ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

บทคัดย่อ

การเสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ ร่วมด้วย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


การอ้างอิง: ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ. (2562). ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2).


ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:00-16:30 ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ คุณศิริภา อินทวิเชียร (พรรคประชาธิปัตย์) ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ (พรรคเพื่อไทย) และ คุณนิติพล ผิวเหมาะ (พรรคอนาคตใหม่) ร่วมด้วย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ (ผู้อำนวยการสถาบันฯ) เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทรา ทองคำเภา (รองผู้อำนวยการสถาบันฯ) เป็นผู้รับผิดชอบจัดโครงการเสวนา และ ดร.บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ ทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งการดำเนินรายการ ประเด็นการเสวนา และนโยบายที่นำเสนอในการเสวนา ได้แก่

• ปัจจุบันภาคประชาชนมีความสนใจด้านนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น และเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัว สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์คุณภาพอากาศตกต่ำที่เกิดขึ้ันเมื่อต้นปี 2562 ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้ลมไม่หมุนเวียน ทำให้ฝุ่นขนาดเล็กมากๆ ที่รู้จักกันในนาม PM2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายวัน จนส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนในเมืองหลวง ทำให้เกิดความตระหนักถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น 

ในการเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.บัณฑูร มาเป็นผู้บรรยายและร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ โดย ดร.บัณฑูร ได้ให้ข้อคบคิดมากมายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนสู่ SDGs (Sustainable Development Goals) หรือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยเรื่องที่ ดร.บัณฑูร ได้นำบรรยาย มีดังนี้

• 1) สิ่งแวดล้อมใน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

• 2) สามโจทย์หลักเรื่องสิ่งแวดล้อมของไทย
      o ประกอบไปด้วย 3 โจทย์หลัก คือ 1) ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม 2) การเข้าถึงและแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม และ 3) ความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
      o ทั้ง 3 โจทย์นี้ เป็นปัญหาของการออกนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยมาโดยตลอด รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายประเทศ เนื่องจากนโยบายส่วนใหญ่จะคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะส่งผลต่อการเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง เรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นขาที่ 3 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงไม่ได้รับการสนใจเท่าที่ควร ประเทศไทยมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างมากมายเพื่อพัฒนาประเทศ แต่การจัดสรรทรัพยากรเหล่านั้นกลับไม่ได้รับการจัดสรรอย่างเป็นธรรม โดยประเทศไทยติดอันดับ 3 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก ทั้งในแง่ของการกระจายรายได้และโดยเฉพาะในประเด็นของการถือครองที่ดิน ซึ่งมีเพียง 10% ของคนไทยที่ครอบครองพื้นที่มากกว่า 100 ไร่/คน ในขณะที่อีก 90% ของประชากรมีที่ดินไม่ถึง 1 ไร่/คน และมีเกือบ 750,000 ครัวเรือน ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เรียกได้ว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” โดยประชาชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง จำเป็นที่จะต้องเช่าที่ดิน หรือต้องเข้าไปอาศัยในพื้นที่ป่า จนกลายเป็นปัญหาในหลายมิติ เช่น ความยากจน การบังคับใช้กฎหมาย หลักนิติธรรม สิทธิชุมชน เป็นต้น ดังนั้น การออกนโยบายสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย

กลไกระดับนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ขาดการเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการทับซ้อนกันในด้านนโยบาย และเมื่อเกิดปัญหาไม่มีใครสามารถระบุได้ว่าใครจะต้องเป็นแกนนำในการแก้ไข ทำให้การแก้ไขล่าช้า จึงเกิดเป็นคำถามว่าจะบูรณาการนโยบายด้านต่างๆ เช่น การจัดการที่ดินและทรัพยากร การเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และด้านพลังงานอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อม
          - กระบวนการนโยบายสาธารณะ และประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นโยบายต่างๆ จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากภาคประชาชน และเป็นนโยบายสาธารณะที่ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่ที่ผ่านมาการมีส่วนร่วมมักดำเนินการเพียงในนาม และไม่ถูกนำไปพิจารณาอย่างจริงจัง หรือถูกปัดตกไปเมื่ออยู่ในสภา จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายและอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

เครื่องมือบริหารและตัดสินใจทางนโยบาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันการทำ “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” (Environmental Impact Assessment; EIA) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ก็เกิดปัญหามากมาย เนื่องจาก EIA เป็นการประเมินโครงการเพื่อการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงว่าโครงการนั้นควรจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านั้นหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหานี้จะต้องอาศัย “การประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับยุทธศาสตร์” (Strategic Environmental Assessment; SEA) ซึ่งเป็นการวางแผนในระดับนโยบาย โดยดูถึงปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน แล้วจึงพัฒนาโครงการเพื่อตอบสนองทางออกนั้นขึ้นมา แล้วจึงค่อยพัฒนาโครงการและทำ EIA ของโครงการนั้นต่อไป ทั้งนี้การทำ SEA มีการพูดถึงมาตั้งแต่สมัยที่คุณอธิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากเรื่อง SEA แล้ว ระบบการติดตามโครงการหลังการทำ EIA ควรเป็นอีกโจทย์หนึ่งของนโยบายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาระบบยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความจำเป็น ถึงแม้เราจะมีศาลสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาด คือ ระบบการสอบสวน การตีมูลค่า การบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

“เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถฝากใครได้ ต้องการความร่วมมือของทุกคน เพื่อผลักดันให้มันเป็นนโยบายสาธารณะ ไม่ใช่แค่การไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง”

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการส่งเสริมการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเฝ้าระวัง และการควบคุมคุณภาพของสิ่งแวดล้อมแบบ Real time และการทำ Big data บูรณาการข้อมูลจากทุกกระทรวงเข้าด้วยกัน ให้แต่ละหน่วยงานสามารถประสานกันทางเครือข่าย Online และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด รวมถึงเป็นช่องทางในการตรวจสอบความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐ
การเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายทางสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาความขัดแย้งทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการขัดแย้งกันระหว่าง “คนตัวเล็ก กับ คนตัวใหญ่” ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างด้านระบบยุติธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มปริมาณเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตำรวจสิ่งแวดล้อม ศาลสิ่งแวดล้อม และอัยการสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะต้องจัดตั้งองค์กรกลางที่รับผิดชอบปัญหาของสิ่งแวดล้อมโดยตรง มีเป้าหมายให้ทุกองค์กรและทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานเดียวกัน 
การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ เริ่มจากการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศตามจุดต่างๆ โดยประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยระบบ Online ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้
การสื่อสารระเบียบและถ้อยคำทางกฎหมายต่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถเข้าถึงโดยประชาชนทั่วไป
การพัฒนากองทุนสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม เช่น การนำงบประมาณจากกองทุนน้ำมันมาใช้ ซึ่งปัจจุบันมีการเรียกเก็บจากค่าน้ำมันประมาณ 5 บาทต่อลิตร (สำหรับน้ำมันดีเซล)
การพัฒนาด้านพลังงานสะอาดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งภาครัฐต้องผลักดันในทุกๆ ทาง และต้องทำตัวเองเป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบให้ประชาชนทำตาม
ประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และควรได้รับการศึกษาในทุกๆ ระยะ ตั้งแต่อนุบาล ประถม และมหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังความตระหนักในการมีส่วนร่วมต่อสาธารณะและสิ่งแวดล้อม
การทดแทนรถเมล์เก่าด้วยรถเมล์ไฟฟ้าจำนวนมาก การลดราคาค่าบริการสาธารณะ เพื่อให้คนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชน แก้ปัญหามลพิษในเมือง รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล

• มุ่งเน้นการส่งเสริมประชาคมสิ่งแวดล้อมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์ 4 ข้อคือ 1) ความโปร่งใสของภาครัฐที่มีอำนาจในการดูแลสิ่งแวดล้อม 2) การดำเนินการกับภาคเอกชน 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และ 4) การสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง
• แนวนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมของพรรค มีอยู่ 6 ด้าน คือ 

พลังงาน โดยจะยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด และส่งเสริมให้ภาคประชาชนและเอกชนสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้เองแบบ Net metering โดยจะตัดการผูกขาดด้านพลังงานของภาครัฐ เพื่อลดต้นทุนให้กับภาคเอกชน รวมถึงสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ไบโอดีเซล พลังงานทดแทนรูปแบบอื่น และการอนุรักษ์พลังงาน โดยการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขประเด็นสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ ด้วย
      2. ป่าไม้ จะเพิ่มพื้นที่ป่าเป็น 50% โดยแบ่งเป็นป่าต้นน้ำที่ห้ามมีการใช้ในเชิงพาณิชย์ (30%)  และป่าชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์และร่วมอนุรักษ์ (20%) และจะจัดทำแนวเขตป่าให้ชัดเจน ฟื้นฟูพื้นที่ป่าโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายการค้าสัตว์ป่าให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
      3. การจัดการขยะ ส่งเสริมประชาชนให้ลดและแยกขยะ ลดการใช้พลาสติก จัดเก็บภาษีถุงพลาสติก รวมถึงการจัดตั้งธนาคารขยะ ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงขยะและการแปรรูปขยะมาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงทดแทน พลังงานชีวภาพ และปุ๋ย
      4. คุณภาพอากาศ จัดตั้งมาตรการฉุกเฉินเมื่อมีวิกฤตในเรื่องมลพิษทางอากาศ ปรับปรุงกฎหมายให้มีเจ้าภาพในการรับผิดชอบที่ชัดเจน ส่งเสริมมาตรการทางภาษี และสนับสนุนเทคโนโลยีการวัดคุณภาพอากาศ เพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมถึงพื้นที่ควบคุมการขนส่ง ยกระดับยานยนต์และยกมาตรฐานไอเสีย ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร รวมทั้งการติดตามคุณภาพอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานต่างๆ
      5. ของเสียและน้ำเสียจากโรงงาน จะเน้นไปทางไปทางบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน
      6. การจัดการทรัพยากรทางทะเล ควบคุมการทำประมงพาณิชย์แนวชายฝั่งให้เป็นระบบและส่งเสริมให้ภาคประชาชนที่อยู่อาศัยในแนวชายฝั่งมีส่วนร่วม รวมถึงการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว

“ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม” โดยทุกโครงการที่เกิดขึ้นจะไม่มีการสร้างข้อยกเว้นเพื่อเร่งการพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้มีส่วนร่วมในการเห็นชอบ และจะมีการทบทวน รวมถึงยกเลิกข้อยกเว้นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การใช้เทคโนโลยีมาเพิ่มช่องทางการเข้าถึงของประชาชน ทั้งการค้นคว้า ตรวจสอบ และร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงปลูกฝังภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม เพื่อให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง
ภาครัฐควรเป็นผู้จัดทำ EIA เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซง และควรมีหลายภาคส่วนเข้าร่วมในการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งให้มีการจัดทำ SEA อย่างเป็นรูปธรรม

• ในการพัฒนานโยบายและโครงการต่างๆ จำเป็นต้องนำ สิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์และสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาทั้งต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
นโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เนื่องจากท้องถิ่นรู้จักตัวเองและปัญหาของตัวเองดีที่สุด จึงควรให้อำนาจในการตัดสินใจว่าพื้นที่เหล่านั้นจะเดินไปในทิศทางไหน แก้ปัญหาอะไร โดยวิธีใด โดยเห็นว่าควรที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันเงินภาษีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะต้องถูกส่งกลับมาที่ส่วนกลางก่อนที่จะจัดสรรไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ได้ถูกนำมาแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงวิธีจัดเก็บภาษีและการกระจายอำนาจนี้จะทำให้ท้องถิ่นมีเงินในการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้เองและเหมาะสม
• การขับเคลื่อนเทคโนโลยีสะอาด การยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การพัฒนาวัสดุทดแทน รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนโดยสนับสนุนเงินวิจัยให้กับภาคเอกชน เพื่อที่รัฐบาลจะได้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรและสามารถส่งต่อสิทธิบัตรเหล่านั้นให้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และทำให้เกิดการแข่งขันได้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในองค์กรของรัฐบาล
จัดทำกองทุน EIA การพัฒนาการจัดทำ EIA ควรปรับเปลี่ยนจากเดิมที่โครงการเป็นผู้ว่าจ้างซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่เป็นกลาง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาครัฐจะต้องเป็นผู้ว่าจ้างในการจัดทำ EIA และตรวจสอบการดำเนินการ โดยผลักดันให้กองทุนเป็นตัวกลางในการจัดหาบริษัทที่ได้มาตรฐาน และเป็นผู้ประเมินความเสียหายในอนาคต 
การเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งสัญญา นโยบาย สัมปทาน และอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และความโปร่งใสของการทำงาน
ส่งเสริมการจัดการขยะโดยการแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ของเสียต่างๆ สามารถถูกนำกลับไปรีไซเคิลได้ และส่งเสริมการนำขยะมาทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน 
ส่งเสริมการปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อทดแทนการปลูกอ้อยและข้าวโพด ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังต้องเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปัญหาการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่การลดปัญหาคุณภาพอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ผลักดันให้เกิดกฎหมายอากาศสะอาด ลดค่าขนส่งมวลชน และเพิ่มการเข้าถึงของขนส่งมวลชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อนำเงินรายได้กลับมาพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์

จากงานเสวนาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงมิติใหม่ของการเมือง ที่ได้ชูประเด็นและนโยบายสิ่งแวดล้อมในการหาเสียง แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในการเสวนาครั้งนี้ คือ การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน (Integrated development) การแก้ปัญหาด้านกฎหมายที่ทับซ้อนกัน ทำให้แต่ละกระทรวงทำงานด้วยกันลำบาก รวมถึงการปรับตัวและการจัดการเมื่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม (Disaster management and adaptation) เป็นต้น 

• พรรคอนาคตใหม่ เน้นนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน และความโปร่งใส่ในการทำงาน รวมถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเฉพาะพื้นที่ โดยจะกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับองค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง

นโยบายทางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและชัดเจน มีการพิจารณาแหล่งเงินทุนรองรับไว้แล้ว 

การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน และปรับปรุงโครงสร้างด้านระบบยุติธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม

 

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี

ISSN XXXX-XXXX (Online)
Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

© 2024 Thai Environmental, All rights reserved.

ติดต่อเรา

สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ej@chula.ac.th