การอ้างอิง: สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ, พัชชาพันธ์ รัตนพันธ์, เบญจวรรณ ชัยศรี, อาทิตย์ เพ็ชร์รักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการระบุพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 25 (ฉบับที่ 2).
บทความ: ปัจจัยที่มีผลต่อการระบุพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ทรัพยากรน้ำเป็นปัญหาที่สำคัญในภาคตะวันออก ซึ่งสามารถแยกปัญหาได้ 3 ส่วน คือ (1) การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เช่น เมืองพัทยาจะขาดน้ำประปาในฤดูแล้ง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรม และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมาก ทั้งภาคเกษตร ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และน้ำรักษาระบบนิเวศ (2) ปัญหาน้ำท่วม โดยเมืองพัทยา ชลบุรี สระแก้ว ประสบกับปัญหาน้ำท่วมชุมชนเมื่อฝนตกหนัก (3) คุณภาพน้ำ ทั้งในส่วนของน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสีย น้ำเค็มจากแม่น้ำบางปะกงที่หนุนจนถึงจังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนั้นยังมีการคาดการณ์จำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2580 ภาคตะวันออกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 6 ล้านคนเป็น 8 ล้านคน และในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจะมีประชากรเพิ่มจาก 4 ล้านคนเป็น 6 ล้านคน จึงต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องน้ำ
ตารางที่ 1 สถิติข้อมูลภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรีระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2563
ปี |
จำนวนครั้งที่เกิดภัยแล้ง (ครั้ง) |
พื้นที่ประสบภัย (อำเภอ) |
จำนวนครัวเรือนที่ประสบภัย (ครัวเรือน) |
มูลค่าความเสียหาย (บาท) |
2555 | 1 | 9 | 290,861 | 36,509,140 |
2556 | 1 | 1 | 1,998 | 1,500,000 |
2557 | 1 | 1 | 1,998 | 4,000,000 |
2558 | 1 | 1 | 1,998 | 4,000,000 |
2559 | 1 | 1 | 2,029 | 4,000,000 |
2560 | - | - | - | - |
2561 | - | - | - | - |
2562 | 2 | 2 | 2,935 | >2,574,000 |
2563 | 8 | 3 | 5,701 | >25,338,000 |
ตารางที่ 2 การประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (ภัยแล้ง) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563
อำเภอ | จำนวน (ครั้ง) | ||
2561 | 2562 | 2563 | |
เกาะสีชัง | - | 1 | 1 |
หนองใหญ่ | - | - | 1 |
พนัสนิคม | - | - | 8 |
รวม | - | 1 | 10 |
ในส่วนของจังหวัดระยอง ข้อมูลสถิติภัยแล้งรายงานย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2559 พบว่า จำนวนภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยองมีประมาณ 4 – 17 ครั้ง ในพื้นที่ 2 – 7 อำเภอ และมีมูลค่าเสียหายสูงถึง 22,931,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2557 (ตารางที่ 3) ขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2560 หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งไว้ 7 อำเภอ ดังนี้ อำเภอเขาชะเมา ได้แก่ ตำบลห้วยทับมอญและตำบลน้ำเป็น อำเภอแกลง ได้แก่ ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง ได้แก่ ตำบลหนองตะพานและตำบลหนองบัว อำเภอวังจันทร์ ได้แก่ ตำบลวังจันทร์และตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอบ้านฉาง ได้แก่ ตำบลสำนักท้อน อำเภอปลวกแดง ได้แก่ ตำบลปลวกแดง ตำบลหนองไร่และตำบลมาบยางพร และ อำเภอนิคมพัฒนา ได้แก่ ตำบลมาบข่า ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลพนานิคมและตำบลมะขามคู่ เป็นต้น
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัยแล้ง (ครั้ง) พื้นที่ประสบภัย (อำเภอ) จำนวนครัวเรือน ที่ประสบภัย (ครัวเรือน) มูลค่าความเสียหาย (บาท) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ โดยใช้แผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้น เป็นส่วนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำ โดยเฉพาะการขุดลอกแหล่งน้ำเดิม ขุดบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้ครอบคลุมมากขึ้น ระยะกลางเป็นส่วนของการพัฒนาโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิม เช่นที่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จังหวัดชลบุรี โดยดำเนินการขุดลอกคลองหลวงรัชชโลทร และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทรไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ ในการสนับสนุนการอุปโภค – บริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติภัยแล้ง รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำคลองหลวงฯ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มระดับเก็บกักทำให้การใช้น้ำมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น ในส่วนของระยะยาว มีแผนขับเคลื่อนตั้งแต่ ปี 2563 – 2580 รวม 38 โครงการ ซึ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำต้นทุนในพื้นที่แหล่งน้ำนอกลุ่มน้ำ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำบาดาล รวมถึงพัฒนาน้ำจืดจากน้ำทะเล โดยคำนึงถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมาใช้ในการพัฒนาโครงการด้วย จากการสัมภาณ์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เพื่อกำหนดความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่กรณีศึกษารายปัจจัย อาศัยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยแบบรายคู่ (Pairwise Analytic Hierarchy Process) พบว่าความสำคัญของปัจจัยเรียงลำดับ ตามค่าคะแนนของปัจจัยจากมากไปน้อย ดังต่อไปนี้ ปริมาณน้ำบาดาล ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี การระบายน้ำของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ภัยแล้งในอดีตในรอบ 10 ปี และความลาดชันของพื้นที่ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้ฝนตกน้อยลงและปริมาณน้ำที่สะสมในแหล่งกักเก็บมีน้อยลง เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ปศุสัตว์และครัวเรือนที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำและการจัดการปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ในการนี้ การศึกษาถึงผลกระทบของภัยแล้งที่มีต่อภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม การใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ คุณภาพน้ำสำหรับทำการเกษตรซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการรุกล้ำของน้ำทะเลและน้ำเค็ม การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ตลอดจน ประเด็นความขัดแย้งของชุมชนในภาวะขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคในช่วงภัยแล้ง เป็นต้น จึงจำเป็นสำหรับการวางแผนเผชิญเหตุต่อปัญหาภัยแล้งในระดับต่าง ๆ อย่างไรก็ดี การดำเนินงานในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นนับเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพการรับมือและบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อีกด้วย ในขณะที่จังหวัดระยอง ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยองซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกใช้สำหรับครัวเรือน ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำประแสร์หรือการริเริ่มโครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรีไปยังแหล่งเก็บกักน้ำจังหวัดระยอง จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการรับมือกับภาวะภัยแล้งและเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก อนึ่ง การพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณลุ่มน้ำประแสร์ยังมุ่งหวังให้มีน้ำเพียงพอต่อพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม และเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองสำหรับนิคมอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก สำหรับประเด็นงานวิจัยที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาภัยแล้งและการปรับตัวของภาคเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การศึกษาเชิงลึกรายภาคส่วน (Sector) อาทิ ผลกระทบของภัยแล้งที่มีต่อ Zoning ของพืชในพื้นที่ ผลกระทบต่อพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน การคัดเลือกสายพันธุ์พืช รวมถึง ประเด็นความต้องการของผู้ใช้น้ำแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะครัวเรือน ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจน ภาคการท่องเที่ยวและบริการ โดยการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการและเป็นระบบโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนต่อไป
ปี
2555
17
7
16,357
12,683,000
2556
4
2
5,349
11,137,000
2557
10
5
18,349
22,931,000
2558
-
-
-
-
2559
-
-
-
-
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ส่งเสริม ววน.)