บทความ: เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร...แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทสัมภาษณ์นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "ยโสธร เมืองแห่งวิถีอีสาน เกษตรอินทรีย์ก้าวไกลสู่สากล" ให้ยโสธรเป็นจังหวัดต้นแบบแห่งการทำเกษตรอินทรีย์ ผ่านการสร้างความตระหนักและรับรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมคนรุ่นใหม่และเยาวชนสู่การทำเกษตรอินทรีย์


บทความ: เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร...แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "เกษตรอินทรีย์" เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่คงมีความคุ้นเคย หรืออย่างน้อยต้องเคยได้ยินคำๆ นี้กันมาบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารเคมีตกค้าง ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในแนวทางการทำเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช ผลผลิตที่ได้จึงมีความเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการทำเกษตรอินทรีย์ยังสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และคำนึงถึงระบบนิเวศในแหล่งทำการเกษตรนั้นๆ จึงนับได้ว่าเป็นวิถีทางที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนต่อทั้งชุมชนในภาคเกษตรกรรม ภาคสังคม และต่อสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรองปลัดบุญธรรม เคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ณ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธรในระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2550 และได้กลับไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ รองปลัดบุญธรรมได้ผลักดันการทำเกษตรอินทรีย์ในยโสธรด้วยยุทธวิธีต่างๆ รวมทั้งได้เขียนหนังสือ “เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร” และเป็นแรงผลักดันให้เกิดหนังสือ “เครือข่ายคนกล้าคืนถิ่น จังหวัดยโสธร” และหนังสือนิทานคำคล้องจอง “อีเล้งเค้งโค้ง เกษตรสุขสันต์ ขุนคันคาก” ผลงานการแต่งและวาดภาพโดยครูชีวัน วิสาสะ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับรองปลัดบุญธรรมในเรื่องการขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดยโสธร ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ และการสนับสนุนส่งเสริมที่ท่านได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน 


สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นประเด็นในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรองปลัดบุญธรรมได้ชี้ให้เห็นคือ การรับรู้ของคนไทยในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) พืชปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP (Good agricultural practice) และพืชเกษตรอินทรีย์
“การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่แล้วยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เช่น เข้าใจว่าผักไฮโดรโพนิกเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช่ พืชปลอดภัยเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช่อีกเหมือนกัน การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้จำเป็นต้องเริ่มต้นจากเกษตรปลอดภัย ณ วันนี้ถ้าเราเริ่มต้นตั้งใจจะทำเกษตรอินทรีย์ เราสามารถเริ่มต้นได้ ถึงเราจะทำเกษตรปลอดภัยมา แต่เมื่อมาทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่เหมือนกัน เพราะแนวความคิดเป็นคนละอย่าง เกษตรปลอดภัยคือการลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง อยู่ในอัตราที่ควบคุมและปลอดภัย แต่ยังคงมีการใช้ แต่เกษตรอินทรีย์คือไม่มีการใช้ใดๆ เลย เพราะฉะนั้นถึงจะทำเกษตรปลอดภัยมาก็ต้องมาทำการนับหนึ่งใหม่ จึงมีการทำการทบทวน ปรึกษาทั้งเกษตรกรและผู้รู้ต่างๆ ศึกษาหาข้อมูลและมาวางยุทธศาสตร์จากปัญหาที่พบ ว่าทำไมเกษตรอินทรีย์ถึงไม่มีการขยายในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา”

"การสร้างความตระหนักและรับรู้" ให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของจังหวัดที่มีการกำหนดไว้จากทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ด้วยกันคือ 1) สร้างกระแสการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 2) ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เต็มศักยภาพ 3) เพิ่มความสามารถในการรับซื้อและส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ 4) เพิ่มตลาด และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในและต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของการสร้างความตระหนักและการรับรู้ให้กับเกษตรกร รองปลัดบุญธรรมได้ลงไปดำเนินการด้วยตัวเอง โดยประเด็นสำคัญที่ท่านได้กล่าวไว้คือต้องตอบคำถามของพี่น้องเกษตรกร ว่าการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่การขายเพียงเพื่อสร้างรายได้ แต่ต้องเป็นการทำด้วยแรงบันดาลใจ คือต้องมีใจรักที่จะทำเป็นแรงกระตุ้น โดยตัวท่านในฐานะผู้ว่าฯ ในขณะนั้นมีหน้าที่จุดกระแสสร้างแรงกระตุ้น และใช้เกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ก่อนแล้วเป็นเครือข่าย เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรรายอื่นๆ เห็นว่าคนที่ทำแล้วเป็นอย่างไร 

คนทำเกษตรอินทรีย์ ต้องเป็นคนที่ทำด้วยหัวใจ และหัวใจต้องมีความรัก ความรักต้องมีอยู่ 3 ประการก็คือ ต้องรักตัวเองและครอบครัว ก็บอกเขาว่า คุณอยากจะมีชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพอนามัยที่แข็งแรงใช่ไหม ถ้าคุณคิดอย่างนั้น การทำเกษตรอินทรีย์ คุณไม่ได้ไปข้องเกี่ยวกับสารเคมียาฆ่าแมลง ซึ่งมีผลงานวิจัยว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณก็จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว อย่างที่สอง รักต่อผู้อื่น รักต่อผู้บริโภค เพราะว่าคุณจะเอาสิ่งที่ดีให้ผู้อื่น ถ้าคุณปลูกสิ่งไม่ดีมีสารเคมีปนเปื้อน ผู้บริโภคก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ก็คือคุณต้องรักคนอื่น ซึ่งก็เป็นไปตามหลักศาสนาพุทธเรา อย่างที่สามก็คือรักในโลก รักสิ่งแวดล้อม ถ้าคุณทำด้วยความรัก มันจะยั่งยืน”

ในมุมมองของรองปลัดบุญธรรม การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่เป็นสิ่งที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม คือไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลง การทำเกษตรอินทรีย์ที่จริงแล้วจึงเป็นการกลับสู่ธรรมชาติ ตามวิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษของเราได้ทำกันมา

ยุทธศาสตร์ “คนกล้าคืนถิ่น” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ 1 (สร้างกระแสการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์) เนื่องมาจากการค้นพบว่าเกษตรกรในยโสธรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เข้าสู่ช่วงอายุสูงวัย การถ่ายทอดสร้างสะพานเชื่อมระหว่างรุ่นต่อรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เกิดการรวบรวมคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาหลากหลาย ให้กลับมาทำเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดยโสธร และตั้งเป็นเครือข่ายคนกล้าคืนถิ่น

“เรากระตุ้นให้เขามีส่วนร่วม การสนับสนุนเราสนับสนุนทางอ้อม เช่น แนะนำเรื่องช่องทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ อย่างมีน้องที่ทำไอติมข้าวเม่าอินทรีย์ พยายามให้เขายืนด้วยตัวเอง เราเป็นผู้ให้คำแนะนำ ที่เหลือก็เป็นยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่ขับเคลื่อน”

เมื่อครั้งรองปลัดบุญธรรมไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาในขณะนั้นคือข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์จากแต่ละหน่วยงานยังมีความไม่สอดคล้องกัน ทั้งข้อมูลพื้นที่และข้อมูลของตัวเกษตรกรเอง ท่านจึงริเริ่มให้มีการพัฒนาระบบ “สำมะโนเกษตรอินทรีย์” เพื่อเป็นการสำรวจเบื้องต้น และจัดทำเป็นฐานข้อมูลในภายหลัง 

“เราก็สำรวจสำมะโน ต้องการให้รู้ว่าคนที่ทำและได้รับการรับรองแล้ว ได้รับการรับรองอะไรบ้าง กับมีคนที่ทำเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติแต่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรับรอง เราต้องการข้อมูลตรงนี้ อันนี้คือสำมะโนเกษตรอินทรีย์”

“ก็ตั้งคำถามว่า มาตรฐานที่ขอรับรอง ขายได้ทุกที่ทั่วโลกไหม ซึ่งไม่ใช่ มันขึ้นอยู่กับว่าที่ที่เราจะส่งไปขายเขาต้องการมาตรฐานใด ก็เลยเปลี่ยนความคิดว่าเราจะผลิตและขอการรับรองตามตลาดที่เราจะไปขาย ก็คือใช้หลักตลาดนำการผลิต เช่น เราจะไปขายอเมริกา ก็ต้องขอ USDA (United States Department of Agriculture) ให้ได้ ขายเยอรมันก็ต้องขอมาตรฐาน CERES (Certification of Environmental Standards) จะขาย EU ก็ต้องขอตามมาตรฐาน EU แคนาดาก็ต้องเป็นมาตรฐาน COR (Canada Organic Regime) ของญี่ปุ่นก็ JAS (Japanese Agricultural Standard) คือต้องถามว่าติดต่อค้าขายกับใคร เราต้องปรับเราเข้ามาตรฐาน ไม่ใช่เอาตัวเราเป็นตัวตั้ง”

“ก็กลับมาสู่คำถามว่า ข้าวเราส่งไปขายต่างประเทศหมดไหม ซึ่งไม่หมด คำถามก็คือเราจำเป็นต้องขอการรับรองที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพื่อขายในประเทศโดยไม่ได้ขายต่างประเทศไหม ถ้าเราแยกตลาด มีตลาดในประเทศ ตลาดในประเทศก็แยกเป็น 2 กลุ่ม คือตลาดในท้องถิ่นก็คือในตัวจังหวัดเอง กับจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย อีกตลาดหนึ่งคือตลาดที่ส่งออก กับคำถามว่าเราจำเป็นต้องผลิตและขอรับรองในมาตรฐานระดับสากลเพื่อจำหน่ายในท้องถิ่นไหม ก็ไม่จำเป็น และการรับรองมาตรฐานระบบสากลของประเทศต่างๆ มันเหมาะกับแปลงใหญ่ๆ เพราะฉะนั้นก็เลยเกิดระบบรับรองมาตรฐานอีกระบบขึ้นมาก็คือระบบมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) เรียกว่าระบบการมีส่วนร่วม ระบบนี้ก็คือใช้เกษตรกรด้วยกันเองเป็นคนรับรอง ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยและแปลงเล็กๆ”

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ยโสธรขั้นพื้นฐาน (Yasothon Basic Organic Standard, Yaso BOS)
“มันควรจะมีมาตรฐานท้องถิ่น มาตรฐานจังหวัด โดยใช้จังหวัดเป็นตัวการันตีว่ากลุ่มคน เกษตรกรคนนี้ ผลิตด้วยกระบวนการเกษตรอินทรีย์ โดยเราไม่ต้องการให้เกษตรกรเอาตัวเองไปการันตี เราจะใช้หน่วยงานอื่นของจังหวัดเป็นตัวการันตี ถึงเขาจะยังไม่ได้มาตรฐาน PGS หรือมาตรฐานสากล แต่โดยสาระสำคัญเขาผลิตด้วยกระบวนการเกษตรอินทรีย์ อาจจะไม่ครบถ้วนบางเรื่อง เช่น แนวกันชนอาจจะสั้นไปครึ่งเมตร เพราะไม่อย่างนั้นทุกคนจะบอกว่าเกษตรอินทรีย์ทำยาก การขอรับรองก็ยากและมีค่าใช้จ่าย คนก็จะท้อ เพราะฉะนั้นเราสร้างมาตรฐานตรงนี้เป็นมาตรฐานตั้งต้น เพื่อให้คนได้พัฒนา แล้วก็มีกำลังใจในการไปต่อได้ ถ้าใครได้มาตรฐานสากลแล้วก็คืออยู่ขั้นอุดมศึกษา ถ้าใครได้ PGS ก็ขั้นมัธยม ถ้าขั้นประถมก็ BOS เพื่อให้เขาก้าวไปต่อได้”

หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของรองปลัดบุญธรรม คือการปลูกฝังแนวคิดนี้สู่เยาวชนผ่านหนังสือนิทาน โดยใช้ตัวเอกจากนิทานเด็กที่มีชื่อเสียงกว้างขวางอย่าง “อีเล้งเค้งโค้ง” เจ้าห่านหน้าตาบูดบึ้งผู้ส่งเสียงเป็นเพลง ผลงานการแต่งและวาดภาพโดยครูชีวัน วิสาสะ ผู้สร้างสรรค์นิทานชุดนี้ต่อเนื่องมากว่า 20 ปีแล้ว และจากการริเริ่มโดยรองปลัดบุญธรรมนี้เอง ครูชีวันจึงได้แต่งนิทานเรื่อง “อีเล้งเค้งโค้ง เกษตรสุขสันต์ ขุนคันคาก” ที่มีตัวละครเพิ่มเติมขึ้นมาคือ ขุนคันคาก หรือก็คือคางคกในภาษาอีสาน ผู้พาตัวละครเอกอย่างเจ้าห่านอีเล้งเค้งโค้งไปรู้จักกับโทษของการใช้สารเคมีผ่านผลร้ายที่เกิดกับตัวละครชาวเกษตรกร และบอกเล่าถึงข้อดีของการหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งตอนหนึ่งของนิทานคำคล้องจองนี้ได้กล่าวไว้ว่า

“ทำนาทำไร่ ให้รักชีวิต
ปลูกพืชปลอดพิษ คิดถึงลูกหลาน
เกษตรอินทรีย์ มีแต่โบราณ
ช่วยกันสืบสาน มูลมังกาลก่อน”

นอกจากพืชผลที่ปลูกผ่านกระบวนการเกษตรอินทรีย์แล้ว จังหวัดยโสธรยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่และปลาโดยวิถีทางเกษตรอินทรีย์อีกด้วย ซึ่งในส่วนของไข่ไก่อินทรีย์ มีการดำเนินการผ่านทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด โดยเริ่มต้นกันตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงไก่ และอาหารที่นำมาใช้ในการเลี้ยง 
“ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเกษตรกรที่เคยทำเกษตรอินทรีย์แล้วขยาย เพราะจะมีต้นทุนที่ดีกว่า ไข่ไก่อินทรีย์คือเริ่มที่กระบวนการเลี้ยง การปลูก กระบวนการรับรอง กระบวนการเลี้ยงก็เป็นไปตามเงื่อนไขคือ อาหารที่ใช้มาจากระบบอินทรีย์ เป็นพืชผักในแปลง เช่น ข้าวโพด รำข้าว เป็นกระบวนการที่ไม่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าจะไปซื้ออาหารที่อื่นก็ต้องดูว่าอาหารนั้นมีการรับรองว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ ก็ทำให้เกิดศูนย์กลางทำหน้าที่ผลิตอาหารจากระบบ เป็นศูนย์กลางให้กับเครือข่าย” 

“ประมงเขาก็วิจัย ก็ได้ใช้อาหารธรรมชาติคือ ผำ และทดลองเลี้ยงในนาข้าว ก็ได้ผลค่อนข้างดี ก็พัฒนาต่อยอดไปเรื่อย เพราะแต่เดิมถ้าเลี้ยงปลาในนาข้าว ใช้สารเคมีปลาไม่รอด ในนาข้าวมีผลยืนยันชัดเจน ความอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติ เพราะเราไม่ไปรังแกเขา”

นอกจากจะส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการแล้ว จังหวัดยโสธรยังส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องการตลาด เพื่อหาช่องทางในการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรให้กับเกษตรกร ทั้งในรูปแบบการประชาสัมพันธ์ผ่านการจัดงาน ‘Yasothon Organic Fair’ รวมทั้งการจัดกิจกรรม ‘ร่วมลงขันชวนกันไปทำนา’ ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้ามาเป็น ‘หุ้นส่วน’ จับคู่ลงทุนทำนากับชาวนาอินทรีย์ โดยจะได้ผลผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ตามสัดส่วนของการลงทุน
“ส่งเสริมการตลาดเราก็ต้องสร้างแหล่งจำหน่าย ที่เรามาจัดงานเอาผลผลิตมาขายก็เป็นรูปแบบหนึ่ง แต่ที่เราทำมากกว่านั้นก็คือสร้างการรับรู้ให้กับคนในกรุงเทพฯ ให้เพื่อนฝูงได้รู้จัก ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการบริโภค ผมจะใช้คำหนึ่ง คือพลังของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ ถ้าคนบริโภคผลผลิตอินทรีย์มากขึ้น เกษตรกรก็มีแรงจูงใจที่จะทำมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็ต้องสร้างการตลาด สร้างการรับรู้ คือพยายามให้กระแสเกษตรอินทรีย์ไปสู่ผู้บริโภค แล้วเราก็จัดอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นกิจกรรมเชิงประชาสัมพันธ์ คือ ร่วมลงขันชวนกันไปทำนา คือให้คนเมืองที่อยากจะทำนา ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ไปเป็นหุ้นส่วนกับทางเกษตรกร ตามเงื่อนไขที่จังหวัดกำหนดไว้ แล้วพอผลิตเสร็จเขาก็เอาข้าวส่งให้เรา เราจะไปดำเองหรือไปเกี่ยวเองก็ได้ อันนี้เป็นการขายล่วงหน้าแล้วก็เป็นการประชาสัมพันธ์ไปด้วย”

 

“จริงๆ เคยมีการจัดงานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ แต่เราเปลี่ยนแนวคิด คือเราไม่ได้จัดเพื่อเอาคนมาขาย เราจัดเพื่อสร้างการตลาด แล้วก็เชิญนักธุกิจ ผู้เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ที่สนใจมา คือเป็นการนำเสนอผลผลิตของเรา แต่ไม่ได้เน้นว่าจะต้องมาขายให้ได้เยอะ แต่เน้นว่าคนที่มา ได้เห็นว่ามีผลผลิตอะไร ทำให้มีการสั่งซื้อโดยตรงกับเกษตรกร”

"Smart Organic Farm" หรือ "ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ยโสธร" ที่สร้างขึ้นสำหรับผู้สนใจมาดูงานเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด เพื่อให้คนทั่วไปสามารถมาเรียนรู้ได้ตลอดทั้งปี แม้จะอยู่ในช่วงเวลานอกฤดูกาลผลิต

“พลังของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงการผลิตได้”



บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี