บทความ: การสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสวนลุมพินี เขตปทุมวัน

บทคัดย่อ

โรงเรียนสวนลุมพินี ตระหนักถึงการจัดการขยะและได้นำแนวคิด 3Rs มาใช้ในการจัดการขยะในโรงเรียน โดยใช้วิธีการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและยั่งยืนด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) รวมถึงเพิ่มการคัดแยกขยะประเภทขยะเชื้อเพลิง และเน้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เพื่อสร้างพฤติกรรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิง (Recycle plus) ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มีการประยุกต์ระบบการคัดแยกขยะจากต้นแบบโครงการ Chula Zero Waste และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ป้ายและสติกเกอร์ติดถังขยะ รวมถึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ การแสดงละคร เกมทบทวนความรู้ และการอบรมแกนนำ นำไปสู่ความเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะ จากคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรม พบว่า ทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยในระยะหลังสูงกว่าระยะก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรม ดังนั้นการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ช่วยเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อม พฤติกรรมของครอบครัว และจิตสำนึกของนักเรียน นอกจากนี้การอบรมแกนนำ หรือตัวแทนห้องของนักเรียน เป็นการให้ความรู้เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะของนักเรียนภายในโรงเรียน สุดท้ายแม้จะมีกิจกรรมและการรณรงค์ จะไม่เกิดความยั่งยืนหากทางโรงเรียนมิได้มีการปฏิบัติและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง


ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 25.70 ล้านตันหรือ 70,411 ตัน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) กระจายตัวตามภูมิภาคต่าง ๆ มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร เฉลี่ยเท่ากับ 1.07 กิโลกรัม/คน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) โดยกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 12,890 ตัน/วัน ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 3,840 ตัน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดฉะเชิงเทรา แม้ว่าจะเป็นการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลแต่กระบวนการเก็บขนและฝังกลบยังสร้างความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และยังเป็นการจัดการขยะที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้จัดตั้ง “โครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตปทุมวัน เขตพญาไทและเขตหนองแขม” ขึ้น ด้วยแนวคิดที่ว่าการส่งเสริมให้แหล่งกำเนิดขยะมีระบบและการปรับพฤติกรรมในการลดและคัดแยกขยะ รวมถึงการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นทางนั้นเป็นหลักการจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับหลักการ 3R และหลักการลำดับขั้นในการจัดการขยะ (Waste Management Hierarchy) ที่ช่วยลดภาระงบประมาณและผลกระทบของการกำจัดขยะที่ปลายทางซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ใกล้บ่อขยะ โรงเรียนสวนลุมพินีเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งในโครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร

โดยปัญหาที่พบด้านการจัดการขยะของโรงเรียนสวนลุมพินี คือ ทางโรงเรียนมีระบบการจัดการขยะ โดยมีการคัดแยกขยะออกเป็น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล และประจำแต่ประจำชั้นจะมีการจัดการขยะ เป็นกล่องนม เศษเหลาดินสอ แต่ขยะที่มีการจัดการขยะนั้นยังไม่มีปลายทางที่ชัดเจน ทำให้ขยะ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อได้ ถึงแม้ทางโรงเรียนจะมีการจัดการขยะแล้วก็ตาม รวมทั้งโรงเรียนสวนลุมพินีมีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย จึงมีการนำเอาแนวคิด 3Rs ที่แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย มาใช้ในการจัดการขยะภายในโรงเรียน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากขยะ จากการลงพื้นที่ศึกษาองค์ประกอบขยะของโรงเรียนสวนลุมพินี พบว่า ขยะพลาสติกและโฟมมีปริมาณมากที่สุด ร้อยละ 38.85 โดยน้ำหนัก ซึ่งขยะเหล่านี้สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) ได้ หากมีการคัดแยกขยะประเภทนี้ไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงขยะ จะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions: GHG) และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้

โครงการนี้จึงได้เลือกใช้วิธีการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และยั่งยืนด้วยแนวทาง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นและนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 6-12 ปี รวมถึงการเพิ่มการคัดแยกขยะประเภทเชื้อเพลิงขยะเข้าไปในแผนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า โดยผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงไม่ว่าจะเป็นการอ่าน เขียน ตั้งคำถาม และอภิปรายร่วมกัน ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ซึ่งกระบวนการคิดขั้นสูงเป็นการจัดอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กิจกรรมอบรมแกนนำ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะรอบวง และกิจกรรมถามตอบ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ (1) เพื่อสร้างพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสวนลุมพินี ในการคัดแยกประเภทขยะอย่างถูกต้อง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิงขยะ (Recycle plus) ขยะอันตราย และขยะทั่วไป และ (2) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนในการคัดแยกขยะ ด้วยการอบรมแกนนำหรือตัวแทนห้องของนักเรียนชั้นประถม ศึกษา โรงเรียนสวนลุมพินี

ในระยะก่อนดำเนินโครงการได้มีการลงพื้นที่สำรวจและติดต่อประสานกับทางโรงเรียน ทำให้ ได้แนวทางในการเสริมสร้างพฤติกรรมการลดและคัดแยกขยะของนักเรียนร่วมกัน คือ การปรับระบบการคัดแยกขยะภายในโรงเรียนให้มีการแบ่งประเภทขยะแบบ Chula Zero Waste model ซึ่งแบ่งประเภทขยะออกเป็นขยะรีไซเคิล ขยะรีไซเคิลพลัส ขยะทั่วไป และขยะอาหาร ทั้งนี้ได้มีการรวมเอาขยะอันตรายที่ทางโรงเรียนมีอยู่เดิมเข้าไปในระบบการคัดแยกขยะ

โดยการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนในช่วงวัยนี้ จะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สื่อและกิจกรรมอย่างเหมาะสม โดยสื่อที่มีสีสัน มีความชัดเจน และกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม และมีเนื้อหาน่าติดตามอย่างเกม หรือละครจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือก ที่มีความน่าสนใจที่จะช่วยดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดตาม ทำให้ในโครงการนี้มีการเลือกใช้สื่อและกิจกรรมหลากหลายประเภท เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลดและคัดแยกขยะโดยประเภทของสื่อที่ถูกนำมาใช้จะประกอบไปด้วย ป้าย และสติกเกอร์ติดถังขยะ รวมถึงการเลือกใช้กิจกรรมอย่างเหมาะสมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะ

ในส่วนของสื่อที่ใช้ในการรณรงค์อันดับแรก คือ ป้ายที่ใช้ในการบอกประเภทของถังขยะแต่ละชนิด โดยป้ายจะมีการใช้รูปภาพตัวอย่างขยะที่เป็นรูปภาพจริง มีการระบุถึงลักษณะความแตกต่างกันของขยะในแต่ละประเภท เช่น การมีแถบแสดงระดับความสกปรกของขยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้รูปตัวการ์ตูนเพื่อดึงดูดความสนใจ และช่วยให้เข้าถึงเด็กในช่วงวัยนี้ได้ดีขึ้น (รูปที่ 1) อันดับถัดมา คือ สติกเกอร์ติดถังขยะที่ใช้ในการบอกประเภทของถังขยะแต่ละชนิด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตัวป้ายนั้นจะมีการลดทอนรายละเอียดลงโดยไม่ได้ใช้ภาพขยะจริง และมีข้อความกำกับชื่อของขยะแต่ละชนิด รวมถึงมีข้อความรณรงค์ให้ลดปริมาณขยะเพิ่มเข้ามาด้วย (รูปที่ 2) โดยตัวอย่างขยะทั้งบนป้ายและบนสติกเกอร์ จะเป็นขยะที่นักเรียนในโรงเรียนสวนลุมพินี มีความคุ้นเคยอยู่แล้วเนื่องจากเป็นขยะที่พบได้ทั่วไปในโรงเรียน

สำหรับบริเวณที่มีการติดตั้งถังขยะ ป้าย และสติกเกอร์ หลัก ๆ แล้ว จะเป็นบริเวณหน้าโรงอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ถังขยะทั่วไป ถังขยะรีไซเคิลพลัส และถังขยะรีไซเคิล และในโรงอาหารจะเป็นถังขยะสำหรับเศษอาหาร ส่วนถังขยะอันตรายจะถูกแยกไว้มุมหนึ่งของโรงเรียน (รูปที่ 3)

รูปที่ 1 ป้ายบอกประเภทถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิล (ข) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ค) ถังขยะทั่วไป (ง) ถังขยะอาหาร (จ) ถังขยะอันตราย

รูปที่ 2 สติกเกอร์บอกประเภทถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิล (ข) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ค) ถังขยะอาหาร (ง) ถังขยะทั่วไป

รูปที่ 3 การติดตั้งป้ายและถังขยะ

กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้นจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ตามไปด้วย ในที่นี้การเล่นละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ” ถือเป็นจุดศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามประเภทแบบ Chula Zero Waste model ที่จะตามมาด้วยกิจกรรมอันมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างการตอบคำถาม หรือกิจกรรมการเล่นเกมต่อไป โดยกิจกรรมจะประกอบไปด้วย

  1. กิจกรรมละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ”
  2. กิจกรรมเกม “ส่งขยะรอบวง”
  3. กิจกรรมตอบคำถามจากละคร
  4. กิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกนั้นมีการดำเนินการเป็นเวลารวมทั้งสิ้น 5 วัน โดยใช้คาบชมรม หรือช่วงหลังกิจกรรมหน้าเสาธง ในการดำเนินกิจกรรม (~15-30 นาที ต่อครั้ง) เนื้อเรื่องในละครตลอดทั้ง 5 วันนั้นจะเกี่ยวข้องกับถังขยะทั้ง 5 ประเภท ที่มีความต่อเนื่องชวนติดตามตลอด 5 วัน และตัวละครซึ่งเป็นถังขยะ แต่ละประเภทจะมีเรื่องราวเป็นของตัวเอง ที่จะถูกลงรายละเอียดมากน้อยต่างกันไปในแต่ละวัน เพื่อเน้นให้ แต่ละตัวละครมีบทบาทที่น่าจดจำ (รูปที่ 4)

ในวันที่ 1 จะเป็นเรื่องราวของตัวละครที่เป็นถังขยะรีไซเคิลพลัสซึ่งเป็นถังสำหรับขยะเชื้อเพลิง โดยนักเรียนและโรงเรียนสวนลุมพินียังไม่มีความคุ้นเคยกับขยะประเภทนี้ ทำให้กิจกรรมในวันแรกเลือกที่จะนำเสนอเกี่ยวกับถังขยะรีไซเคิลพลัสก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและเป็นการปูพื้นฐานความรู้ไปสู่กิจกรรมละครในวันต่อ ๆ ไป ต่อมาในวันที่ 2 จะเป็นการแนะนำถังขยะรีไซเคิลโดยเน้นไปที่ขวดพลาสติก (PET) และกระป๋องอลูมิเนียมที่สามารถนำไปขายเป็นรายได้ต่อไปได้ ส่วนในวันที่ 3 จะพูดถึงถังขยะอาหาร โดยเน้นไปที่การแยกเศษอาหารที่สามารถนำไปทำปุ๋ยหรือเป็นอาหารปลาต่อไปได้ ในวันที่ 4 นั้นจะเป็นการแนะนำถังขยะทั่วไป โดยจะเน้นไปที่การแยกขยะออกเป็นสามประเภทแรกก่อน หากขยะมีความสกปรกมาก จึงจะทิ้งที่ถังขยะทั่วไป สุดท้ายในวันที่ 5 จะพูดถึงขยะอันตราย ที่แม้นักเรียนจะไม่ได้พบเจอในทุก ๆ วันก็ตาม แต่ต้องรู้และทิ้งได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ตัวบทละครจะมีการเลือกใช้คำที่ทันสมัยและมีการเลือกใช้สถานการณ์สมมติเป็นเหตุการณ์ในโรงเรียนด้วย เพื่อให้เข้าถึงเด็กในช่วงวัยนี้ที่เป็นวัยเรียน และพบเจอเรื่องราวและสถานการณ์ใกล้เคียงกับในละคร (รูปที่ 5)

รูปที่ 4 ลักษณะของตัวละครถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ข) ถังขยะทั่วไป (ค) ถังขยะอาหาร (ง) ถังขยะอันตราย (จ) ถังขยะรีไซเคิล

รูปที่ 5 กิจกรรมละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ”

ด้วยเนื้อหาในบทละครที่มีความเกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะ รวมถึงการให้ความรู้และการแนะนำถังขยะแต่ละประเภท ทำให้เนื้อหาเหล่านี้ถูกนำมากล่าวถึงในกิจกรรมอื่นที่ทำการดำเนินการต่อเนื่องกันอย่างกิจกรรมตอบคำถามจากละคร และกิจกรรมเกม “ส่งขยะรอบวง” ที่จะจัดนักเรียนให้นั่งเป็นวงกลมแล้วมีการส่งรูปภาพตัวอย่างขยะที่ถูกอ้างถึงในบทละคร ต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อภาพไปหยุดที่ใครจะต้องตอบว่าขยะชิ้นนั้นต้องถูกทิ้งลงในถังขยะประเภทไหน ทำให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เห็นตัวอย่างขยะและเกิดการคิดระหว่างที่ทำกิจกรรม เพื่อแยกประเภทขยะนั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเกิดการคิดตามไปด้วย อย่างเช่นการตอบคำถามจากละครเพื่อแลกของรางวัล หรือการใช้บทละครที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการโต้ตอบกับผู้แสดง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมมีความตั้งใจ จดจ่อ และคิดตามไปกับบทละคร จนนำไปสู่การเกิดความเข้าใจ และรับรู้ถึงความสำคัญในการลดและคัดแยกขยะ อันเป็นส่วนประกอบในการเกิดพฤติกรรม การลดและคัดแยกขยะต่อไป

รูปที่ 6 กิจกรรมเกมส์ “ส่งขยะรอบวง”

รูปที่ 7 รูปภาพตัวอย่างขยะที่ถูกใช้ในกิจกรรมเกมส์ “ส่งขยะรอบวง”

รูปที่ 8 กิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

จากการศึกษาองค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ ของโรงเรียนสวนลุมพินี พบว่า องค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้ที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ขยะอินทรีย์ขยะพลาสติก ขยะอื่น ๆ กระดาษ และมูลฝอยจากสวน แต่มีสัดส่วนขององค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้ที่แตกต่างกัน โดยก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีน้ำหนักขยะทั้งหมด 2.23 กิโลกรัม ซึ่งพบขยะพลาสติกสูงที่สุด ร้อยละ 32.48 รองลงมา คือ ขยะอื่น ๆ ร้อยละ 23.52 รองลงมา คือ กระดาษ ร้อยละ 23.16 รองลงมา คือ ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 12.77 และรองลงมา คือ มูลฝอยจากสวน คือ ร้อยละ 3.81 และหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีน้ำหนักขยะทั้งหมด 6.50 กิโลกรัม ซึ่งพบขยะอินทรีย์สูงที่สุด ร้อยละ 45.94 รองลงมา คือ ขยะอื่นๆ ร้อยละ 26.40 รองลงมา คือ ขยะพลาสติก ร้อยละ 17.21 รองลงมา คือ มูลฝอยจากสวน ร้อยละ 4.96 และรองลงมา คือ กระดาษ คือ ร้อยละ 4.49 ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ องค์ประกอบขยะมีทิศทางที่เปลี่ยนไป โดยพบขยะอินทรีย์ ขยะพลาสติก มูลฝอยจากสวน และขยะอื่น ๆ พบในปริมาณสูงขึ้น ยกเว้นขยะประเภทกระดาษที่มีปริมาณลดลง เนื่องจากวันที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลังได้รับความรู้จากกิจกรรม เป็นวันที่โรงเรียนที่การจัดงานที่มีการจัดเบรก มีดอกไม้ไหว้พระ รวมทั้งโรงเรียนสวนลุมพินีพึ่งกลับมาเปิดการเรียนการสอน จึงอาจทำให้ทางโรงเรียนยังไม่มีเวลากลับมาดูแลและกวดขันให้นักเรียนคัดแยกและทิ้งขยะให้ถูกต้อง จึงทำให้ขยะทุก ๆ ประเภทมีปริมาณสูงขึ้น โดยแนวทางแก้ไข คือ ให้ทางโรงเรียนมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับป้ายบอกประเภทถังขยะ ประเภทของถังขยะ และตัวอย่างประเภทขยะ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามประเภทถังขยะ รวมทั้งกระตุ้นการจัดทำกิจกรรมรณรงค์ในแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้กับนักเรียนในโรงเรียนสวนลุมพินี เพื่อสามารถนำขยะไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง และลดปริมาณขยะที่ลมไปสู่หลุมฝังกลบ ซึ่งองค์ประกอบขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียนสวนลุมพินีนั้น ต้องมีระบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และจัดหาปลายทางเพื่อนำไปสู่การนำขยะไปใช้ประโยชน์ต่อซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง ที่ไปสู่หลุมฝังกลบ โดยปัจจัยที่ทำให้การจัดการขยะในโรงเรียนประสบความสำเร็จ คือ ทางผู้บริหาร และบุคลากรของโรงเรียนสวนลุมพินีมีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้และรณรงค์ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่องโดยยึดหลักลำดับขั้นการจัดการขยะ (Waste Management Hierarchy) เริ่มจากการลดหรือป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง แต่ถ้ามีข้อจำกัดไม่สามารถลดหรือป้องกันการเกิดขยะได้ควรคัดแยกขยะ เพื่อนำไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล และสำหรับขยะที่รีไซเคิลไม่ได้จึงนำไปแปรรูปเป็นพลังงาน เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะฝังกลบเป็นศูนย์

และจากการทดสอบและประเมินผล เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ตารางที่ 1) พบว่า ทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ สูงกว่า ก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.34 และในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-4 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีคะแนนเฉลี่ยเท่าเดิม เนื่องจากเป็นระดับชั้นในวัยเด็กโต จึงอาจมีความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมาก่อน ทำให้คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมมีค่าไม่แตกต่างกัน

รูปที่ 9 องค์ประกอบมูลฝอยสด ก่อนการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการ ฯ (ร้อยละโดยน้ำหนักเปียก)

รูปที่ 10 องค์ประกอบมูลฝอยสด หลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการ ฯ (ร้อยละโดยน้ำหนักเปียก)

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบน้ำหนักขยะทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการฯ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการฯ

หากพิจารณาจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม (10 คะแนน) จากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากกิจกรรมโครงการฯ (ภาพที่ 9) พบว่า ก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีเพียงชั้นประถมคึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน เท่านั้น ในขณะที่หลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีนักเรียนได้คะแนนเต็มในทุกระดับชั้น โดยระดับชั้นที่มีจำนวนคนตอบได้คะแนนเต็มมากที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 38.60 จากจำนวนคนทั้งหมด และระดับชั้นที่มีจำนวนคนตอบได้คะแนนเต็มน้อยที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.6 จากจำนวน คนทั้งหมด เนื่องจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีตำแหน่งการรับชมที่ใกล้ชิดกับคณะผู้จัดทำในขณะแสดงละครให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ซึ่งชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 เนื่องด้วยวัยที่โตกว่า จึงทำให้มีสมาธิในการรับความรู้ที่คณะผู้จัดทำถ่ายทอดออกไปได้ดีกว่า อีกทั้ง จากการศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม พบว่า เด็กอายุในช่วง 8-9 ปี มีทัศนคติและความรู้ที่นำไปสู่การแสดงออก เชิงพฤติกรรมที่ยั่งยืนมากกว่าวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (Sorokowska, Marczak et al. 2020) และเนื่องด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บางส่วนมีการติวสอบ O-net จึงทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมทำแบบทดสอบในระยะหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯได้ จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระยะหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯต่ำกว่าในระยะก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีจำนวนนักเรียน เท่ากับ 10 คน ในขณะที่หลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีจำนวนนักเรียน เท่ากับ 38 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 35.7 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมากขึ้นหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ

รูปที่ 11 เปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม (10 คะแนน) จากแบบสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ

ผลแบบทดสอบความพึงพอใจโครงการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน โดยการหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ (Poraiwan, 2564) พบว่า ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 94.35 โดยหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเรียงลำดับเนื้อหา ในการให้ความรู้ได้อย่างถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 97.50 เนื่องจากคณะผู้จัดกิจกรรมแบ่งเนื้อหาการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ ตามประเภทของถังขยะในแต่ละวัน จึงทำให้ไม่เกิดความสับสนและเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง และหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ความเหมาะสมของระยะเวลาที่จัดกิจกรรม อยู่ที่ร้อยละ 90.00 เนื่องจากระยะเวลาที่จำกัด ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาบางส่วนไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ส่วนในด้านความเหมาะสมสื่อของคณะผู้จัดกิจกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 92.76 โดยหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของคณะผู้จัดกิจกรรมอยู่ที่ร้อยละ 93.80 เนื่องจากมีสื่อ อุปกรณ์ และการแต่งกายประกอบการแสดงละครการคัดแยกขยะที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาสามารถเข้าใจและเข้าถึงความรู้ได้ง่ายมากขึ้น และหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ความรู้ ความสามารถของคณะผู้จัดกิจกรรมอยู่ที่ร้อยละ 91.60 เนื่องจากในช่วงถาม-ตอบหลังแสดงละครในแต่ละวัน ยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาบางส่วนที่ยังตอบคำถามไม่ถูกต้อง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่าความพึงพอใจ อยู่ในระดับร้อยละ 90 ขึ้นไป แสดงถึงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อกิจกรรมของโครงการฯ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (เกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด > ร้อยละ 80-100)

จากการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวทาง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระหว่างวันที่ 8 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของถังขยะ 5 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิงขยะ และขยะอันตราย ผ่านรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะ รอบวง และกิจกรรมอบรมแกนนำ ซึ่งหลังการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน ผู้จัดกิจกรรมได้มีกิจกรรมถามตอบกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและเป็นการทบทวนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ จากการสังเกตพบว่า นักเรียนให้ความสนใจกับกิจกรรม มีส่วนร่วมกับผู้จัดกิจกรรมและมีความตั้งใจในการตอบคำถาม โดยในช่วงแรกของการจัดกิจกรรมนักเรียนยังมีความไม่มั่นใจในการตอบคำถาม แต่เมื่อดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน นักเรียนตอบคำถามได้อย่างมั่นใจและชัดเจนมากขึ้น ทำให้ผู้จัดสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนเปรียบเทียบกับวันแรกที่ดำเนินกิจกรรม ทำให้การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องส่งผลกับพฤติกรรมของนักเรียนในการตอบคำถามและมีส่วนร่วมกับกิจกรรม แต่ในแง่ของพฤติกรรมการคัดแยกขยะอาจจะยังไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เนื่องจากต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน และสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการคัดแยกขยะก็มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน และหลังการดำเนินโครงการผ่านไป 2 สัปดาห์ได้มีการสำรวจการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยการสังเกตขยะในถังแต่ละประเภท พบว่า มีขยะที่ยังทิ้งไม่ถูกต้องตามประเภทของถังขยะ และจากการสัมภาษณ์แกนนำนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่คัดแยกขยะได้ถูกต้อง แต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 บางคนยังทิ้งได้ไม่ถูกต้อง สำหรับการประเมินผลโครงการได้มีการประเมินผลกิจกรรมโดยการ ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ทำแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะก่อนและหลังที่ได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการ พบว่าการทำแบบทดสอบก่อนดำเนินโครงการนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแยกขยะและการแยกประเภทของถังขยะ โดยทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ สูงกว่าก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 คะแนน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน การจัดกิจกรรมผ่านรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะรอบวง และกิจกรรมอบรมแกนนำ เป็นต้น ช่วยส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะได้มากขึ้น

นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะจากโรงเรียนสวนลุมพินี ดังนี้ หากมีการจัดกิจกรรมแบบแยกระดับ ชั้นเรียนจะช่วยให้เข้าถึงนักเรียนทุกระดับชั้นได้มากขึ้น โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ที่ยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้องตามประเภทถังขยะ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจมากกว่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ซึ่งมีความสามารถในการทำความเข้าใจได้มากกว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และป้ายถังขยะที่ติดถังขยะมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ทำให้นักเรียนสามารถสังเกตป้ายและทิ้งขยะได้ถูกต้องมากขึ้น และการปรับพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียนมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของครอบครัว และจิตสำนึกของนักเรียนที่มีต่อการคัดแยกขยะ นอกจากนี้การอบรมแกนนำ หรือตัวแทนห้องของนักเรียนเป็นการให้ความรู้ เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม นำความรู้ที่ได้ไปใช้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะของนักเรียนภายในโรงเรียน สุดท้ายแม้จะมีกิจกรรมและการรณรงค์แล้วก็ตาม แต่จะไม่เกิดความยั่งยืนเลยหากทางโรงเรียนมิได้มีการปฏิบัติ และสนับสนุนต่อไป ดังนั้นแล้วกิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนจึงถูกจัดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ สำหรับการอบรมแกนนำนั้นจะเป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างจิตสำนึก และความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของขยะที่มีรายละเอียดมากกว่ากิจกรรมหน้าเสาธงให้กับกลุ่มตัวแทนนักเรียน โดยเนื้อหาของการอบรมจะประกอบไปด้วย การชี้ให้เห็นภาพรวมของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการไม่แยกขยะ การแนะนำประเภทของถังขยะที่ถูกนำมาวางระบบในโรงเรียน รวมถึงปลายทางและการจัดการขยะที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังมีการชี้แนะแนวทาง การปฏิบัติหน้าที่ของแกนนำนักเรียนในการช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมการลดและคัดแยกขยะของนักเรียน ในโรงเรียนสวนลุมพินีต่อไปในอนาคตหลังจากกิจกรรมได้สิ้นสุดลงไปแล้ว

กิตติกรรมประกาศ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2308435 การสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 โดยการดำเนินการโครงการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “โครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตปทุมวัน เขตพญาไทและเขตหนองแขม” โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมี ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี จากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและให้โอกาสผู้ดำเนินโครงการได้ทำส่งดี ๆ ในครั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ และ ขอขอบพระคุณท่านผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ และคณาจารย์ โรงเรียนสวนลุมพินี ที่ให้ความร่วมมือ และคําปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมถึงสละเวลาในการทํากิจกรรมและแบบสอบถามสำหรับโครงการนี้ ขอขอบคุณน้อง ๆ นิสิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย ที่มีส่วนร่วมมาช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกขยะในโรงเรียน สุดท้ายขอขอบคุณน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนสวนลุมพินีที่ให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรม และการทําแบบสอบถามเรื่องการคัดแยกขยะและความพึงพอใจต่อกิจกรรมจนทําให้โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

Sorokowska, A., M. Marczak, M. Misiak, M. M. Stefanczyk and P. Sorokowski (2020). "Children older than five years do not approve of wasting food: An experimental study on attitudes towards food wasting behavior in children and adults." Journal of Environmental Psychology 71: 101467.

Poraiwan. การหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ. สืบค้นจาก : http://www.poraiwan.go.th/site/attachments/article/463/การหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก : https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2565

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก : https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/04/pcdnew-2023-04-11_03-13-24_292638.pdf


บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: “ไมโครไฟเบอร์” มลสารที่พบในกระบวนการบำบัดน้ำเสียชุมชน

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี