รุ่งทิพย์ ลุยเลา
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กัญชงหรือเฮมพ์ (Hemp) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. มีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลาง บริเวณประเทศอินเดีย มณฑลยูนนาน ในประเทศจีน และเปอร์เซีย ตั้งแต่ 6,000 ปีก่อน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกในประเทศเขตร้อนหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศในแถบยุโรปด้วย (Bouloc et al., 2013; Horne, 2012; รุ่งทิพย์ ลุยเลา, 2560) แม้ว่าการปลูกกัญชงจะถูกจำกัดและมีการควบคุมอย่างเข้มงวดทางกฎหมายในหลายประเทศ แต่พบว่าในอดีตมีการปลูกเฮมพ์กันอย่างแพร่หลาย เพื่อนำมาผลิตเชือก และเส้นใยใช้ในครัวเรือน เนื่องจากเส้นใยเฮมพ์มีความแข็งแรงกว่าเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น และพบว่ามีการนำมาใช้เป็นเส้นใยเสริมแรงในวัสดุผสม (Composite materials) เพราะมีความแข็งแกร่งและมีข้อดีหลายประการเมื่อเทียบกับเส้นใยแก้ว สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ กำจัดได้ง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Dhakal and Zhang, 2015)
“เฮมพ์” เป็นพืชล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น ต้องการน้ำน้อย แมลงศัตรูพืชน้อย จัดเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูงที่มีการดูแลรักษาไม่ยาก (Tang et al., 2016) และมีความสามารถในการทนต่อโรคราน้ำค้างได้ดีกว่าฝ้าย (Muzyczek, 2012) สำหรับอายุการเก็บเกี่ยวเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยประมาณ 90-120 วัน ซึ่งสภาพอากาศในประเทศไทยที่มีความเหมาะสม คือ บริเวณภาคเหนือและพื้นที่สูง จากข้อมูลของกองควบคุมวัตถุเสพติด (2561) พบว่า พื้นที่ในประเทศไทยมีการปลูกเฮมพ์มากทางภาคเหนือในเขตจังหวัดตาก เชียงราย น่าน และเชียงใหม่ (รูปที่ 1)
ประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ได้น้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมาย และความยุ่งยากในการดำเนินการขออนุญาตปลูก ทั้งที่ “เฮมพ์” เป็นพืชที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อีกทั้งในคู่มือของกองควบคุมวัตถุเสพติด (2561) ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกัญชง (Hemp) และกัญชา ทั้งในด้านกายภาพ และความเป็นยาเสพติด แต่ความกังวลในเรื่องการนำไปใช้ในลักษณะของยาเสพติดมีมากจนทำให้การใช้ประโยชน์ในด้านการสกัดสารสำคัญของเฮมพ์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงมีความยุ่งยากไปด้วย และเพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในด้านอี่นที่สามารถช่วยลดความกังวลในการนำไปใช้ในรูปยาเสพติด บทความนี้จึงขอนำเสนอ “รูปแบบ แนวทางการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์” ให้กับชุมชนและผู้สนใจ ให้เห็นถึงศักยภาพ และนวัตกรรมในการนำเฮมพ์ “กัญชง” ไปใช้ประโยชน์ที่หลากหลายด้าน ด้วยการประยุกต์องค์ความรู้ในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เต็มประสิทธิภาพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รูปที่ 1 การปลูกเฮมพ์ในพื้นที่ อ.แม่สอด จังหวัดตาก
การนำเฮมพ์ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความหลากหลายมาก แม้ว่าเฮมพ์จะไม่ได้เป็นวัสดุที่ดีที่สุด หากแต่เป็นทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์มากมาย ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านส่วนประกอบที่แตกต่างกันของสายพันธุ์ และการผลิตในรูปของเส้นใย เมล็ด และน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น เส้นใย วัสดุประกอบในการก่อสร้าง อาหาร และยารักษาโรค ในบทความนี้จะเน้นการใช้ประโยชน์ในรูปเส้นใย และวัสดุประกอบสำหรับการก่อสร้างเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากองค์ความรู้ในการสกัดเส้นใย และการพัฒนาวัสดุสำหรับใช้ในอาคารสามารถประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในประเทศไทยมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
เฮมพ์จัดเป็นพืชที่ให้เส้นใยจากส่วนของลำต้นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่าย สามารถมีความสูงได้ถึง 4 เมตร โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และยังมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนสูง องค์ประกอบที่สำคัญของเส้นใย คือ เซลลูโลสถึง 77 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่น ดังแสดงในตารางที่ 1 (รุ่งทิพย์ ลุยเลา, 2559) นอกจากนี้ เส้นใยเฮมพ์ (รูปที่ 2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเซลล์ 16-50 ไมโครเมตร ลูเมนแบนและกว้าง ความยาวของเส้นใยเดี่ยวประมาณ 2-90 มิลลิเมตร (ความยาวโดยเฉลี่ย 15 มิลลิเมตร) เส้นใยเดี่ยวมีผนังหนา และภาคตัดขวางเป็นรูปหลายเหลี่ยมมุมมน มุมมองตามแนวยาวของเส้นใยมีลักษณะคล้ายทรงกระบอก พื้นผิวไม่สม่ำเสมอ ปลายของเส้นใยค่อนข้างเรียว เส้นใยเฮมพ์ค่อนข้างหยาบกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยจากลำต้นแฟลกซ์ (Flax) ซึ่งใช้ผลิตผ้าลินิน จึงทำให้ยากต่อการฟอกสี
ตารางที่ 1 องค์ประกอบของเส้นใยเฮมพ์
เซลลูโลส | เพคตินอยู่ในส่วนของลาเมลลา (Lamellae) ทำหน้าที่ยึดเส้นใยให้รวมเป็นกลุ่ม | ขี้ผึ้ง (Wax) | ลิกนิน ช่วยให้เส้นใยมีความแข็งและเหนียว | ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น แทนนิน (Tannin) เรซิน ไขมัน และโปรตีน | ที่มา : ประยุกต์จาก (รุ่งทิพย์ ลุยเลา, 2559)
สำหรับในประเทศไทย ได้มีการสกัดเส้นใยเฮมพ์มาใช้ประโยชน์ ด้วยกระบวนการแยกเส้นใยตามภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยวิธีเชิงกลเป็นหลัก (รูปที่ 3) กล่าวคือ ชาวบ้านจะนำต้นเฮมพ์ที่ตัดเสร็จใหม่ ๆ ริดใบออกจนหมด นำมาบีบอัดลำต้นให้แตกออกแล้วลอกเส้นใยออกมาขณะที่ยังเป็นต้นสด ซึ่งสามารถช่วยให้การลอกเส้นใยทำได้ง่าย (รูปที่ 4) จากนั้นทำการตากเส้นใยไว้จนแห้งสนิทก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการทำเป็นเส้นด้ายต่อไป นอกจากนี้ การทำให้เส้นใยให้มีความยาวอย่างต่อเนื่องนั้น ชาวบ้านจะใช้วิธีการผูกปลายต่อกันด้วยมือ และใช้อุปกรณ์ปั่นด้ายช่วยในการตีเกลียว (รูปที่ 5)
เฮมพ์ ยังมีความสามารถในการดูดซับมลพิษ เช่น โลหะหนักจากดินที่ปนเปื้อนได้เป็นอย่างดีด้วย เฮมพ์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีปริมาณใบมากทำให้ช่วยควบคุม และกำจัดวัชพืชได้โดยไม่มีความจำเป็นในการใช้สารเคมี นอกจากนี้ ส่วนอื่น ๆ ของเฮมพ์ที่ไม่ใช่ส่วนของเส้นใย เช่น แกนลำต้นและใบ สามารถฝังกลบเป็นปุ๋ยธรรมชาติหรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น “วัสดุคอมโพสิต” เพื่อประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้าง การผลิตกระดาษ และแผ่นไม้อัดสำหรับการก่อสร้างอาคาร และเฟอร์นิเจอร์ได้ด้วย (Sponner et al., 2005) วัสดุคอมโพสิตที่เสริมด้วยเส้นใย (Fiber-Reinforced Composites; FRCs) ถูกพัฒนามากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และนำมาใช้ในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ และการก่อสร้าง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การเสริมแรงด้วยเส้นใยมีข้อดีหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อเสริมความแข็งแรงทางเชิงกลให้กับวัสดุประกอบ (Ramesh, 2018) การใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ในลักษณะของวัสดุประกอบเพื่อเสริมแรงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้หลากหลาย ด้วยลักษณะเฉพาะส่วนของเส้นใยเฮมพ์ที่มีลูเมนอยู่ตรงกลาง จึงทำให้เส้นใยเฮมพ์มีความหนาแน่นลดลง และมีสมบัติความเป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้ “เฮมพ์จึงได้รับความนิยมในการนำมาผสมเป็นวัสดุผสมเพื่อให้น้ำหนักเบา และใช้สำหรับเป็นฉนวนกันเสียง และความร้อนในรถยนต์” เฮมพ์ยังถูกนำไปใช้ในด้านวิศวกรรมโยธาเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง (Building materials) ใช้ผลิตเป็นวัสดุประสานสำหรับหลังคา แต่มีข้อเสียบางประการ คือ มีมอดูลัสสภาพยืดหยุ่น (Modulus of elasticity) ต่ำ ซึ่งเป็นค่าบอกระดับความแข็งเกร็งของวัสดุ แม้ว่าจะมีความสามารถในการดูดซับความชื้นสูง และแต่สามารถย่อยสลายได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นด่าง จึงมีความอ่อนไหวต่อการถูกทำลายทางชีวภาพในสภาพดังกล่าว หากแต่เส้นใยเฮมพ์มีความทนทานสูงกว่าเส้นใยเซลลูโลสทั่วไป จึงมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงได้มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้เส้นใยเฮมพ์ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นวัสดุเสริมแรงใช้ในวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับเส้นใยที่ได้จากแกนเฮมพ์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งมีความยาวอยู่ระหว่าง 5-10 มิลลิเมตร สามารถนำมาพัฒนา และใช้ประโยชน์เป็นส่วนผสมในวัสดุคอมโพสิตได้ (รุ่งทิพย์ ลุยเลา, 2559) การใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นวัสดุเพื่อการก่อสร้างที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งในปัจจุบัน คือ การพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างในรูปของเฮมพ์ครีต (Hempcrete) ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะการนำเฮมพ์ครีตมาใช้สำหรับเป็นผนังที่ไม่มีการรับน้ำหนักมาก ฉนวนปูพื้น และหลังคา และยังพบว่า ตัววัสดุมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี (Arrigoni et al., 2017) ดังนั้น เฮมพ์ครีต (Hempcrete) จึงเป็นวัสดุผสมทางชีวภาพที่ใช้สำหรับการก่อสร้าง โดยทั่วไปประกอบด้วยเศษแกนเฮมพ์ (Hurd) ตัวประสานและน้ำ มีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น การนำความร้อนต่ำ การเป็นฉนวนกันความชื้นที่มีประสิทธิภาพ และการดูดซับเสียงสูง ในขณะที่มีค่าการเก็บกักคาร์บอนสูงด้วยเช่นกัน จึงทำให้สามารถใช้เป็นผนังกั้นอาคารได้ดี (Dhakal et al., 2017) การใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ในประเทศไทยมีมานานแล้ว โดยเฉพาะในชุมชนท้องถิ่นของ “ชาวม้ง” ที่อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และตาก เป็นชุมชนที่มีการปลูกเฮมพ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือนตามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน และพบว่า ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนทำให้สามารถพัฒนาสิ่งทอ และวัสดุจากเฮมพ์ออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย มีการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ท้องถิ่นกับการประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติให้ตอบสนองกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ (รูปที่ 6-7) ตลอดจนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนา ด้วยแนวคิดในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ และวิธีการที่เหมาะสม มีความเข้าใจข้อจำกัดของวัสดุที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บนพื้นฐานของความรู้ ความเชี่ยวชาญที่ได้รับการถ่ายทอดหรือสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
นวัตกรรมการใช้เฮมพ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถตอบสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม และยังสามารถสร้างแนวทางให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาในรูปแบบของแนวคิดเศรษฐกิจแบบวงรอบ (Circular economy) ที่บูรณาการ และใช้กระบวนการพัฒนาให้การใช้ผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบและวัสดุหรือทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดตลอดเวลา ครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่วิธีการ วัฏจักรชีวิตของแหล่งทรัพยากรตามธรรมชาติ ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ บทความฉบับนี้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงการวิจัย เรื่อง “การปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ที่ปลูกในดินปนเปื้อนแคดเมียม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (RDG62T0053)” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 อันเป็นประโยชน์ต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้
แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้
ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ
กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ
สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมไทย
ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3 สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้ เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป
ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์ ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์
บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้ บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี |