บทความ: “ขยะพลาสติกจากการสั่งอาหารออนไลน์” สถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไข (ตอนที่ 1)
ปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสะดวกสบายได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคยุคใหม่ ธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ (online food delivery) หรือการสั่งอาหารออนไลน์เป็นหนึ่งในธุรกิจใหม่ภายใต้เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม (Platform Economy) ที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจนี้มีอัตราการเติบโตสูงทั่วโลกด้วยจุดขายที่จูงใจผู้บริโภคผ่านการนำเสนอทางเลือกใหม่ ๆ ในการรับประทานอาหาร Statista (2020) ประเมินว่าในปีพ.ศ. 2563 ธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 4,136,178 ล้านบาท สำหรับในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปีพ.ศ. 2561 ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์มีมูลค่าตลาดสูงถึง 35,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต ร้อยละ 14 จากปีก่อน (Kasikorn Research Center, 2019) อย่างไรก็ดี ด้วยลักษณะของธุรกิจที่เป็นการสั่งอาหารผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้ผู้บริโภคลดขยะได้ที่ต้นทาง แตกต่างจากการไปซื้ออาหารที่ร้านด้วยตนเองที่ผู้บริโภคสามารถนำภาชนะส่วนตัวไปใส่อาหารและเครื่องดื่มเพื่อลดการสร้างขยะบรรจุภัณฑ์ได้ อีกทั้งธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการบริโภควิถีใหม่มากจนเกินไปด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นส่วนลดค่าอาหารต่างๆ เมื่อผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารออนไลน์แทนการออกไปทานที่ร้านอาหาร สิ่งที่ตามมา คือ ปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์จำนวนมหาศาล ส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ กล่องพลาสติก แก้วพลาสติก ช้อนส้อม หลอด ถุงพลาสติก อีกทั้งยังมีซองเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่หลายครั้ง ผู้บริโภคไม่ได้ใช้และมักจะถูกทิ้งในท้ายที่สุด ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้น คือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมิได้มีการคัดแยกขยะที่ต้นทางและยังขาดระบบรองรับการเก็บขยะแบบแยกประเภทในเมืองใหญ่ ทำให้ขยะพลาสติกถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่คาดการณ์ปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในระดับประเทศ งานวิจัยที่พบเป็นการรายงานในเชิงพื้นที่และการคาดการณ์เบื้องต้นของภาคเอกชน ได้แก่ การสำรวจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (2562) ซึ่งประเมินว่าขยะพลาสติกจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์จะสูงถึง 37 ล้านชิ้นต่อปี นอกจากนี้ บริษัท Food Passion คาดการณ์ว่าปริมาณขยะจากการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่มีจำนวน 560 ล้านชิ้นต่อปี (Jitpleecheep, 2019) ในอีกด้านหนึ่ง มีการรายงานข้อมูลขยะพลาสติกที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บได้โดยเปรียบเทียบข้อมูลในช่วงก่อนและหลังโควิด-19 พบว่าปริมาณขยะพลาสติกที่จัดเก็บได้ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2563 เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2562 ถึงร้อยละ 62 และสัดส่วนขยะพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลได้ลดน้อยลง ในขณะที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ปนเปื้อนเศษอาหารเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการคัดแยกขยะ ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ที่จัดเก็บได้เป็นขยะประเภทถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงร้อนใส่อาหาร กล่องอาหาร ขวดน้ำ และแก้วน้ำ ดังแสดงในตารางที่ 1
ปริมาณขยะพลาสติก ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละของปริมาณขยะพลาสติก ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ ผู้วิจัยจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลสถิติต่าง ๆ เพื่อประกอบการคาดการณ์ในเบื้องต้น เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่มีการเปิดเผยข้อมูลยอดคำสั่งซื้ออาหารออนไลน์ โดยผู้วิจัยคาดการณ์จากมูลค่าตลาดของธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ที่ประเมินโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งมีมูลค่า 33,000 – 35,000 ล้านบาท (Kasikorn Research Center, 2019) โดยมีสมมติฐานดังต่อไปนี้ แม้ธุรกิจบริการส่งอาหารจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวมในแง่การตอบสนองความสะดวกสบายของผู้บริโภคและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยกลยุทธ์การตลาดของแพลตฟอร์มมุ่งเน้นส่งเสริมการบริโภคนิยม (consumerism) มีการส่งเสริมการขายที่ให้ส่วนลดค่าอาหารและอุดหนุนค่าจัดส่งเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และผู้บริโภคมิได้ตระหนักถึงผลกระทบเชิงลบของการบริโภคที่มากเกินควร เนื่องจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เสนอผ่านแพลตฟอร์มยังมิได้คิดรวมต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า “ผลกระทบภายนอกเชิงลบ” (Negative Externality) ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกและขยะอาหาร (ไม่นับรวมมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งที่มากขึ้น) นำไปสู่พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ยั่งยืนจากการสั่งอาหารออนไลน์ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? จากการทบทวนมาตรการแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในต่างประเทศ สามารถสรุปได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือมาตรการที่มุ่งแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจนี้เป็นการเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่เป็นความพยายามของผู้ประกอบการแพลตฟอร์มเอง ส่วนที่สอง คือ มาตรการของรัฐที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในภาพรวมของสังคมและมีผลต่อธุรกิจดังกล่าวโดยอ้อม ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น การห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือการกำหนดให้ร้านค้างดแจกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งฟรี รวมไปถึงการกำหนดให้ประชาชนต้องมีการคัดแยกขยะและส่งคืนขยะบรรจุภัณฑ์เข้าสู่ระบบเก็บรวบรวมเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกต้อง 3.1 มาตรการที่มุ่งแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจนี้เป็นการเฉพาะ เป็นมาตรการที่ป้องกันหรือลดขยะพลาสติกที่ต้นทางของธุรกิจ คือ ร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือหรือการกระตุ้นจากแพลตฟอร์ม จำแนกได้เป็น 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการลดการใช้ มาตรการใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือก และมาตรการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ ดังตารางที่ 2
ขยะพลาสติก
สถานการณ์ปกติ
(ม.ค.-เม.ย. 2562)สถานการณ์โควิด-19
(ม.ค.-เม.ย. 2563)
ขยะพลาสติกทั้งหมด
2,115
3,432.3
1,317.3
62.3
ขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้
495 (23%)
659.8 (20%)
164.8
33.3
ขยะพลาสติกปนเปื้อนเศษอาหาร
1,620 (77%)
2,772.5 (80%)
1,152.5
71.1
1) อัตราการเติบโตของธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์อัตราการเติบโตในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 14 เทียบกับปีก่อนหน้า สำหรับในปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ
โควิด-19 ผู้วิจัยกำหนดอัตราการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ร้อยละ 100 ส่วนปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 30 และ 20 ตามลำดับ และหลังจากปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 10 ต่อปี
2) จำนวนยอดคำสั่งซื้อ อ้างอิงข้อมูลจาก Food Passion ที่กำหนดให้มูลค่าการสั่งซื้อต่อครั้งอยู่ที่ 250 บาทโดยเฉลี่ย โดยนำมูลค่าการตลาดหารด้วยมูลค่าการสั่งซื้อเฉลี่ยต่อครั้งได้เป็นจำนวนยอดคำสั่งซื้อต่อปี
3) คาดการณ์จำนวนขยะพลาสติก ในส่วนนี้ กำหนดให้มีการประเมินขั้นต่ำและขั้นสูง ขั้นต่ำ อ้างอิงการคำนวณของ Food Passion ที่กำหนดให้ปริมาณขยะพลาสติกอยู่ที่ 4 ชิ้นต่อคำสั่งซื้อ ส่วนขั้นสูง อ้างอิงผลการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ (2563) ที่ผู้บริโภคประเมินว่ามีขยะพลาสติกเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 11 ชิ้นต่อคำสั่งซื้อ
จากการตั้งสมมติฐานข้างต้น สามารถคาดการณ์ปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยในปีพ.ศ. 2563 อยู่ที่ 1,120 - 3,080 พันล้านชิ้น และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2,325 – 6,395 พันล้านชิ้น ในปีพ.ศ. 2568 คิดเป็นน้ำหนัก 34,883 – 95,928 ตัน (คิดจากสมมติฐานขยะพลาสติก 1 ชิ้นน้ำหนักเฉลี่ย 15 กรัม) ซึ่งตัวเลขน้ำหนักขยะพลาสติกขั้นสูงดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.8 ของปริมาณขยะพลาสติกกลุ่มเป้าหมายที่เกิดขึ้นทั้งประเทศประมาณ 2 ล้านตันที่กรมควบคุมมลพิษได้คาดการณ์ไว้ (กรมควบคุมมลพิษ, 2563)
ที่มา: คาดการณ์โดยผู้วิจัย
แพลตฟอร์มทั่วโลก มีการเพิ่มฟังก์ชั่นรับ-ไม่รับช้อนส้อมในแอปพลิเคชั่นทั้งในรูปแบบ opt-in และ opt-out โดยหากเป็น Opt-in ระบบจะตั้งค่าไม่ให้ช้อนส้อมก่อน แต่หากต้องการ ให้กดเลือกรับได้ -Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง ให้คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เลือกไม่รับช้อนส้อมเป็นประจำ -Meituan Waimai แพลตฟอร์มรายใหญ่ในประเทศจีนมีนโยบายในการสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคเกี่ยวกับ การแยก การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับจากการสั่งอาหาร นอกจากนี้ ยังมีระบบสะสมคะแนนสำหรับลูกค้า ที่ไม่รับช้อนส้อม แพลตฟอร์มสามารถดำเนินการได้ทันที โดยปรับเปลี่ยนระบบในแอปพลิเคชั่น ในแง่สิ่งแวดล้อม กรณี Opt-out ลูกค้าต้องเลือกกดไม่รับช้อนส้อม จะทำให้ลดขยะพลาสติกได้ค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากลูกค้า ส่วนใหญ่จะสั่งอาหารตามความเคยชิน ส่วนกรณี Opt-in หรือ “ขอก่อนค่อยให้” จะช่วยลดช้อนส้อมพลาสติกได้มากกว่า แต่อาจไม่ได้ผล หากแพลตฟอร์มไม่มีการสื่อสารกับ ร้านอาหารอย่างจริงจัง เนื่องจากร้านอาหารมักจะให้มาด้วยความเคยชินหรือป้องกันการร้องเรียนจากลูกค้า ส่งเสริมให้ร้านอาหารเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม -Deliveroo ในประเทศอังกฤษจัดหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับอาหารหลายประเภทและจำหน่าย ให้ร้านเครือข่ายในราคาถูก -Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ร่วมมือกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ในร้านค้าเครือข่าย ทั้งหมดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น -Meituan Waimai ร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางเลือก -บรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติก ยังมีราคาแพง (หรือในอีกแง่หนึ่ง ราคาพลาสติกตามกลไกตลาดนั้นถูกเกินไป) ทำให้ร้านค้าไม่ต้องการเปลี่ยน หากผู้บริโภคไม่มีความ เป็นบริการที่ให้ร้านอาหารใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำได้และมีระบบให้ผู้บริโภคส่งคืน -Deliveroo ในเมลเบิร์น ร่วมมือกับ Returnr และ Biopak ผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อผลักดัน รูปแบบธุรกิจแบบหมุนเวียน โดยเก็บค่ามัดจำภาชนะ 6 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับภาชนะที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ -ธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่น Go Box, DeliverZero และ ReCIRCLE ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการบรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำผ่าน ระบบการมัดจำ-ส่งคืน (deposit-return system) โดยติดตั้งจุดรับคืนตามอาคารในย่านธุรกิจและย่านที่พักอาศัย หรือนัดหมายการส่งคืนผ่านแอปพลิเคชั่น ดำเนินมาตรการได้ค่อนข้างจำกัด เฉพาะบางพื้นที่ และผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ที่เน้นความสะดวกสบาย จึงยากที่จะเข้าร่วมในมาตรการดังกล่าวเนื่องจากส่วนใหญ่จะต้องจ่ายค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์ 3.2 มาตรการของรัฐที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในภาพรวมของสังคม โดยมาตรการนั้นมีผลต่อธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ด้วย มักจะออกมาในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เช่น นโยบายและกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพยุโรป โดยในส่วนของจีนนั้น มีแรงผลักดันมาจากข้อห่วงกังวลถึงปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในจีนซึ่งเติบโตสูงมาก โดยมีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในจีนนำไปสู่การเกิดขยะบรรจุภัณฑ์สูงถึง 1.6 ล้านตันในปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อนถึง 9 เท่า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นกล่องบรรจุอาหารถึง 1.2 ล้านตัน ตะเกียบ 175,000 ตัน ถุงพลาสติก 164,000 ตันและช้อนพลาสติก 44,000 ตัน (Song, Zhang, Duan & Xu, 2018) รัฐบาลจีนจึงได้มีนโยบาย Plastic Ban Policy กำหนดให้รัฐบาลท้องถิ่น เริ่มจากเมืองใหญ่ต้องออกกฎระเบียบควบคุมการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยนโยบายใหม่ของจีนกำหนดให้ภายในปี 2563 จะต้องห้ามแจกถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าในเมืองใหญ่ รวมถึงในธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์และห้ามแจกหลอดพลาสติกในร้านอาหาร ภายในปี 2565 ห้ามการใช้ถุงพลาสติกในเมืองต่าง ๆ และห้ามใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายไม่ได้ในธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในเมืองใหญ่ เริ่มจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ก่อนที่จะออกมาตรการห้ามใช้ทั่วประเทศภายในปี 2568 (Nace, 2020)
มาตรการ
แนวทางดำเนินการ/ตัวอย่าง
จุดแข็ง
จุดอ่อน
มาตรการลดการใช้ (Reduce)
มาตรการใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือก (Replace)
-เป็นการปรับเปลี่ยนที่ต้นทาง (ร้านอาหาร) โดยไม่ต้องอาศัยความพยายามของผู้บริโภค
-สามารถลดขยะพลาสติกได้เป็นจำนวนมาก
เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่ม
-หากไม่มีกฎหมายบังคับหรือมาตรการจูงใจจากภาครัฐ อาจเป็นเรื่องยากที่แพลตฟอร์มจะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนอย่างจริงจัง
มาตรการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ (Reuse)
ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้มากที่สุด
ที่มา: https://deliveroo-packaging.com/pages/eco-packaging
ที่มา: www. goboxpdx.com
ในส่วนของประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 ภาครัฐโดยกรมควบคุมมลพิษได้มีการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) การลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการในการขับเคลื่อนการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหาร แม้จะมีจุดอ่อนที่ไม่มีการกำหนดเป้าหมายในการลดใช้พลาสติกที่ชัดเจนและเป็นเพียงความร่วมมือเชิงสมัครใจ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักและหาแนวทางในการลดพลาสติกมาก เช่น การโปรโมทร้านค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การร่วมมือกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในการสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับร้านเครือข่าย เป็นต้น
จากการคาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาขยะพลาสติกจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์จะเห็นได้ว่าหากธุรกิจยังดำเนินต่อไปในรูปแบบเดิม (business as usual) จะส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่า ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 70 มีแนวโน้มที่จะใช้บริการแอปพลิเคชันเหล่านี้ต่อหลังพ้นวิกฤตโควิด-19 (สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563) ทำให้การสั่งอาหารออนไลน์ได้กลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของคนไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ รวมทั้งในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ในตอนที่ 2 จะนำเสนอผลการวิจัยผู้บริโภคเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติต่อมาตรการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจเพื่อเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม
กิตติกรรมประกาศ