่วนสูงสุด ส่วนระยะเวลาในการใช้งานและความถี่ในการเปิดอุปกรณ์ในพื้นที่ห้องพักแขกใช้ข้อมูลจาก การศึกษาของ O’Neill & Siegelbaum and The RICE Group (2002) ในการคำนวณปริมาณน้ำใช้ต่อแขกที่พัก ได้แก่ การใช้โถสุขภัณฑ์ 7 ครั้ง/วัน/คน การใช้ฝักบัว 12 นาที/ครั้งและใช้ 2 ครั้ง/วัน การใช้ก๊อกน้ำ 1 นาที/ครั้ง และใช้ 7 ครั้ง/วัน

ค) พื้นที่สระว่ายน้ำ (Pool)
ระยะเวลาในการใช้งานและความถี่ในการเปิดอุปกรณ์ในพื้นที่สระว่ายน้ำของแต่ละโรงแรมใช้ข้อมูลจากการสอบถามพนักงานโรงแรมที่เกี่ยวข้องและการสังเกตแขกที่ใช้บริการสระว่ายน้ำ

ผลการดำเนินงาน
โรงแรมที่ศึกษา 8 แห่งมีความแตกต่างกันในหลายลักษณะ โดยแบ่งเป็นโรงแรมขนาดกลาง (จำนวนห้อง 50-150 ห้อง) 5 แห่งและโรงแรมขนาดใหญ่ (จำนวนห้องมากกว่า 150 ห้อง) 3 แห่ง รูปแบบการบริหารจัดการแบบเครือข่าย (Chain system) 6 แห่ง และแบบอิสระ (Independents system) 2 แห่ง และมีประสบการณ์ได้รับการรับรองโครงการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 6 แห่ง เข้าร่วมโครงการเพียงอย่างเดียว 1 แห่ง และไม่มีการเข้าร่วมโครงการหรือได้รับการรับรอง 1 แห่ง โรงแรมทั้ง 8 แห่งยังมีเพียงมิเตอร์เดียวเพื่อวัดปริมาณน้ำรวมทุกพื้นที่ของโรงแรม การประเมินปริมาณน้ำใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ จึงคำนวณจากอัตราการไหลของน้ำ (โดยการวัด) ผ่านอุปกรณ์ทุกประเภทในแต่ละพื้นที่ ความถี่และระยะเวลาในการใช้อุปกรณ์ใน 1 วัน ที่ได้จากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ใช้น้ำและค่าอ้างอิงจากการศึกษาจากเอกสารอื่น ๆ ผลการคำนวณด้วยสูตรจากสมการข้างต้นเพื่อหาสัดส่วนปริมาณน้ำใช้ใน 3 พื้นที่ของโรงแรมทั้ง 8 แห่ง แสดงดังตารางที่ 2 ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำใน 3 พื้นที่ในโรงแรมเดียวกันและการทดสอบทางสถิติ (ดังตารางที่ 2) พบว่าพื้นที่ห้องพักแขกมีอัตราการใช้น้ำสูงสุด รองลงมาคือ พื้นที่สระว่ายน้ำและพื้นที่ห้องครัว-อาหารในโรงแรม 5 แห่ง (2Mc, 3Mc, 4Mc, 8Mและ 7Lc) สำหรับโรงแรม 3 แห่ง (1Mc, 6Lc และ 5Li) มีอัตราการใช้น้ำในพื้นที่สระว่ายน้ำไม่แตกต่างจากพื้นที่ห้องครัว-อาหาร

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำใน 3 พื้นที่ของโรงแรม

โรงแรมที่ศึกษา 8 แห่งมีความแตกต่างกันในหลายลักษณะ ส่งผลให้ปริมาณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้าที่มีการใช้น้ำสูง 3 พื้นที่ ได้แก่ ห้องพักแขก ห้องครัว-ห้องอาหาร และสระว่ายน้ำของโรงแรมทั้ง 8 แห่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยพบว่าพื้นที่ห้องพักแขก มีอัตราการใช้น้ำ (ลิตร/คน/วัน) และสัดส่วนการใช้น้ำสูงสุด รองลงมา คือสระว่ายน้ำ และห้องครัว-ห้องอาหาร ตามลำดับ และจากการประเมินอัตราการใช้น้ำ (ลิตร/คน/วัน) และสัดส่วนการใช้น้ำใน 3 พื้นที่ของโรงแรมดังกล่าว โดยการวัดอัตราการไหลของน้ำผ่านก๊อกน้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของโรงแรมทั้ง 8 แห่ง ทำให้ทราบว่าก๊อกน้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโรงแรมมีอัตราการไหลของน้ำแตกต่างกันจึงส่งผลให้ปริมาณน้ำใช้ (ลิตร/คน/วัน) และสัดส่วนการใช้น้ำ ใน 3 พื้นที่ของโรงแรมทั้ง 8 แห่งต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01)

นอกจากนี้ แนวทางและวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำและแนวปฏิบัติยังสามารถเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายวิศวกรรมและซ่อมบำรุง และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของโรงแรมสามารถดำเนินการได้เองและนำผลการดำเนินการครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการน้ำภายในโรงแรมอย่างมีประสิทธิภาพตามขั้นตอนดังนี้

ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัยนา  ศรีชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์      รองศาสตราจารย์ ภูวดล  บุตรรัตน์ ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา และดร.วัชรินทร์ เจตนานนท์ ที่ได้ให้คำปรึกษาชี้แนะแนวทางในการปรับปรุง และแก้ไขจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และคณะผู้บริหารและพนักงานโรงแรมทุกแห่งสำหรับการสนับสนุนข้อมูลและความร่วมมือในการดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี