“Spittelau” จุดบรรจบของศิลปะกับพลังงานไฟฟ้าจากขยะครัวเรือนใจกลางเมืองเวียนนา

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการขยะของเมืองเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย ทั้งการจัดการขยะในครัวเรือนของชาวเมืองเวียนนา และการนำขยะเหล่านั้นไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีโรงไฟฟ้าขยะ “Spittelau” (ฉะปิตเทอะเลา) ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความงดงามของศิลปกรรมของชาวเวียนนา ผ่านการสร้างสรรค์ศิลปะลงบนตัวอาคารโรงไฟฟ้าโดยศิลปินเอกของเวียนนาที่ชื่อ Friedensreich Hundertwasser ทำให้โรงไฟฟ้าขยะ Spittelau กลายเป็นจุดดึงดูดผู้คนและสร้างความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของเมืองเวียนนาได้อย่างลงตัว นอกจากชาวเวียนนาจะมีความไว้วางใจในเทคโนโลยีและการจัดการขยะของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แล้ว ด้วยรูปลักษณ์ที่เห็นจากภายนอกที่อาจทำให้เชื่อได้ยากว่านี่คือ “โรงไฟฟ้าขยะ” เนื่องจากแลดูเหมือนสถานที่แสดงผลงานศิลปะมากกว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า และด้วยลวดลายและสีสันที่สดใสทำให้สถานที่แห่งนี้ดูเป็นมิตรต่อทั้งชาวเมืองเวียนนาที่อาศัยอยู่โดยรอบ และผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาในพื้นที่เขต 9 Alsergrund (อัล-เซอร์-กรึน) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ชั้นในของเมืองเวียนนา จึงทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความวิตกกังวลต่อมลภาวะจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง


Spittelau” จุดบรรจบของศิลปะกับพลังงานไฟฟ้า

จากขยะครัวเรือนใจกลางเมืองเวียนนา

บทความนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการขยะของเมืองเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย ทั้งการจัดการขยะในครัวเรือนของชาวเมืองเวียนนา และการนำขยะเหล่านั้นไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีโรงไฟฟ้าขยะ “Spittelau” (ฉะปิตเทอะเลา) ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความงดงามของศิลปกรรมของชาวเวียนนา ผ่านการสร้างสรรค์ศิลปะลงบนตัวอาคารโรงไฟฟ้าโดยศิลปินเอกของเวียนนาที่ชื่อ Friedensreich Hundertwasser ทำให้โรงไฟฟ้าขยะ Spittelau กลายเป็นจุดดึงดูดผู้คนและสร้างความกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของเมืองเวียนนาได้อย่างลงตัว นอกจากชาวเวียนนาจะมีความไว้วางใจในเทคโนโลยีและการจัดการขยะของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แล้ว ด้วยรูปลักษณ์ที่เห็นจากภายนอกที่อาจทำให้เชื่อได้ยากว่านี่คือ “โรงไฟฟ้าขยะ” เนื่องจากแลดูเหมือนสถานที่แสดงผลงานศิลปะมากกว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า และด้วยลวดลายและสีสันที่สดใสทำให้สถานที่แห่งนี้ดูเป็นมิตรต่อทั้งชาวเมืองเวียนนาที่อาศัยอยู่โดยรอบ และผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาในพื้นที่เขต 9 Alsergrund (อัล-เซอร์-กรึน) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ชั้นในของเมืองเวียนนา จึงทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความวิตกกังวลต่อมลภาวะจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

ออสเตรีย (Austria) เป็นประเทศเล็ก ๆ ในทวีปยุโรป ที่มีพื้นที่เพียง 83,879 ตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยถึง 6 เท่า และมีประชากรเพียง 8,823,054 คน (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2561) (Statistik Austria, 2017; 2018) ในขณะที่ ประเทศไทยมีจำนวนประชากรถึง 66,188,503 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2560) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, ม.ป.ป.) ประเทศออสเตรีย หรือชื่อทางการ คือ สาธารณรัฐออสเตรีย มีเมืองหลวง คือ กรุงเวียนนา (Vienna) หรือที่เรียกในภาษาเยอรมันว่า วีน (Wine) ออสเตรียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตการปกครอง (รัฐ)ได้แก่ Burgenland, Carinthia, Lower Austria, Upper Austria, Salzburg, Styria, Tyrol, Vorarlberg และ Vienna โดยแต่ละเขตการปกครองจะมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ออสเตรียใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ


เวียนนา มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศออสเตรีย โดยมีพื้นที่เพียง 414.65 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 คือ 1,889,083 คน (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2561) (Statistik Austria, 2017; 2018) โดยแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองออกเป็น 23 เขตย่อย ด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของประเทศออสเตรียถูกห้อมล้อมด้วยภูเขาที่เชื่อมต่อจากประเทศเยอรมนี ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศอิตาลี ทอดตัวยาวลงมายังตอนกลางของประเทศ อีกทั้งมีแม่น้ำ Danube (ดานูป) หรือ Donau (โดเนาในภาษาเยอรมัน) ไหลผ่านพื้นที่ราบจากประเทศเยอรมนี ตัดผ่านประเทศออสเตรียบริเวณ Upper Austria, Lower Austria, Vienna และไหลต่อไปยังประเทศสโลวาเกีย ส่งผลให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และไบโอแมส ประกอบกับ การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้การพัฒนาด้านพลังงานมีความก้าวหน้าทัดเทียมกัน มีการค้าขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกผ่านระบบส่งไฟฟ้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ออสเตรียกลับมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการส่งออกพลังงานให้กับประเทศสมาชิก ในทางกลับกัน ออสเตรียก็เป็นผู้นำเข้าพลังงานที่สำคัญเช่นกัน (Statistics Austria, 2016) ทั้งนี้ เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ของประเทศมีศักยภาพในการผลิตและความต้องการไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น Lower Austria และ Upper Austria เป็นย่านอุตสาหกรรมหนัก ทำให้มีความต้องการไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับการจัดการขยะในครัวเรือนของชาวเมืองเวียนนาและการจัดการขยะในพื้นที่สาธารณะนั้น ผู้เขียนได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากชาวออสเตรียซึ่งอาศัยในกรุงเวียนนา ผ่านการตั้งคำถามว่า คุณเริ่มจัดการขยะในครัวเรือนอย่างไร คำตอบที่ได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะการจัดการขยะของชาวเวียนนาเกิดจากการเรียนรู้และการสอนจากพ่อแม่ตั้งแต่เด็กว่า ต้องแยกขยะตั้งแต่ในบ้าน และต้องทิ้งขยะให้ถูกต้องตามสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่สาธารณะในเมืองเวียนนา
การแยกขยะภายในครัวเรือนของชาวเมืองเวียนนา ประกอบด้วย ถังขยะ 5 ประเภท ได้แก่ พลาสติก แก้ว โลหะ (กระป๋อง) กระดาษ และขยะเปียกหรือขยะทั่วไป (รูปภาพที่ 2) เมื่อต้องการทิ้งขยะต่าง ๆ ที่ทำการคัดแยกไว้ แต่ละครัวเรือนต้องนำขยะที่คัดแยกแล้วออกไปทิ้ง ณ จุดที่กำหนด




ในเมืองเวียนนาจะมีจุดทิ้งขยะแต่ละประเภท ซึ่งอาจจะอยู่แยกกัน หรือ อยู่บริเวณพื้นที่เดียวกัน ดังแสดงในรูปภาพที่ 3 ทั้งนี้ การกำหนดจุดทิ้งขยะและการจัดเก็บขยะ ขึ้นอยู่กับ การบริหารจัดการของละเขตพื้นที่ร่วมกับเทศบาลเมืองเวียนนา หรือ MA48 ในส่วนของรถเก็บขยะนั้นมีการแยกเก็บตามจุดรวมขยะแต่ละประเภท โดยในแต่ละวันจะมีรถบรรทุกขยะให้บริการทั่วเมืองเวียนนาจำนวน 265 คัน แบ่งเก็บขยะแยกตามประเภทของขยะ (รูปภาพที่ 4) ทำให้ขยะไม่ปะปนกัน และง่ายต่อการส่งต่อไปยังแหล่ง Recycle ขยะแต่ละประเภท ส่วนขยะทั่วไปจะถูกส่งไปเผายังโรงไฟฟ้าขยะต่อไป (Stadt Wien, 2011; 2017)




รูปภาพที่ 5    ถังขยะในพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ลักษณะของถังขยะที่ตั้งบริเวณพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการออกแบบแยกประเภทขยะ

โรงไฟฟ้าขยะ Spittelau สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1969 – ค.ศ. 1971 สามารถเผาขยะทั่วไปจากครัวเรือนได้ 250,000 ตัน/ปี โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 40 GWh (สามารถบริการประชาชนได้มากกว่า 16,000 ครัวเรือน/ปี) ผลิตความร้อนได้ 470 GWh  ต่อปี (สามารถบริการประชาชนได้มากกว่า 60,000 ครัวเรือน/ปี) ผลิตเหล็กได้ 6,000 ตัน/ปี รวมทั้ง ผลิตเถ้า (ash) และฟิลเตอร์เค้ก (filter cake) ได้ 60,000 ตัน/ปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1987 ได้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เตาเผาขยะ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเตาเผาขยะเสียหาย ทำให้เกิดการปรับปรุงโรงไฟฟ้าขยะแห่งนี้ครั้งใหญ่  ทั้งในส่วนของการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ และการก่อสร้างอาคารที่มีความสวยงามด้วยศิลปะจาก Friedensreich Hundertwasser


ภายหลังจากเดินเครื่องเตาเผาขยะได้ 40 ปี ในปี ค.ศ. 2012 – ค.ศ. 2015 จึงมีการปรับปรุงอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ส่งผลให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 400 MW ผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 120 GWh ต่อปี (บริการประชาชน 50,000 ครัวเรือน/ปี) ผลิตความร้อนได้ 500 GWh ต่อปี อีกทั้งสามารถผลิตความเย็น และมีระบบติดตามมลภาวะแบบ Realtime ให้ประชาชนสามารถติดตามได้อีกด้วย อนึ่ง โรงไฟฟ้าขยะ หรือเตาเผาขยะ ในรูปแบบเดียวกันนี้ (ภายใต้การดูแลของบริษัทผลิตไฟฟ้า Wein Energy) มีจำนวน 4 แห่ง  กระจายอยู่ทั่วเมืองเวียนนา (Wien Energie, 2017)


รูปภาพที่ 7   การออกแบบลวดลายของอาคารโรงไฟฟ้าขยะ Spittelau
ผลงานของ Friedensreich Hundertwasser

เอกสารอ้างอิง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx [9/03/2018]
Adult Education International Countries. (2017). Austria. [Online] Available form: http://adulteducationinternationalcountries.pbworks.com/ [8/03/2018]
E-Control. (2018). Die E-Control und der österreichische Energiemarkt. [Online]. Available form: https://www.e-control.at/web/website [8/03/2018]
Hundertwasserhaus. (n.d.). Homepage der offiziellen Haus-Information. [Online]. http://www.hundertwasserhaus.info/ [13/03/2018]
Stadt Wien. (2011). "Oida, Trenn!" - Kampagne zur Mülltrennung 2011. [Online]. Available form: https://www.wien.gv.at/umwelt/ma48/beratung/muelltrennung/muelltrennung-kampagne2011.html [12/03/2018]
Stadt Wien. (2017). Fahrzeuge der MA 48. [Online]. Available form: https://www.wien.gv.at/umwelt/ ma48/fuhrpark/ma48.html [12/03/2018]
Statistics Austria. (2016). Standard documentation Meta information on Energy balances for Austria and the Laender of Austria. [Online]. Available form: http://www.statistik.at/web_en/ statistics/EnergyEnvironmentInnovationMobility/energy_environment/energy/energy_balances/index.html [9/03/2018]
Statistik Austria. (2017). Datasets. [Online]. Avialable from: http://data.statistik.gv.at/web/catalog.jsp #collapse5 [8/03/2018]
Statistik Austria. (2018). Bevölkerungszahl Österreichs stieg zu Jahresbeginn 2018 auf rund 8,82 Mio. [Online]. Avialable from: http://www.statistik.at/web_de/presse/116038.html [8/03/2018]
Wien Energie. (2017). Müllverbrennungsanlage Spittelau. [Online]. Available form: https://www.wienenergie.at/eportal3/ep/channelView.do?channelId=-49106 [9/03/2018]
Wikipedia. (2018a). Geography of Austria. [Online]. Available form: https://en.wikipedia.org/wiki/ Geography_of_Austria [9/03/2018]
Wikipedia. (2018b). Friedensreich Hundertwasser. [Online]. https://en.wikipedia.org/wiki/ Friedensreich_Hundertwasser [9/03/2018]

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี