บทความ: ปุ๋ยหมักกากไขมัน...จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน

บทคัดย่อ

น้ำมันและกากไขมันเป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีความหนาแน่นต่ำและลอยเหนือน้ำได้ แต่หากปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำจะส่งผลให้เกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจนเกิดการเน่าเสียของน้ำ บทความนี้นำเสนอวิธีการแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยถังหมักกากไขมันต้นแบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อการจัดการกากไขมันของอุตสาหกรรมโรงแรมที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของของเสียจากอุตสาหกรรมโรงแรม


บทความ: ปุ๋ยหมักกากไขมัน ... จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน

การเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่องของของเสียจำพวกน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) จากอุตสาหกรรมอาหารและการปรุงประกอบอาหารจากครัวเรือนและร้านอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากน้ำมันและไขมันนั้นจัดเป็นของเสียอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งหากไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำได้หากถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

คิดเป็นปริมาณร้อยละ 10 ของปริมาณสารอินทรีย์ที่พบในน้ำเสีย (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก) ด้วยเหตุนี้การติดตั้งบ่อดักไขมันจึงเป็นมาตรการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญในการช่วยลดปัญหาผลกระทบจากน้ำมันและไขมันต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำผิวดิน อย่างไรก็ดี เมื่อภาคครัวเรือน ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารติดตั้งบ่อดักไขมันแล้ว ก็จำเป็นต้องมีวิธีจัดการกากไขมัน (Grease Waste) ซึ่งเป็นของเสียที่แยกได้จากถังดักกากไขมันให้เหมาะสมต่อไป (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก และ ข)

น้ำมันและกากไขมันนั้นเป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติที่ได้มาจากพืชหรือสัตว์ มีความหนาแน่นต่ำและลอยเหนือน้ำได้ หากน้ำมันและไขมันนี้ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ และลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ อาจทำให้ออกซิเจนไม่สามารถละลายลงสู่แหล่งน้ำได้ ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจนเกิดการเน่าเสียของน้ำ และกลิ่นอันไม่ประสงค์ตามมา

กากไขมัน (Grease Waste) ดังรูปที่ 1 กากไขมันที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำในบ่อดักไขมันนี้ หากไม่ถูกตักออกไปจัดการเป็นระยะ ๆ ก็อาจก่อให้เกิดการอุดตันของระบบท่อระบายน้ำและส่งกลิ่นเหม็นได้

0.2 ถึง 0.8 กิโลกรัม/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก) ส่วนร้านอาหาร มักก่อให้เกิดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียจากการปรุงประกอบอาหารประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร โดยค่าความเข้มข้นของกากไขมันแปรผันตามขนาดพื้นที่ของร้านอาหาร (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ข) กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของกากไขมันสำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก (น้อยกว่า 100 ตารางเมตร) ขนาดกลาง (100-200 ตารางเมตร) และขนาดใหญ่ (มากกว่า 200 ตารางเมตร) พบว่ามีค่าเท่ากับ 1,300, 2,400 และ 6,400 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ (ประสิทธิ์ เหลืองรุ่งเกียรติ, 2545) ดังนั้นมวลแห้งเฉลี่ยของน้ำมันและไขมันจากร้านอาหารขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จึงเท่ากับ 1.5, 4.2 และ 19.2 กิโลกรัม/วัน-ร้าน ตามลำดับ

2.5 และ 21 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ องค์ประกอบของกากไขมันจากครัวเรือน ร้านอาหารทั่วไป และร้านอาหารในโรงแรม (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ข) แสดงได้ดังตารางที่ 1


 

ความเป็นกรดด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) สี (Color) ไนโตรเจนทั้งหมด (Total Kjeldahl Nitrogen) กรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) ฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) การแยกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำเสียจากครัวเรือนและร้านอาหารโดยใช้บ่อดักไขมันจะมีประสิทธิภาพดี เมื่อมีการจัดให้มีระยะเวลาการพักน้ำ (Detention Time) เพื่อให้น้ำมันละไขมันมีโอกาสลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เนื่องจากอุณหภูมิของประเทศไทยนั้นค่อนข้างสูง ส่งผลให้การลอยตัวและจับตัวของกากไขมันในถังดักไขมันเกิดขึ้นได้ช้า จึงอาจจำเป็นต้องมีการออกแบบให้ระยะเวลาการพักน้ำในถังไขมันนั้นยาวนานกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อกากไขมันแยกตัวออกจากน้ำและสะสมอยู่ในถังดักไขมันมากขึ้น ควรตักกากไขมันออกจากบ่อดักไขมันเป็นประจำเพื่อลดปัญหากลิ่นจากการย่อยสลายกากไขมัน และการอุดตันของท่อระบายน้ำ

