การอ้างอิง: สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2563). เรียนรู้ความพยายามของเกาหลีใต้และไต้หวันในการลดขยะพลาสติก. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 24 (ฉบับที่ 1).


สุจิตรา วาสนาดำรงดี
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษจากพลาสติก สืบเนื่องมาจากปริมาณการผลิตและใช้พลาสติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและมากกว่าครึ่งหนึ่งผลิตขึ้นที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-use plastics) ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 มีการผลิตพลาสติกมากกว่า 8.3 พันล้านตันหรือเฉลี่ยปีละ 300 ล้านตัน และมีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79) สะสมในแหล่งฝังกลบหรือตกค้างในสิ่งแวดล้อมบนบกและในทะเล (Geyer, Jambeck & Law, 2017) เนื่องจากพลาสติกจัดเป็นวัสดุที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก ใช้เวลานานหลายร้อยปี ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกสะสมในทะเลเพิ่มจำนวนขึ้น กระจายที่ก้นทะเลและเป็นแพขยะขนาดใหญ่ลอยในมหาสมุทร และถึงแม้ว่าพลาสติกจะย่อยสลายยากแต่พลาสติกสามารถแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่รายงานผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ (GESAMP, 2015) ทำให้สหประชาชาติและรัฐบาลทั่วโลกตื่นตัวและพยายามลด ละ เลิกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 

สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก  จากรายงานของรัฐบาลในปีค.ศ. 2016  เกาหลีใต้บริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นน้ำหนัก 98.2 กิโลกรัมต่อคน  ในปีค.ศ. 2015 คนเกาหลีใต้ใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ย 420 ใบต่อปี ขณะที่คนฟินแลนด์ใช้เพียง 4 ใบต่อปีและคนเยอรมันใช้ 70 ใบต่อปี (Lee, 2018; Ministry of Environment, 2018)

กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานของวัสดุและวิธีการทำบรรจุภัณฑ์ (Ordinance on the Standards of Packaging Methods and Material) ควบคุมการบรรจุหีบห่อที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยกำหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างของบรรจุภัณฑ์อยู่ในช่วงร้อยละ 10 – 35 หรือน้อยกว่า 2 เท่าของบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งห้ามใช้วัสดุบางประเภทที่ยากแก่การรีไซเคิล เช่น พีวีซี ในบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังได้ดำเนินมาตรการทางกฎหมายและมาตรการเชิงสมัครใจในการจำกัดการใช้ผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1994 ภายใต้กฎหมาย APSRR โดยให้กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จำกัดการใช้หรือห้ามแจกฟรีแก่ลูกค้า เช่น กลุ่มร้านอาหารและธุรกิจบริการอาหาร ให้จำกัดการใช้ถ้วย จาน ชาม ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน ช้อน ส้อมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ส่วนสถานบริการอาบน้ำ ห้ามแจกฟรีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แชมพู ที่โกนหนวด สำหรับร้านค้าปลีกและค้าส่ง ห้ามแจกฟรีถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (ยกเว้นถุงกระดาษ)  อีกทั้งในช่วงปีค.ศ. 2002 กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้มีการทำข้อตกลงเชิงสมัครใจกับบริษัท 29 แห่งที่ดำเนินธุรกิจอาหารจานด่วนและร้านกาแฟ เพื่อให้ร้านค้าใช้ภาชนะที่ล้างใช้ซ้ำได้ภายในร้านและได้ริเริ่มระบบมัดจำสำหรับภาชนะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

สำหรับมาตรการเชิงสมัครใจในการลดใช้ถุงพลาสติก ในปีค.ศ. 2011 กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ทำข้อตกลงเชิงสมัครใจกับห้างสรรพสินค้าใหญ่ 5 แห่ง เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและส่งเสริมให้มีการใช้ตระกร้าหรือวัสดุทางเลือก นอกจากนี้ ในปี 2012 กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ทำข้อตกลงเชิงสมัครใจกับร้านเบเกอรี่รายใหญ่สองรายที่มีการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากถึง 230 ล้านใบต่อปี โดยให้เปลี่ยนไปใช้ถุงกระดาษแทน (Ministry of Environment, 2017; Ministry of Environment, 2018)

