ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง, ศรีสดา เจริญดี, ประกาศิต ทอนช่วย, ภากรณ์ ภู่สุวรรณ, แสงชัย วงศ์มานะกูล และ อรทัย เกตุขาว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยาได้รับการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เป็นมหาวิทยาลัยใน กำกับของรัฐและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในพื้นที่จังหวัดพะเยา ดังนั้นเพื่อให้สามารถตอบประชาชนคนในพื้นที่ ต่อความคาดหวังในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้ตั้งปณิธานไว้ว่า “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็ง ของชุมชน” และตราไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ.2553 ถึงวัตถุประสงค์การก่อตั้งมหาวิทยาลัยว่า “ให้การศึกษา ส่งเสริม และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ”
“กว๊านพะเยา” ประเด็นปัญหาจากการสำรวจศักยภาพของพื้นที่จังหวัดพะเยาในบริบทของจังหวัดตั้งใหม่ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจภายในจังหวัดอันเนื่องมาจากเส้นทางคมนาคม R3A ที่สามารถ เดินทางไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายมุ่งตรงไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสะดวก จากการสำรวจศักยภาพและทิศทางการพัฒนาจังหวัดพะเยาพบว่า มีประเด็นสำคัญที่กำลังเข้าสู่การกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการสิ่งแวดล้อม สุขภาวะและสุขภาพของประชาชน การจัดการ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและการจัดการผลิตผลการเกษตร เป็นต้น
เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic tool) ให้ขับเคลื่อนทุกคณะ/วิทยาลัยให้ลงพื้นที่ในทุกอำเภอของจังหวัดพะเยา ในการเป็นที่พึ่งชุมชนและสังคม ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันกับทุกภาคส่วนของพื้นที่ โดยมอบหมายให้แต่ละคณะมีพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการและมี การจัดการอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ ร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการพัฒนานิสิตอีกทางหนึ่งด้วย แนวคิดการดำเนินงานโดยสรุปคือ สร้างกลยุทธ์ขับเคลื่อนให้ทุกคณะ/วิทยาลัยโดยคณบดี สร้างทีมคณาจารย์และ บุคลากร พัฒนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในระดับคณะที่สอดคล้องกับของมหาวิทยาลัยนำไปสู่เป้าหมายร่วม โดยทีม ทำงานนำนิสิตลงพื้นที่
ในการสำรวจข้อมูลเพื่อทำ Social mapping แล้ววิเคราะห์ประเด็นปัญหาร่วมกับชุมชน โดยเลือกประเด็นปัญหาเร่งด่วนและมีโอกาสประสบผลสำเร็จสูง และเลือกพื้นที่ชุมชนที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง นำไปสู่การได้รับความร่วมมือจากชุมชน มีภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทั้งท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ไปสู่การ พัฒนาเป็นโครงการ โดยใช้ความรู้ความสามารถของคณาจารย์ นักวิชาการในคณะ นำหลักวิชาที่ร่ำเรียนจาก สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เข้าไปช่วยแก้ไขและเรียนรู้ร่วมกันกับประชาชนคนในพื้นที่ เมื่อประสบผลสำเร็จในการแก้ไขเกิดเป็นชุมชนต้นแบบซึ่งเรียกว่า โมเดล ต้นแบบ (Success Model) ซึ่งใน 1 คณะก็จะมีอย่างน้อย 1 โมเดล พัฒนาเป็น 1 คณะ 1 Success Model ในแต่ละอำเภอกระจายทั้งพื้นที่จังหวัดพะเยา เป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ เมื่อเกิดต้นแบบกระจายไปทั้งจังหวัด มหาวิทยาลัยคาดหวังว่าจะเกิด จังหวัดที่เรียนรู้ในการจัดการตนเองอย่างยั่งยืน พอเพียง เป็น “อุทยานทางปัญญา” ให้กับชุมชนอื่นนำไปปฏิบัติ เกิดการเชื่อมโยง Local และ Global wisdom และเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การปรับการเรียนเปลี่ยน การสอน ซึ่งคณาจารย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศก็จะเข้าใจลูกศิษย์ที่จบโรงเรียนตามต่างจังหวัดมากขึ้น เกิด การปรับตัวเข้าหากันทั้งสองฝ่าย
การดำเนินการ 1 คณะ 1 โมเดล ของคณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยผู้ดำเนินการ ดร.ประจวบ แหลมหลัก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์ ภายใต้การบริหารของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รูปแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพในตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา ในการดำเนินโครงการมีงบประมาณในการสนับสนุนโครงการ จำนวน 170,000 บาท มีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบการการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพในตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา ซึ่งประกอบกับการบูรณาการตามพันธกิจดังต่อไปนี้
1.การเรียนการสอน
สนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนิสิตหลักสูตรแพทย์แผนจีนบัณฑิต แพทย์แผนไทย ประยุกต์บัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน และวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
2.การวิจัย
เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพในตำบลขุนควรอำเภอปง จังหวัดพะเยา”
3.การบริการวิชาการ
สนับสนุนพันธกิจด้านการบริการวิชาการตามโครงการพัฒนาชุมชนสุขภาวะต้นแบบการป้องกันปัญหาหมอกควัน อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยใช้โครงการนี้เป็นเป็นโครงการนำร่อง (Pilot project) ของการวิจัย
4.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
สนับสนุนพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามโครงการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ประจำปีงบประมาณ 2561 (โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการศึกษาวิถี สุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา) โดยใช้โครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง (Pilot project) ของการวิจัย
ข้อมูลการสำรวจประชาชนได้จากการสอบถามประชาชนใน ต.ขุนควร อ.ปง ที่เป็นพื้นที่ที่มีการเผาชีวมวลในที่โล่งสูงที่สุดใน อ.ปง จำนวน 120 คน ข้อคำถามสำรวจเฉพาะในประเด็นองค์ความรู้ในการป้องกันสุขภาพและการปฏิบัติตนในช่วงที่มีปัญหาหมอกควันรุนแรง ตลอดจน ถามถึงการจัดการ ความรุนแรงของปัญหา การแก้ไขปัญหาที่ประชาชนได้ปฏิบัติ และความต้องการของชุมชนสำหรับการช่วยเหลือจากภายนอก หรือการแก้ไขระยะยาวที่อยากให้เกิดขึ้นโดยจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม การให้คะแนนคำถามแบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่ 5 มากที่สุด 4 มาก 3 ปานกลาง 2 น้อย และ 1 น้อยที่สุด นอกจากนั้นยังสำรวจข้อมูลผู้ป่วยจาก 4 กลุ่มโรคหลักที่เกิดจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดพะเยา ปี พ.ศ. 2561 ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด โรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ โดยได้ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา สำหรับใช้วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน
2. ดำเนินการโครงการนำร่อง โดยให้บริการแบบสหสาขาวิชาชีพแก่ประชาชน หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา ตามโครงการโครงการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนโครงการ 1 คณะ 1 โมเดลประจำปี งบประมาณ 2561 (โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการศึกษาวิถีสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา) และให้บริการประชาชนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ขุนควร อำเภอปง จ. พะเยา ตามโครงการพัฒนาชุมชนสุขภาวะต้นแบบการป้องกันปัญหาหมอกควัน อำเภอปง จังหวัดพะเยา 4. สาธิตการบริการสุขภาพโดนสหสาขาวิชาชีพเพื่อรับการตรวจเยี่ยมจากคณะกรรมที่ รพ.สต. ขุนควร
ด้านนโยบาย ภาพกว้างสนับสนุนนโยบายการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และหมอครอบครัวของกระทรวงสาธารณสุข ระดับมหาวิทยาลัยตอบสนองปณิธานปัญญาเพื่อความเข้มของชุมชน ระดับคณะตอบสนองวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย “Family health team for remote area”
Mean
แปลผล
4.82
มากที่สุด
3.79
มาก
4.70
มากที่สุด
4.29
มากที่สุด
3.98
มาก
ด้านสาธารณะ
1.ชุมชนมีรูปแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ
2.เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพแก่ชุมชนอื่น
ด้านชุมชนและพื้นที่
1. ชุมชนมีรปู แบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ
2. เกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระของทางราชการ
ด้านพาณิชย์
เป็นการดำเนินการปีแรกยังไม่เกิดผลประโยชน์เชิงพาณิชย์
ด้านวิชาการ
นิสิตคณะแพทยศาสตร์มีโอกาสเรียนรู้ด้านการบริหารวิชาชีพของตนเองจากประสบการณ์ตรง
ชุมชนได้รับบริการสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ
ด้านคุณภาพชีวิตสุขภาพ
1.เบื้องต้นประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจากสหสาขาวิชาชีพ
2.เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยมีความเชื่อมโยงระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา โรงพยาบาลพะเยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปง โรงพยาบาลปง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนควร และชุมชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนควร ในส่วนของชุมชนจะเกิดกลุ่มจิตอาสาด้านการดูแลสุขภาพในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ
ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ชื่อ – นามสกุล และตำแหน่งผู้นำกลุ่มที่เกี่ยวข้องที่เป็นทางการ
1) นางสมพร ตาจุมปู ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ขุนควร
2) นายพงษ์ศักดิ์ ตักเตือน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.ขุนควร
3) นางสาวอภิรุจี เกณฑา ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอ สสอ.ปง
ชื่อ – นามสกุล และตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการระดับต่างๆ
1) นายสุรศักดิ์ ชัยชนะ ตำแหน่ง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา
2) นายแพทย์สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา
3) นายประพันธ์ เดชะบุญ ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอ
4) นางวรนุช วงศ์เจริญ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ รพ.ปง
งานตามแผนวิจัย โครงการวิจัยที่จะทำต่อไป
1. สร้างเครือข่ายสุขภาพแบบสหสาขาวิชาชีพระหว่างหมู่บ้าน
2. ประเมินผลการดำเนินการ
3. ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4. นำเสนอในพะเยาวิจัย ประจำปีงบปี 2562 วันที่ 23 มกราคม 2562
1. เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์มีโครงการที่ต้องดำเนินการในชุมชนหลายโครงการ เช่น โครงการหมู่บ้าน
สุขภาพดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โครงการฝึกงานบูรณาการของนิสิตทุกสาขา เป็นอุปสรรค
ต่อการจัดการด้านคน และเวลาแนวทางแก้ไขคือนำแนวทางการดำเนินเข้าพิจารณาในคณะกรรมการคณะเพื่อ
กำหนดผู้รับผิดชอบ และทิศทางการทำงานที่ชัดเจน
3. ปัญหาด้านการบริหารเวลาที่จะเข้ามามีส่วนร่วม กล่าวคือ คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งต้องออกไปประกอบอาชีพทุกวัน ทำให้มีเวลาเข้ามามีส่วนร่วมน้อย แนวทางการแก้ไข คือผู้รับผิดชอบโครงการต้องมีเวลาสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น ทำการศึกษาข้อมูลอย่างลุกซึ้ง เพื่อนำมาปรับบรรยากาศในการมีส่วนร่วมของชุมชน