บทความ: แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวไทยผ่านมุมมองของตลาดญี่ปุ่น

1Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น
2ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, natt.l@chula.ac.th
3กลุ่มวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


1. บทนำ
การเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นนั้นมีความจำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมของการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่นเสียก่อน เริ่มจากการศึกษาจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น แล้วจึงทำความเข้าใจลักษณะเด่นและความเป็นไปได้ของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงสามประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 
ก. จำนวนชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศ
ข. เอกลักษณ์ของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
ค. ความเป็นไปได้ของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่น

จากข้อมูลของ Japan Tourism Agency (2017, หน้า 21) พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547-2559 มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดมีแนวโน้มคงที่ระหว่าง 16-18 ล้านคนต่อปี ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2557-2561 และ มีการใช้จ่ายเกิดขึ้นราว 60,000 บาท/คน/การเดินทาง ซึ่งหากแยกช่วงเวลาที่ชาวญี่ปุ่นเดินทางออกไปต่างประเทศจะได้ดังรูปที่ 1 


ที่มา: Immigration Bureau of Japan, n.d.

3. เอกลักษณ์ของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น
ก. ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมที่นิยมใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลัก ซึ่งคำศัพท์จากต่างประเทศได้ถูกแปลเป็นอักษร ‘คันจิ’ หรือแปลทับศัพท์เป็นอักษร ‘คาตากานะ’ ซึ่งหากต้องการดึงดูดชาวญี่ปุ่นอาจจำเป็นต้องมีคำแปลภาษาญี่ปุ่นในการแนะนำสถานที่ โดยเฉพาะสถานที่ที่เป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
ข. โดยพื้นฐานของชาวญี่ปุ่นมักมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง รวมทั้งการเตรียม ‘หนังสือนำเที่ยว’ และ ‘หนังสือรวมแหล่งอาหาร’ ไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นเรื่องของข้อมูลการเดินทางจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาแหล่งข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
ค. นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประชาชนชาวญี่ปุ่นซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยว ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน (กรมการกงสุล, ม.ป.ป.)  ทำให้สะดวกต่อการเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยว
ง. การพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าทำให้การขนส่งมวลชน อาทิ รถโดยสารประจำทางและรถไฟ มีความพร้อมทั้งตรงตามเวลาและมีตารางเดินรถที่ชัดเจน รวมทั้งการใช้บัตรเครดิตเพื่อการชำระเงินสามารถทำได้ในร้านค้าส่วนใหญ่ ทำให้การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นเรื่องที่สะดวกสบายสำหรับผู้เดินทาง
จ. สำนักนายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น (Cabinet Office, Government of Japan, 2017) อธิบายลักษณะของสังคมญี่ปุ่นว่าเป็น ‘สังคมผู้สูงอายุ’ รวมทั้งเป็นสังคมที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานของคนทำงานโดยเฉลี่ยสูง และไม่นิยมลาพัก เนื่องจากความกลัวผู้คนรอบข้างจะเดือดร้อนในช่วงที่ตนลา บ่งชี้ว่าเป็น ‘สังคมที่มีความเครียด’ โดยผู้ทำงานไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน
ฉ. นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจในมาตรฐานของสถานที่พัก ยกตัวอย่างเช่น รายการ Nanatsu no umi wo tanoshimo! Sekaisama~ resort ซึ่งเป็นรายการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว ได้มีการนำเสนอการตรวจสอบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในโรงแรม เช่น การตรวจสอบแรงดันน้ำของฝักบัว การหาตำแหน่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในห้องพัก เป็นต้น

4. กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่น่าสนใจในประเทศไทย
ก. กลุ่มวัยเรียน มีเหตุผลสนับสนุนสองข้อ ได้แก่ 1. การท่องเที่ยวเมื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยเมื่อสำเร็จการศึกษามักจะมีการรวมกลุ่มเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวด้วยกัน  ผลการสำรวจของบริษัท My Navi travel (นักศึกษามหาวิทยาลัย 855 คน ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2561) พบว่า 77.8 % ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความตั้งใจ จะไปท่องเที่ยวเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศสูงสุดในช่วงปิดภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิเดือนมีนาคม และฤดูร้อนเดือนสิงหาคม 2. นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการศึกษาแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ  ถึงแม้ว่าจำนวนประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศต่อปีจะมีมากกว่า 10 ล้านคนแต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศญี่ปุ่นแล้วอยู่ที่ประมาณ 10% เท่านั้น ทำให้มีการเพิ่มจำนวนประชากรที่เดินทางไปยังต่างประเทศยังมีช่องทางในการพัฒนาอีกมาก รวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นยังมีความต้องการเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศด้วย  โดยสังเกตได้จากโครงการของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เชื่อว่าการศึกษาในต่างประเทศช่วยส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ 
ข. กลุ่มนักท่องเที่ยวสตรี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมของประเทศญี่ปุ่น ผู้หญิงมีอัตราส่วนการทำงานมากขึ้นกว่าสมัยก่อนอย่างเห็นได้ชัดเจน ในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงสามารถทำงานเพื่อหารายได้เข้าสู่ครัวเรือนได้ กลุ่มผู้หญิงวัยทำงานจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีจากการทำงานมากขึ้นอาจจะมีผลให้มีการเลือกการเดินทางเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเดินทางระยะสั้น การเดินทางในวันเสาร์-อาทิตย์ และการเดินทางแบบสะดวกสบายมากกว่าการเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัย

5. ปัญหาของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
5.1 ปัญหาการเดินทางเข้าออกประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
ถึงแม้การลงทะเบียนประทับตรานักท่องเที่ยวสำหรับประชาชนชาวญี่ปุ่นหรือวีซ่าจะได้รับการยกเว้นก็ตาม ปัญหาเรื่องการเข้าออกยังคงมีให้เห็นโดยแยกเป็นเรื่องปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง และปัญหากระบวนการทางศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

5.1.1 ปัญหาสำหรับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย
เรื่องอายุหนังสือเดินทาง เนื่องจากนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้รับการยกเว้นการลงตรา แต่ระเบียบมิได้กล่าวถึงอายุของหนังสือเดินทาง อย่างไรก็ดี ททท. ได้ให้คำแนะนำตามระเบียบสากลกล่าวคือ หนังสือเดินทางควรมีอายุมากกว่า 6 เดือน
• เรื่องใบ ต.ม.6 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ผู้เดินทางมีความกังวลว่าใบต.ม.แบบเก่าจะสามารถใช้ได้ถึงเมื่อไหร่ อีกทั้งบริษัททัวร์หลายบริษัทได้ให้บริการกรอกข้อมูลเป็นตัวพิมพ์ลงไปในใบต.ม.6 แบบเก่า หากไม่สามารถใช้ได้จะทำให้ลูกค้าของบริษัททัวร์ดังกล่าวเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นการกำหนดเวลาเลิกใช้เอกสารลักษณะนี้จึงควรมีการกำหนดอย่างชัดเจนและแจ้งบริษัททัวร์ให้ทราบอย่างทั่วถึง

5.1.2 ปัญหาสำหรับหน่วยงานศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• เรื่องพิธีศุลกากร ปัจจุบันทางกรมศุลกากร (2016) ได้ประกาศแจ้งให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทางเข้าประเทศไทยและมีของติดตัวที่มีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาท ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แต่มีนักท่องเที่ยวบางรายไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว 
• เรื่องของต้องห้ามและของจำกัดตามกฎหมาย เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นปัญหาสำหรับประชาชนชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีสารนิโคตินในประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องถูกกฎหมาย หน่วยงานที่ออกกฎหมายจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 
• เรื่องยารักษาโรค เนื่องด้วยปัจจุบันมีการพัฒนาทางการแพทย์และเทคโนโลยีการคมนาคม ทำให้ผู้คนที่มีโรคประจำตัวสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนหรือผู้สูงอายุสามารถเดินทางได้ด้วยตัวเอง  บุคคลที่อยู่ในภาวะเครียดและได้รับการสั่งยานอนหลับ หรือยาคลายกังวล โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ประกอบกับเป็นสังคมที่มีความเครียดมาก การนำยาประเภทนี้ติดตัวเข้าไปได้หรือไม่นั้นอาจมีผลต่อการเลือกประเทศ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญของ ททท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันแก้ไขจัดการต่อไป

5.2 ปัญหาการเดินทางคมนาคมภายในประเทศไทย 
ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องระบบคมนาคม ดังจะเห็นว่า ประชาชนชาวไทยเน้นการเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การแนะนำตามคู่มือนักเดินทางมักแนะนำการใช้ทางหลวงซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการเดินทางไปในพื้นที่ต่างจังหวัดโดยไม่มีรถยนต์ส่วนตัว อีกทั้งระบบขนส่งมวลชนยังไม่ได้สนับสนุนการรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่าที่ควร รวมถึงมีข้อจำกัดด้านภาษาที่ไม่รองรับภาษาต่างประเทศ บทความนี้ได้สรุปเปรียบเทียบการให้ข้อมูลและการคมนาคมของระบบขนส่งดังตารางที่ 1

  ภาษาที่รองรับ   ประเภทของการถอน
และชำระเงิน ตารางเวลา เวลาที่ใช้เดินทาง สถานที่ขึ้นลง หมายเหตุ TH EN JP เงินสด ลงทะเบียน โอนธนาคาร บัตรเครดิต Counter service         การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย 〇

× 〇 〇 〇 〇 × 〇 〇 - #1, #2,
#3, #4 ขนส่ง,#4 〇 × × 〇 × × × 〇 〇 〇  #6, #7 #5 การบินไทย 〇 〇 〇 〇 × × 〇 × 〇 〇 -   อุทยานแห่งชาติ
ในส่วนของที่พัก,#8 〇  × 〇 〇 〇,#10 × × - -  #12, #13,
#14 #9 #11

จากข้อมูลในตารางที่ 1 พบว่ากลุ่มขับเคลื่อนหลักของการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น คือ ระบบการขนส่ง แต่ระบบปัจจุบันยังไม่รองรับการจองและชำระผ่านบัตรเครดิต หรือ Counter Service ได้ อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติลักษณะอุทยานแห่งชาติก็สามารถเข้าถึงได้ยากสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้ระบบการโอนเงินผ่านธนาคารเท่านั้น

5.3 ปัญหาอื่น ๆ  
การพัฒนาระบบการสื่อสารของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ปัจจุบันข้อมูลต่าง ๆ ในประเทศไทยนั้นค้นหาได้ยาก ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลต่าง ๆ ด้วย งานเทศกาลต่าง ๆ ในประเทศไทยในแต่ละจังหวัดส่วนใหญ่จะต้องรอการยืนยันประธานการจัดงานเพื่อมาร่วมพิธีเปิด ส่งผลให้รายละเอียดและกำหนดการแบบละเอียดมักจะมีการประกาศก่อนหน้าในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวในการวางแผนเดินทางมายังประเทศไทย ตัวอย่างของงานเทศกาลขนาดใหญ่ที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจ ได้แก่ งานโคมลอยในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะมีการเปิดจองล่วงหน้าถึงกว่า 6 เดือน

• จากปัญหาทั้ง 3 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น หากมีการทำศูนย์กลางข้อมูลที่เปิดเผยชัดเจน โดยอาจตั้งเป็น HashTag (#) ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจะทำให้นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การจัดเตรียมงานเทศกาลต่าง ๆ ควรมีกำหนดการเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี และเริ่มประชาสัมพันธ์ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ ททท.
• การเดินทางจากต่างประเทศมายังประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวนั้นจำเป็นต้องรองรับช่องทางสำหรับการจองและการชำระเงินแบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากหลายองค์กรเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นของรัฐบาล จึงมีความสามารถในการเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น บัตรเครดิต ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีการวิเคราะห์และออกแบบเป็นโครงสร้าง Platform เพื่อเป็นหน้าด่านสำหรับการท่องเที่ยวต่อไป
• การจัดทำโครงสร้างระบบข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกัน รวมทั้งควรมีระบบตรวจสอบลิงก์เพื่อป้องกันการส่งต่อไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน และเพื่อป้องกันความสับสนของผู้ใช้งาน เมื่อมีการพัฒนาระบบหรือหน้าเว็บใหม่ อาจจะมีการสอบถามความพึงพอใจจากผู้ใช้งานเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นต่อไป


งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2563 (นักวิจัยหลัก: อาจารย์ ดร. Jing Tang) คณะผู้วิจัยขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะสำนักงานโตเกียวสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย



เอกสารอ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2559 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 
กระทรวงต่างประเทศ. (ม.ป.ป.) Thailand Visa Information: Questions & Answers on Thai Visa. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561.จาก http://www.mfa.go.th/main/en/services/4908/15380-Questions-&-Answers-on-Thai-Visa.html
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561 (จำนวนยอดสะสมเบื้องต้น). สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน, 2562.จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=571&filename=index
กรมการกงสุล. (ม.ป.ป.). รายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวและสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561. จาก http://www.consular.go.th/main/th/services/1287/19766-รายชื่อประเทศดินแดนที่ได้รับจากยกเว้นการตรวจลงตรา.html
กรมศุลกากร. (2016). Arriving in Thailand. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561.จาก http://en.customs.go.th/content.php?ini_content=arriving_in_thailand&lang=en&left_menu=menu_arriving_in_thailand
กรมอุทยานแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). 4. การใช้งานของระบบจองบ้านพักและบริการอุทยาน. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561.จาก http://nps.dnp.go.th/upload/FILE-0836964001481712455.pdf
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว. (2018). ประกาศเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561.จาก  http://site.thaiembassy.jp/jp/news/announcement/6398/
สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน. (2017). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม, 2561. จาก http://www.thaiembassy.org/bsb/contents/files/news-20170927-151919-408193.pdf
Cabinet Office, Government of Japan. (2017). Annual Report on the Aging Society:2017. Retrieved Sep. 5, 2018, from http://www8.cao.go.jp/kourei/whitepaper/w-2017/html/gaiyou/s1_1.html
Ishii, M. (2013). The state of statistics in emerging regions Part6: Thailand. Journal of Information Processing and Management. 56 (2), 108-115.
Japan Tourism Agency, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Japan.  (2018). White Paper on Tourism in Japan, 2017. Retrieved Jun. 2, 2019, from http://www.mlit.go.jp/common/001255530.pdf
JATA (Japan Association of Travel Agents). (2017). Sujigakataru Ryogogyo 2017. Retrieved Dec. 21, 2017, from https://www.jata-net.or.jp/data/stats/2017/pdf/2017_sujryoko.pdf
JATA (Japan Association of Travel Agents). (2018). Sujigakataru Ryogogyo 2018. Retrieved, Oct. 12, 2017, from https://www.jata-net.or.jp/data/stats/2018/pdf/2018_sujryoko.pdf
Kikuchi, D. (2018). Japan ties with Singapore to top passport power ranking. Retrieved August 7, 2018, from https://www.japantimes.co.jp/news/2018/03/02/national/japan-ties-singapore-top-passport-power-ranking/#.W12xF7hBo1I
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology, Japan. (2017). Tobitate Ryugaku! Japan. Retrieved Jun. 3, 2018, from http://www.mext.go.jp/a_menu/kokusai/tobitate/__icsFiles/afieldfile/2017/02/10/1382079_1.pdf
Ministry of Justice, Japan. (2014-2018). Monthly report of number who entry and depart Japan. Retrieved Oct. 3, 2018, from http://www.moj.go.jp/housei/toukei/toukei_ichiran_nyukan.html
My Navi Travel. (2018). Survey for Sotsugyo Ryoko (Press Release). Retrieved Oct. 20, 2018 https://travel.mynavi.jp/pr/pressrelease/pdf/20180312_graduationtrip.pdf
NHK Nippon Hoso Kyokai (Japan Broadcasting Corporation). (2018). Special Oedo part 2, broadcasted on Jun. 10, 2018, 21:00-21:49 JST.
Nomura Agri Planning & Advisory. (2016). Global Food Value Chain Strategy of South East Asia (in Japanese). Retrieved Jan. 2, 2018, from http://www.maff.go.jp/j/shokusan/sijyo/info/attach/pdf/index-18.pdf
Tourism Authority of Thailand (TAT). (n.d.). Basic Information about Travelling. Retrieved Oct. 12, 2018, from https://www.thailandtravel.or.jp/about/basic/
World Tourism Organization (UNWTO). (2018). UNWTO Tourism Highlights 2018 Edition. Retrieved Oct. 8, 2018, from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284419876