เมื่อผู้ประกอบการไม่สามารถส่งออกขยะไปรีไซเคิลหรือกำจัดต่างประเทศได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลในประเทศต้องจัดการขยะที่เกิดขึ้นในประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก เป็นประเภทที่มูลค่ารีไซเคิลต่ำมาก ทำให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลไม่ต้องการรับขยะพลาสติกเหล่านี้ ประกอบกับในปีค.ศ. 2017 เกาหลีใต้ประสบปัญหาหมอกควันที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลออกกฎระเบียบควบคุมโรงงานที่แปลงขยะเป็นพลังงานอย่างเข้มงวด ส่งผลให้จำนวนเตาเผาขยะลดจาก 611 แห่งในปีค.ศ. 2011 เหลือเพียง 395 แห่งในปีค.ศ. 2018 ทำให้เตาเผาที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะรองรับขยะพลาสติกที่ส่งไปเผาเป็นพลังงานในปริมาณมากดังเช่นที่ผ่านมา เกาหลีใต้จึงประสบปัญหาวิกฤตขยะพลาสติกตกค้างในพื้นที่ต่าง ๆ และมีการลักลอบทิ้งและเผาพลาสติกในพื้นที่ชนบทในเกาหลีใต้ เช่นที่เมือง Uiseong ทางตะวันออกของประเทศ ที่มีกองขยะพลาสติกกว่า 170,000 ตัน (Hong & Kim, 2019)

มาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกดังกล่าวมีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นสินค้าเปียก เช่น เนื้อสัตว์ ปลา เต้าหู้ ผักและไอศกรีม ร้านค้าปลีกที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสูง 3 ล้านวอน (2,650 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนร้านค้าขนาดเล็ก ตลาดดั้งเดิมและร้านเบเกอรี่ยังสามารถให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งแก่ลูกค้าได้แต่จะต้องมีการเก็บเงินค่าถุงด้วย กล่าวคือ ห้ามแจกถุงพลาสติกฟรี ซึ่งการแก้ไขกฎหมาย APSRR ดังกล่าวมีผลให้ร้านเบเกอรี่กว่า 18,000 แห่งในเกาหลีใต้จะต้องงดแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งฟรี รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่า ผลของมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้ประมาณ 2.2 พันล้านใบต่อปี (Eun-ji, 2019; Ministry of Environment, 2018)


 ที่มา: Eun-ji (2019)

ต่อมา ในปีค.ศ. 2018 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้แก้ไขกฎหมาย APSRR กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2018 เป็นต้นไป ห้ามร้านกาแฟใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งใส่เครื่องดื่มให้ลูกค้าที่นั่งทานในร้าน โดยหากพบว่ามีการฝ่าฝืน เจ้าของร้านจะมีโทษปรับสูงสุดถึง 2 ล้านวอน (1,769 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ดี พบปัญหาว่า มาตรการดังกล่าวไม่ได้ให้เวลาในการปรับตัวมากเพียงพอ ทำให้พนักงานร้านต้องเพิ่มเวลาในการทำงานมากขึ้นและถูกต่อว่าจากลูกค้าที่ไม่ได้รับทราบหรือไม่พอใจมาตรการของรัฐดังกล่าว และพบปัญหาลูกค้าแจ้งเท็จว่าจะซื้อกาแฟกลับไปทานแต่นำแก้วกาแฟพลาสติกมานั่งทานในร้าน


ที่มา: Lee (2018)

เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก รัฐบาลได้แก้ไขกฎหมาย APSRR เพิ่มเติมรายการของถุงพลาสติก 5 ชนิดที่จะต้องอยู่ในภายใต้มาตรการ EPR  ได้แก่ ถุงพลาสติกที่ใช้ในร้านซักรีด พลาสติกกันกระแทก ถุงใส่ร่ม ถุงมือพลาสติกและแผ่นพลาสติกหุ้มอาหาร โดยผู้ผลิตพลาสติกรายการเหล่านี้จะต้องให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการรีไซเคิลเพื่อให้มีการรีไซเคิลพลาสติกเหล่านี้ จากการสำรวจต้นทุนการรีไซเคิลถุงพลาสติกและการหารือกับผู้ผลิตถุงพลาสติกและผู้ประกอบการรีไซเคิล กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้ผู้ผลิตถุงพลาสติกจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนการรีไซเคิลในอัตรา 325 วอนต่อกิโลกรัม (จากเดิม 307 วอนต่อกิโลกรัม) (Ministry of Environment, 2018)

รัฐบาลไต้หวันได้ทำการปฏิรูประบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขนานใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษ 1980  โดยได้ยกร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมกว่า 70 ฉบับและหนึ่งในนั้น คือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการกำจัดของเสีย (Waste Disposal Act: WDA) ปีค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบรีไซเคิล โดยมาตรา 10.1 กำหนดให้กลุ่มผู้ผลิต ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์บางประเภทต้องรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับแนวคิด EPR ที่มีการเสนอในแถบยุโรป อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมในไต้หวันในขณะนั้นยังไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายนี้ได้และหน่วยงานภาครัฐไม่ได้มีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดส่งผลให้ระบบนี้ล้มเหลว ไม่สามารถรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ฯ  ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการรายงานข้อมูลและการจัดการทางการเงินของผู้ผลิต ทำให้รัฐบาลไต้หวันเปลี่ยนจากระบบ EPR มาเป็นระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ที่บริหารในรูปแบบกองทุนของรัฐในการแก้ไขกฎหมาย WDA ในปีค.ศ. 1997

ในระยะแรก หน่วยงานของรัฐและองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ร้านค้าของทหาร โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โรงพยาบาลรัฐ โรงอาหารในหน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามกฎนี้ ในระยะที่สอง ได้มีการบังคับใช้กับห้างสรรพสินค้า คลังเก็บสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารฟาสฟู้ด และร้านอาหารที่มีหน้าร้าน  การเรียกเก็บค่าถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมโดยผู้ค้าปลีก ไม่ได้ถูกกำหนดในอัตราที่แน่นอน โดยปกติ ผู้ค้าปลีกจะกำหนดช่วงราคาให้อยู่ระหว่าง 1 - 3 ดอลลาร์ไต้หวัน (หรือประมาณ 1-3 บาท) ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ แต่ได้มีการยกเว้นการเก็บค่าถุงพลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่สามารถเสียได้ง่ายและพลาสติกที่ใช้ห่ออาหาร เป็นต้น ก่อนที่จะมีการนำมาตรการเก็บเงินค่าถุงพลาสติกมาใช้ ชาวไต้หวันมีการใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ย 2.5 ถุงต่อคนต่อวัน แต่หลังจากที่ได้มีการนำมาตรการเก็บเงินมาใช้ ส่งผลให้การใช้ถุงพลาสติกลดลงไปถึงร้อยละ 80 ในปีแรก

จากการสำรวจของ Taiwan EPA ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 หลังจากที่กฎหมายห้ามร้านค้ารายย่อยแจกถุงพลาสติกฟรีตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 70 เลือกที่จะไม่ซื้อถุงพลาสติก ทั้งนี้ Taiwan EPA ได้ทำการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของร้านค้าต่าง ๆ โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2018 ได้ทำการตรวจสอบร้านค้า 600,000 ครั้ง และได้ให้ใบเตือนร้านค้าที่ฝ่าฝืน 60 ใบซึ่งเกินครึ่งหนึ่งเป็นร้านค้าขายเครื่องดื่ม ทั้งนี้ Taiwan EPA คาดการณ์ว่า มาตรการงดแจกถุงพลาสติกฟรีในร้านค้าต่าง ๆ จะช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้ไม่น้อยกว่า 1.5 พันล้านใบต่อปี (Taiwan Environmental Information Center, 2018)

ถึงแม้รัฐบาลไต้หวันได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้พลาสติกมามากกว่า 15 ปีแล้ว แต่การจัดการขยะทะเลทั้งการลดขยะบนบก การเก็บขยะบนชายหาดและขยะในทะเลเป็นเรื่องที่เกินกำลังหน่วยงานภาครัฐ ในปี 2017 Taiwan EPA จึงได้ประกาศโครงการเครือข่ายจัดการขยะทะเล (Marine Waste Management Platform) ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม 8 องค์กร  ภายใต้เครือข่ายนี้ ทุกภาคส่วนสามารถแลกเปลี่ยนความคิด ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับขยะทะเล เพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายทะเลที่ไร้พลาสติก (Plastic-free oceans) ได้กำหนดแผนทยอยห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Taiwan EPA, 2017; Sun, 2018)

หลอดพลาสติก ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ห้ามใช้หลอดพลาสติกภายในหน่วยงานภาครัฐ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารจานด่วน ซึ่งจะมีผลกับร้านค้าประมาณ 8,000 ร้านค้า หากพบว่ามีการฝ่าฝืน ร้านค้าจะได้รับใบเตือน หากพบว่ายังฝ่าฝืนอีก จะถูกปรับเป็นเงินอยู่ในช่วง 1,200 - 6,000 ดอลลาร์ไต้หวัน ปีค.ศ. 2020 ห้ามแจกหลอดพลาสติกฟรีในร้านค้าทุกร้าน ปีค.ศ. 2025 ห้ามแจกหลอดฟรีสำหรับการซื้อกลับ ปีค.ศ. 2030 ห้ามใช้หลอดพลาสติกทั้งหมดในร้านค้าในไต้หวัน

  • ช้อนส้อมพลาสติก ในปีค.ศ. 2020 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะต้องไม่ใช้ช้อนส้อมพลาสติกภายในร้าน ในปีค.ศ. 2025 ห้ามแจกช้อนส้อมพลาสติกฟรี เปลี่ยนเป็นคิดเงิน ในปีค.ศ. 2030 ห้ามใช้ช้อนส้อมพลาสติกโดยเด็ดขาด
  • ไมโครบีดส์  ในปีค.ศ. 2014  Taiwan Watch Institute ได้แสดงให้สาธารณชนและสื่อมวลชนเห็นปริมาณไมโครบีดส์ที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างหน้าและอาบน้ำ ทำให้เกิดการตื่นตัวในสังคม จากนั้น NGOs ได้เริ่มผลักดันให้ EPA เริ่มมาตรการห้ามใส่ไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Sun, 2018) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 EPA ได้ออกกฎหมายห้ามการผลิต นำเข้าและจำหน่วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผสมไมโครบีดส์ (The Ban on Manufacturing, Import, and Sale of Cosmetics and Personal Care Products Containing Microbeads) ครอบคลุม 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แชมพู โฟมล้างหน้าและน้ำยาล้างเครื่องสำอาง เจลอาบน้ำ สบู่ ผลิตภัณฑ์ขัดผิวและยาสีฟัน โดยจะถูกห้ามการผลิตหรือนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป ส่วนการห้ามจำหน่าย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018

  • ที่มา: Hsiao-han and Yen (2019)

    บทความนี้ได้นำเสนอความพยายามของเกาหลีใต้และไต้หวันซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการบริโภคพลาสติกในอัตราที่สูง แม้ทั้งสองประเทศได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการแยกขยะมานานแล้ว รวมทั้งได้มีการออกกฎหมาย EPR ที่ให้ผู้ผลิตเข้ามารับผิดชอบในการจัดการขยะหลังการบริโภคมากขึ้น แต่เมื่อประเทศจีนดำเนินมาตรการห้ามนำเข้าขยะรีไซเคิลประกอบกับปัญหาขยะทะเลที่ทวีความรุนแรงขึ้น  ส่งผลให้ทั้งสองประเทศต้องออกมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงพลาสติก หลอดและแก้วพลาสติกที่ไม่มีมูลค่าในการรีไซเคิล  ดังนั้น รัฐบาลไทยควรพิจารณามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งควบคู่ไปกับมาตรการส่งเสริมให้ผู้ผลิตและภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการปรับเปลี่ยนวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งให้มีความรับผิดชอบในการจัดระบบรับคืนขยะบรรจุภัณฑ์และซากผลิตภัณฑ์ฯ จากผู้บริโภคเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกต้องและต้องมีการควบคุมการนำเข้าขยะรีไซเคิลทุกประเภทให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลในประเทศ


    บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



    ตารางที่ ก ลำดับเวลาของการดำเนินมาตรการลดขยะพลาสติกในเกาหลีใต้และไต้หวัน

    ค.ศ.1987
    (2530)
     

    ค.ศ.1993
    (2536) 

    ค.ศ.1994
    (2537)

    ค.ศ.1997
    (2540)

     


    บทความอื่นๆ

    Read More

    นาข้าวลอยน้ำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

    Read More

    บทความ: การคัดแยกขยะรีไซเคิลพลัส หรือขยะที่เป็นเชื้อ เพลิงมูลฝอย (RDF) เป็นแนวทางการลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง กรณีศึกษา การจัดการขยะในโรงอาหารสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    Read More

    บทความ: สภาพภัยแล้งและการจัดการในพื้นที่กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

    คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

    แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

    1

    ขอบเขตของเนื้อหา

    สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

    1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
    2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

    2

    ความยาวของบทความ

    ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

    3

    รูปในบทความ

    ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

    1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
    2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

    4

    การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

    กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

    1. หนังสือ
      ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
    2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
      ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
    3. วารสาร
      ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
    4. วิทยานิพนธ์
      ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
    5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
      ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

    FAQ

    เกี่ยวกับวารสาร

    สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

    สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

    สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

    ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

    สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

    สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
    ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
    สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
    ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

    สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

    • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • การจัดการเมือง
    • การจัดการของเสียและขยะ
    • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
    • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
    • นโยบายสิ่งแวดล้อม
    • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

    เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

    หัวหน้ากองบรรณาธิการ

    ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
    ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

    กองบรรณาธิการ

    ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
    นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
    บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
    วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
    วัชราภรณ์ สุนสิน
    ศีลาวุธ ดำรงศิริ
    อาทิมา ดับโศก
    กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

    ที่ปรึกษา

    ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

    บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

    วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

    หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

    สำหรับสำนักพิมพ์

    สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

    สำหรับบรรณาธิการ

    บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

    • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
    • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
    • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
    • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
    • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

    สำหรับผู้แต่ง

    ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

    • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
    • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
    • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
    • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
    • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
    • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

    สำหรับผู้ประเมิน

    ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

    • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
    • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
    • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

    บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

    ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

    บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

    สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี

    ISSN 2686-9248 (Online)
    Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

    © 2024 Thai Environmental, All rights reserved.

    ติดต่อเรา

    สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330