บทคัดย่อ
จากที่พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 นั้น ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมี ดร.รอยล จิตรดอน ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการฯ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดประเด็นเพื่อการปฏิรูป ทั้งหมด 6 เรื่อง
ฟังข่าวรอบบ้าน:
ดร.ทรงกฤษณ์ ประภักดี
คณะทำงานปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้คณะทำงานฯ ในแต่ละด้านจะช่วยกันดำเนินการจัดแผนการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจัดทำร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความคาดหวังว่า การนำเสนอแผนงานเพื่อการปฏิรูปจะทำให้เกิดการปรับปรุงและสร้างระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ที่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และในบางกรณียากแก่การคาดเดา จึงต้องวางแผนเพื่อการจัดการอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การจัดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิรูปประเทศฯ ได้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความครอบคลุมต่อภูมิภาคของประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร และนครศรีธรรมราช เพื่อที่จะนำความคิดเห็นไปประกอบการปรับปรุงแผนการปฏิรูปฯ
เป้าหมายของการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำต่อการใช้ทรัพยากร และเพื่อเกิดความมั่นคงและความยั่งยืนของประเทศ โดยที่กรอบการดำเนินงานจัดทำแผนงานปฏิรูปฯ ได้กำหนดภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (Sustainable development goals: SDG) และการน้อมนำศาสตร์พระราชากับงานพัฒนาที่ยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
การปฏิรูประบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาตินั้น คณะทำงานได้ประชุมเพื่อกำหนดเรื่องที่จะปฏิรูป โดยมีความเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน ทั้งปัญหาของการจัดการซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการให้ลุล่วงได้ในระยะเวลาอันสั้นหากไม่มีมาตรการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมา หรืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเพทื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ซึ่งการปฏิรูประบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติต้องมีหลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในระหว่างการดำเนินการปฏิรูป ได้กำหนดระยะเวลาของผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการภายระยะเวลา 5 ปี ประกอบด้วย
1. การปฏิรูปเรื่องโครงสร้างและระบบการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
2. การปฏิรูปเรื่องระบบการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Strategic Environmental Assessment:SEA)
3. การปฏิรูปการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ
4. การปฏิรูประบบการผังเมือง
5. การปฎิรูปเครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม
6. การปฏิรูปองค์กร ระบบแผนและระบบงบประมาณ และเครื่องมือบริหารจัดการ
7. การปฏิรูประบบยุติธรรมสิ่งแวดล้อม
8. การปฏิรูประบบกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม