สมภพ รุ่งสุภา 
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สถานภาพปะการังเกาะสีชังและใกล้เคียงอยู่ในสภาพอันตรายมีแนวโน้มเสียหายรุนแรงจากเหตุต่าง ๆ เช่นใน วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 เจ้าหน้าที่กลุ่มนิเวศทางทะเล ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง ลงพื้นที่ปฏิบัติการสำรวจและประเมินความเสียหายต่อทรัพยากรปะการัง ซึ่งได้รับการประสานงานจากสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (สบทช.2) ว่ามีเรือสินค้าชื่อ GLODAL STANDARD สัญชาติ PANAMA ได้เกยตื้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560  บริเวณเกาะร้านดอกไม้ พื้นที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะร้านดอกไม้ ห่างจากฝั่งประมาณ 50 เมตร สภาพพื้นที่เป็นแนวปะการัง มีปะการังมีชีวิตปกคลุมประมาณร้อยละ 80 มีพื้นที่แนวปะการังทั้งหมดจำนวน 20 ไร่ จากการสำรวจพื้นที่พบปะการังเกิดการแตกหักเสียหายเป็นจำนวนมาก ความเสียหายเริ่มตั้งแต่ขอบแนวปะการังด้านนอก เลยเข้ามาจนถึงสุดขอบแนวปะการัง วัดความยาวได้ทั้งสิ้น 84 เมตร ความกว้าง 35.8 เมตร รวมความเสียหายเป็นพื้นที่ประมาณ 2,856 ตารางเมตร หรือ 1.78 ไร่ ระดับความรุนแรงตั้งแต่เป็น 1) รอยครูดบนปะการัง 2) ปะการังโดนไถพลิกล้มคว่ำ 3) ปะการังแตกหักไปจนถึงแตกละเอียด กลุ่มปะการังที่ได้รับผลกระทบมากถึงขั้นแตกหัก ได้แก่ 1) ปะการังจาน Turbinaria sp. 2) ปะการังโขด Porites lutea 3) ปะการังสมองร่องเล็ก Platygyra sp. และ 4) ปะการังช่องเหลี่ยม Favites sp. (ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, 2560)

ปัจจุบันการฟื้นฟูปะการังในประเทศไทย จะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ผู้เข้าร่วมการฟื้นฟู และวิธีการฟื้นฟู 1) ผู้เข้าร่วมฟื้นฟู ได้แก่ ชุมชนชายฝั่งที่มีความต้องการฟื้นฟูปะการังในพื้นที่ คณะบุคคลภายนอกที่มีจิตอาสาและต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น โรงไฟฟ้าต่าง ๆ ในพื้นที่มีปะการัง บริษัทเอกชน หน่วยงานการศึกษา เป็นต้น และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่วน 2) วิธีการฟื้นฟูที่เป็นที่นิยมและมีการดำเนินการมากที่สุดในปัจจุบันคือการนำกิ่งปะการังมีชีวิตขึ้นมาและติดหรือปลูกกับวัสดุต่าง ๆ แล้วนำลงวางในทะเล รายงานนี้จะนำผลการเข้าร่วมของชุมชนและกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงวิธีการฟื้นฟูที่รวมการปลูกปะการังและอื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการที่เกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี ผลสำเร็จและแนวทางการดำเนินการฟื้นฟูปะการังรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบต่อไป 

1. ชนิดปะการังที่พบมากที่เกาะสีชัง-เกาะขามใหญ่ ที่นำมาปลูกเพื่อฟื้นฟู ได้แก่ (สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ, 2560) ดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์, 2562)
- ปะการังเขากวาง: ประมาณ 8-12 เซนติเมตรต่อปี ใช้ขนาดเริ่มต้น 5-7 เซนติเมตร
- ปะการังลายดอกไม้: ประมาณ 4-8 เซนติเมตรต่อปี ใช้ขนาดเริ่มต้น 5-7 เซนติเมตร
- ปะการังมันสมอง อัตราการเจริญ 0.5-2.0 เซนติเมตรต่อปี ใช้ขนาดเริ่มต้น 3-5 เซนติเมตรหรือทางกว้างเฉลี่ย 1.16-1.65 เซนติเมตรต่อปี ทางสูงเฉลี่ย 2.18-2.40 เซนติเมตรต่อปี
- ปะการังดอกไม้ทะเล และ ปะการังจาน ไม่มีข้อมูลในขณะนี้ ใช้ขนาดเริ่มต้น 5-7 เซนติเมตรในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ปะการังเขากวางที่มีอัตราการเจริญสูงและพบมากที่สุดที่เกาะสีชัง-เกาะขามใหญ่ 

3. วัสดุปลูก วัสดุปลูกในประเทศไทยที่นำมาใช้ ได้แก่ อิฐบล็อก ท่อซีเมนต์ชำรุด ท่อพีวีซี เฟรมจากอวนปั๊มพลาสติก ซากปะการังเก่า ก้อนหินธรรมชาติ แท่นซีเมนต์รูปโต๊ะ รูปครึ่งทรงกลม หรือรูปโดมมีช่องเปิดให้น้ำและทรายไหลผ่าน ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วัสดุปลูกรูปโดมหล่อจากซีเมนต์ผสมทราย ในอัตราส่วน 1:2  ขึ้นรูปด้วยแบบกองทราย เจาะช่องเปิดด้านบน ที่ขอบด้านล่าง 4 ด้าน และตรงกลาง 4 ด้าน ซึ่งเป็นรูปแบบล่าสุดที่ได้ทำการทดลองและได้ผลดี โดยมีน้ำหนักไม่มากนัก ชุมชนหรืออาสาสมัครในการศึกษาทำได้เองทุกขั้นตอน  ต้นทุนต่ำ วัสดุหาได้ในท้องถิ่นไม่เป็นวัสดุแปลกปลอม รูปแบบกลมกลืนกับโขดหินในธรรมชาติ และมีพื้นที่ภายในให้สัตว์น้ำเข้าไปอาศัย โดยเป็นรูปแบบที่ไม่ต้านกระแสน้ำและทราย สามารถติดชิ้นปะการังแบบกิ่งก้าน  แบบแผ่น และแบบโขดหรือก้อนได้ การนำลงไปวางเพื่อฟื้นฟูในทะเลทำได้โดยใช้เรือประมงขนาดเล็ก หรือแพขนาดเล็ก ลากโดยใช้การว่ายน้ำหรือเรือไปยังจุดวางเพื่อฟื้นฟูได้ และสามารถวางในช่องว่างระหว่างกอปะการังที่เสื่อมโทรม หรือวางเป็นแนวด้านนอกแนวปะการังเพื่อป้องกันเรือเข้ามาทำการประมงภายในได้ด้วย

ขั้นตอนที่สำคัญจากการประชุมทำความเข้าใจถึงการฟื้นฟูปะการังแบบต่าง ๆ ชุมชนได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว การนำ “โดมปะการังจากวัสดุราคาถูก” และสามารถหาได้ในพื้นที่ มาใช้โดยกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม มีขั้นตอนรายละเอียดการศึกษา

1. วัสดุและรูปแบบแท่นปลูกปะการัง ในการศึกษาครั้งนี้  เลือกใช้การปลูกปะการัง 2 แบบ คือแบบอิฐบล็อกที่จำหน่ายทางการค้า โดยติดกิ่งปะการังด้วยกาวอีปอกซี่หรือปูนซีเมนต์ อิฐบล็อกจะมีการใช้ในหลายหน่วยงานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และแบบโดมปะการังหล่อขึ้นรูปด้วยปูนซีเมนต์โดยชุมชน ติดกิ่งปะการังในช่องที่ทำเตรียมไว้ มีการใช้งานในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์


1.2 โดมปะการัง (รูปที่ 2) หล่อจากปูนซีเมนต์ชนิดทนน้ำเค็ม ใช้ปูนซีเมนต์ต่อทรายก่อสร้าง  1:1  โดมปะการังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 55 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร มีช่องเปิดที่ฐาน ขนาด 11 เซนติเมตร 4 ช่อง ช่องเปิดแนวกลาง ขนาด 8.5 เซนติเมตร 4 ช่อง และช่องเปิดด้านบนสุด ขนาด 11 เซนติเมตร 1 ช่อง  หนาประมาณ 5 เซนติเมตร ช่องเปิดดังกล่าวเพื่อให้กระแสน้ำ ทราย และ สัตว์น้ำสามารถเข้าออกได้ เพื่อลดการต้านกระแสน้ำไม่ทำให้ทรายไหลมากลบ และให้น้ำทะเลที่มีออกซิเจนไหลผ่านได้ด้วย ราคาปูนซีเมนต์ชนิดทนน้ำเค็ม ราคาถุงละ 150 บาท หนัก 50 กิโลกรัม โดมปะการัง 1 ชิ้น ใช้ปูนซีเมนต์หนัก 10 กิโลกรัม ราคา 30 บาท (กิโลกรัมละ 3 บาท) ทรายก่อสร้าง 12-15 กิโลกรัมราคา 15-20 บาท ประมาณต้นทุนวัสดุ  30+20 บาท ติดกิ่งปะการังเขากวาง 8 กิ่งในแต่ละโดม โดยการเสียบในช่องที่เตรียมไว้แล้วใช้ปูนซีเมนต์ผสมน้ำหยอดในช่องให้กิ่งปะการังติดกับโดม จำนวนโดมในการศึกษา 10 โดม รวมกิ่งปะการัง 80 กิ่ง


ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ต้นทุนวัสดุต่อหน่วย ต้นทุนการปลูกปะการังต่อกิ่ง อัตราการตายของกิ่งปะการัง คุณภาพน้ำและ/หรือตะกอนดินบริเวณวางอิฐบล็อกและโดมปะการัง ชนิดและจำนวนสัตว์น้ำที่พบอาศัยในบริเวณปลูกหรือในแท่นปลูกปะการัง โดยติดตามที่เวลา 1, 7 และ 14 วันหลังติดกิ่งปะการังและนำลงวางในพื้นที่ชายฝั่ง

2. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการประชุมร่วมเพื่อชี้แจงโครงการและรับฟัง
ความคิดเห็น แนะการฟื้นฟูปะการังแบบต่าง ๆ การแนะนำแท่นปลูกแบบ “โดมปะการัง” การสรุปรูปแบบและแท่นปลูกปะการังในโครงการครั้งนี้ การอบรมและสาธิตการสร้าง “โดมปะการัง” จำนวน 1 ครั้ง การติดตามชุมชนดำเนินการสร้างโดมปะการัง และการติดกิ่งปะการังบนโดมปะการังที่สร้างแล้วเปรียบเทียบกับอิฐบล็อก จนถึงการนำลงวางในทะเล จำนวน 1 ครั้ง

หลังเวลา 14 วันที่ใช้ในการตรวจสอบผลการใช้อิฐบล็อกและโดมปะการัง ในการฟื้นฟูปะการังเขากวางโดยชุมชนเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี พบว่าการนำโดมปะการังมาใช้ฟื้นฟูปะการัง ที่เกาะขามใหญ่  จังหวัดชลบุรี โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ได้รับการตอบรับทั้งในส่วนการสร้างและพัฒนา “โดมปะการัง” ควบคู่กับการใช้อิฐบล็อกที่มีขายสำเร็จรูป และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิธีการปลูก การปลูกปะการังโดยไม่ใช้วัสดุที่อาจเป็นอันตรายต่อปะการังเช่นกาวอีป็อกซี่ การกำหนดจำนวนให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟู รวมถึงบริเวณที่มีความต้องการฟื้นฟูตามลำดับความเร่งด่วนที่เป็นข้อสรุปของชุมชน ในขั้นตอนการตรวจสอบหลังการฟื้นฟูในทะเล มีการร่วมกันโดยชุมชนในส่วนของการป้องกันรักษาการรบกวนของคนภายนอก เช่น คนประจำเรือขนส่งมันสำปะหลังที่จอดเรือในบริเวณใกล้เคียง จากนักวิจัยในโครงการในส่วนการติตตามคุณภาพน้ำทะเล ตะกอนดิน ในพื้นที่ฟื้นฟูด้วยแท่นปลูกปะการังทั้ง 2 แบบ

ต้นทุนวัสดุปลูก 2 แบบ อิฐบล็อกทั่วไป ราคา 15 บาทต่อหน่วย โดมปะการังที่ชุมชนสร้างเอง ราคา 50 บาทต่อหน่วย เมื่อนำมาปลูกปะการังเขากวางที่อนุบาลไว้ในพื้นที่เกาะขามใหญ่ ต้นทุนสำหรับการใช้อิฐบล็อกที่ติดได้ 3 กิ่งต่อ 1 ก้อน เท่ากับ 21.6 บาทต่อกิ่ง โดมปะการังที่ติดได้ 8 กิ่งต่อโดม เท่ากับ 6.25 บาทต่อโดม (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ต้นทุนวัสดุ

ตารางที่ 2 อัตราการเจริญ คุณภาพน้ำ และตะกอนพื้นทะเลบริเวณวางวัสดุปลูก 

                        กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (ตารางที่ 3) ชุมชนเข้าร่วม 20 คน ทุกคนมีความรู้การฟื้นฟูปะการังโดยการปลูกกิ่งปะการังบนอิฐบล็อก แต่ไม่มีความรู้การใช้โดมปะการังในการฟื้นฟูปะการังมาก่อน ทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมการฟื้นฟูด้วยโดมปะการัง จำนวนกิ่งปะการังที่ทำการปลูกบนอิฐบล็อกเท่ากับ 3-6 กิ่งต่อคน บนโดมปะการัง 5-10 กิ่งต่อคน และทุกคนพอใจการฟื้นฟูปะการังทั้งบนอิฐบล็อกและบนโดมปะการังเท่ากัน


ตารางที่ 3 รายละเอียดการมีส่วนร่วมของชุมชน เกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี

  การใช้อิฐบล็อกที่มีจำหน่ายเป็นแท่นสำหรับปลูกปะการังด้วยกาวอีป็อกซี่ที่สามารถใช้ใต้น้ำได้ มีการทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตั้งเป้าใช้อิฐบล็อกเพื่อติดกิ่งปะการัง 48,000 กิ่ง (สำนักงานบริหาร ทช.ที่ 2 (ชลบุรี), 2562) ในบริเวณชายฝั่งเกาะขามใหญ่ ซึ่งจะมีผลทั้งในทางบวกและลบ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าชุมชนเกาะขามใหญ่ มีความพร้อมในเรื่องความรู้ในการฟื้นฟู และมีความตั้งใจเข้าร่วมการฟื้นฟูดังกล่าว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัสดุทั้งสองรูปแบบให้ผลดีต่ออัตราการตายของปะการังที่นำมาฟื้นฟู รวมถึงพบการเข้ามาของปลาทะเลใกล้เคียงกัน โดยการใช้อิฐบล็อกที่มีจำหน่ายทั่วไปชุมชนจะมีความสะดวกมากกว่า อย่างไรก็ตามพบว่า การที่ชุมชนมีส่วนวางแผนการและดำเนินการเองทุกขั้นตอน โดยเฉพาะในการหล่อโดมปะการังนั้น ชุมชนมีแนวคิดดัดแปลงและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การเพิ่มน้ำหมักชีวภาพ (EM) ในขั้นตอนการผสมปูนซีเมนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างโดยไม่ต้องใช้เหล็กหรือวัสดุอื่น ๆ ทำโครง  การปรับรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ การปรับขนาดและตำแหน่งช่องเปิดสำหรับการถ่ายเทของน้ำทะเล ทราย และให้สัตว์น้ำเข้ามาอาศัย การเตรียมต่อยอดโดมปะการังสำหรับเป็นที่อาศัยทางเลือกให้ปลาการ์ตูนที่พบในชายฝั่งเกาะขามใหญ่ ที่กอดอกไม้ทะเลที่เคยอาศัยได้ตายลง ในขณะที่ผลการศึกษาพบว่าอิฐบล็อกทำให้พื้นทรายด้านล่างเกิดซัลไฟด์มีสีดำเนื่องจากน้ำทะเลที่มีออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านเข้าออกได้  ทั้งนี้ชุมชนที่เข้าร่วมได้วางแผนการดำเนินการต่อไปเพื่อเพิ่มจำนวนโดมปะการังควบคู่กับการใช้อิฐบล็อก โดยกำหนดตำแหน่ง จำนวนโดมปะการังที่ต้องการ และมีความประสงค์ขอให้มีการช่วยเหลือในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพตะกอนพื้นทะเลใต้วัสดุปลูก

“โดมปะการัง” มีการนำมาใช้ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2547 ที่เกาะราชาใหญ่ เกาะภูเก็ต โดยใช้ชื่อว่า “Reef Ball” (Reef Ball Project in Thailand, 2004) มีการนำรูปแบบโดมมาใช้ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและฟื้นฟูทรัพยากรประมง ที่บ้านตันหยงเปาว์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี  (พยอม รัตนมณี, 2558) ทั้งนี้ปะการังเทียมรูปโดม ในชื่อต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา (Reef Ball Project in California, 2015) ฟิลิปปินส์ (Barangay Officials of Bantayan, 2014) วิธีการสร้างโดมปะการังตามรูปแบบและวัสดุที่พัฒนามาใช้ในโครงการนี้มีต้นทุนต่ำสุดเมื่อเทียบกับวัสดุปลูกปะการังรูปโดม หรือรูปแบบอื่น ๆ เช่น ท่อพีวีซี อิฐบล็อก บ้านปลา (กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล, 2559)  ในส่วนของการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นเกาะสีชัง-เกาะขามใหญ่ ได้มีการจัด “วันร่วมพลคนสีชังฟื้นฟูปะการังอย่างยั่งยืน” รวม 5 ครั้งระหว่างปี 2556-2560 การจัด “โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและฟื้นฟูปะการังธรรมชาติ ในพื้นที่เกาะสีชัง โดยชุมชนมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1-2” ระหว่าง ปี 2558-2559 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2560) โดยรูปแบบเป็นการจัดโดยหน่วยงานส่วนกลาง เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาลตำบลเกาะสีชัง เอกชน เช่น บริษัท ไทยออยล์ มหาชน จำกัด และชุมชนจะมีส่วนร่วมอย่างมากในขั้นตอนการนำปะการังมาติดบนวัสดุปลูก แล้วผู้จัดนำลงวางในพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งอาจมีการประชุมร่วมกับชุมชนก่อนหรือไม่มี โดยการมีส่วนร่วมในลักษณะนี้ชุมชนจะทำเพียงปีละ 1-2 ครั้ง และมีส่วนร่วมไม่มากนัก การนำ “โดมปะการัง” ที่มีการสร้างไม่ซับซ้อน วัสดุราคาถูก ชุมชนสามรถทยอยทำไปได้ตลอดปี ตามแผนและงบประมาณที่มี มีการตรวจติดตามและป้องกันการทำลายโดยชุมชนเองตลอดเวลา ชุมชนได้ประโยชน์จากสัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยทางตรงโดยการจับไปกินหรือขาย ทางอ้อมเช่นการจัดแข่งขันตกปลาหรือหมึกเพิ่มรายได้อีกด้วย


ขอขอบคุณ ทุน CU Engagement 2561 และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี

ISSN 2686-9248 (Online)
Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

© 2024 Thai Environmental, All rights reserved.

ติดต่อเรา

สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330