อย่างไรก็ดี กากไขมันที่เกิดขึ้นจากบ่อดักไขมันนั้น สามารถถูกรวบรวมและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษพบว่า การแปรรูปกากไขมันที่เกิดจากครัวเรือนและร้านอาหารทั่วไป ณ แหล่งกำเนิดนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากปริมาณกากไขมันที่รวบรวมได้มักมีปริมาณน้อย (ประมาณ 2.6 กิโลกรัม/วัน) และสถานที่แปรรูปกากไขมัน ซึ่งก็คือบริเวณครัวเรือนและร้านอาหารนั้นมักไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างสำหรับการแปรรูป

1) เทียนหอมหรือเทียนแฟนซี (รูปที่ 2 ก) สามารถแปรรูปได้โดยการนำกากไขมันที่รวบรวมได้ไปต้ม ตกตะกอน และกรองเอาสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ออกจนกากไขมันสะอาด หลังจากนั้นผสมพาราฟิน สี และกลิ่นตามความต้องการ แล้วจึงขึ้นรูปเทียนในแม่พิมพ์รูปแบบต่าง ๆ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่

2) สบู่เหลวสำหรับซักล้าง (รูปที่ 2 ข) สามารถแปรรูปได้โดยการนำกากไขมันที่รวบรวมได้ไปทำให้สะอาดด้วยกระบวนการเดียวกันกับการแปรรูปเทียนหอมและเทียนแฟนซีจากกากไขมัน แล้วจึงผสมกากไขมันที่สะอาดกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) น้ำ สี และกลิ่นตามความต้องการ แล้วจึงบรรจุลงในภาชนะสำหรับการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมต่อไป สบู่เหลวที่แปรรูปได้สามารถนำมาใช้ล้างพื้นห้องน้ำภายในร้านอาหารได้ 

3) ไบโอดีเซล (รูปที่ 2 ค) วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปไบโอดีเซลจากกากไขมัน คือ การทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีแบบเอสเทอริฟิเคชัน (Esterification)  

4) เชื้อเพลิงอัดแท่ง (รูปที่ 2 ง) กากไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดสามารถนำมาผสมกับขี้เลื่อยหรือเศษวัสดุต่าง ๆ เช่น ผักตบชวา เปลือกทุเรียน ซังข้าวโพด ในอัตราส่วน (โดยน้ำหนัก) 5 ต่อ 3 คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงอัดเป็นแท่ง และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงแท่งที่สามารถนำไปเผาไหม้ให้ความร้อนได้ 

5) ปุ๋ยหมัก กากไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดยังสามารถนำไปผสมกับเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษใบไม้ หญ้า กาบมะพร้าว และมูลสัตว์แห้ง แล้วหมักและบ่มรวมกันประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีสีดำคล้ำ มีเนื้อละเอียด มีกลิ่นคล้ายดิน มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์และธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช สามารถนำไปใช้เป็นแทนปุ๋ยเคมี และมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพดินได้ 


กระบวนการแปรรูปกากไขมันเป็นเทียนหอมหรือเทียนแฟนซี สบู่เหลว และปุ๋ยหมักนั้นใช้ปริมาณกากไขมันค่อนข้างน้อย จึงเหมาะสมกับการแปรรูปกากไขมันที่เกิดจากร้านอาหารทั่วไปที่สามารถนำกากไขมันที่เกิดขึ้นมาแปรรูปได้ด้วยตนเอง และนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปได้ไปใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการของตนได้ ในส่วนของการแปรรูปกากไขมันเป็นไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงอัดแท่งนั้น จำเป็นต้องใช้กากไขมันปริมาณมาก และต้องการความพร้อมของบุคลากรและศักยภาพในการลงทุนค่อนข้างมาก จึงเหมาะสำหรับร้านอาหารในโรงแรมมากกว่าร้านอาหารทั่วไป 

พื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ปีละมากกว่า 1 ล้านคน (กรมการท่องเที่ยว, 2559) และสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ปีละมากกว่า 15,000 ล้านบาท (บุญใจ แก้วน้อย, 2558) การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของพื้นที่เกาะสมุย มีโรงแรมที่จดทะเบียนดำเนินกิจการมากกว่า 550 แห่ง ส่งผลให้ปัจจุบันพื้นที่เกาะสมุย ประสบปัญหา “วิกฤติขยะล้นเกาะสมุย” ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 

เนื่องจากกากไขมันที่รวบรวมได้จากโรงแรมนั้นมีความชื้นสูง มีน้ำเสียปะปนอยู่ด้วย ทำให้เมื่อบีบอัดกากไขมันร่วมกับขยะมูลฝอยทั่วไปจึงเกิดน้ำเสียชะไหลออกมา ก่อให้เกิดความสกปรก และคราบไขมันเปื้อนถนน และพื้นที่สาธารณะ อีกทั้งยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนขณะทำการเก็บรวบรวมและการกำจัดอีกด้วย

ในขณะที่โรงแรมบางแห่งได้จัดซื้อสารเคมีและสารชีวภาพมาเติมลงในน้ำเสียจากร้านอาหารของโรงแรม เนื่องจากมีความเข้าใจว่า เมื่อเติมสารดังกล่าวลงในน้ำเสียที่มีน้ำมันและไขมันปนเปื้อนอยู่แล้ว สารเคมีดังกล่าวจะสามารถช่วยกำจัดน้ำมันและไขมันออกจากน้ำได้ อย่างไรก็ตาม การเติมสารดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการทำให้น้ำมันและไขมันที่ปนอยู่ในน้ำเสียนั้นแตกตัว ไม่จับเป็นก้อนไขมัน สามารถละลายปะปนไปกับน้ำเสียที่ปล่อยออกไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางได้ ส่งผลให้ค่าความสกปรกของการปนเปื้อนน้ำเสียที่ต้องถูกบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางเพิ่มขึ้น

โครงการ “การพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินที่แปรรูปจากกากไขมันจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ดำเนินการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบกิจการโรงแรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการกากไขมันที่เกิดจากร้านอาหารของโรงแรม ดังนั้น กากไขมันที่นำมาศึกษาวิจัยในโครงการต้นแบบนี้จึงเป็นกากไขมันที่ได้จากการประกอบอาหารในห้องครัว ร้านอาหาร และร้านเบเกอรีของโรงแรม ซึ่งมักใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไขมันพืช ไขมันสัตว์ เนย มาการีน และน้ำมันมะกอก เป็นต้น เป็นส่วนประกอบในการปรุงประกอบอาหาร

โครงการต้นแบบเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจัดการกากไขมัน และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกากไขมันที่จัดเป็นของเสียของโรงแรม จึงได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากกากไขมันเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่โรงแรมแต่ละแห่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินและพันธุ์พืชในพื้นที่สีเขียวได้ เนื่องจากกระบวนการหมักปุ๋ยอินทรีย์นั้นจำเป็นต้องมีการหมักและบ่มกองปุ๋ยเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาการหมักปุ๋ย และกากไขมันที่รวบรวมได้จากบ่อดักไขมันนั้นมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ จึงได้พัฒนา ถังหมักกากไขมัน” ต้นแบบขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและนวัตกรรมในการแปรรูปกากไขมันซึ่งเป็นของเสียจากโรงแรมให้เป็นปุ๋ยหมักที่สามารถใช้ปรับปรุงบำรุงดิน ลดระยะเวลาและจำนวนผู้ปฏิบัติงานในการกลับกองปุ๋ยหมัก และลดการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากกากไขมันที่อาจรบกวนผู้ปฏิบัติงานและผู้พักอาศัยในโรงแรมได้ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงแรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) อย่างยั่งยืน

“ถังหมักกากไขมัน” เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก ของโครงการต้นแบบ ประกอบด้วย

ผลการพิจารณาลักษณะของถังหมักกากไขมันดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับหลักวิชาการในการออกแบบถังต้นแบบ พร้อมกับรูปแบบและการวางตัวของถังหมัก จึงทำให้ทางโครงการได้จัดทำ “ถังหมักกากไขมันต้นแบบ” ที่ทำมาจากเหล็ก ปริมาตร 200 ลิตร (รูปที่ 3) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) มอเตอร์ 2) ใบครีบสำหรับการคลุกเคล้าส่วนผสมของปุ๋ยหมัก 3) ถังเหล็ก 200 ลิตร และ 4) พูเล่ย์สำหรับการทดรอบ

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่ฝาถังหมักมีการใช้ผงถ่านเป็นสารดูดกลิ่นด้วย อายุการใช้งานของถังหมักต้นแบบยังขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการบำรุงรักษา นอกจากนั้นแล้วองค์ประกอบของอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของถังหมักกากไขมันนั้นยังสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและลักษณะการใช้งานของแต่ละโรงแรมอีกด้วย

โครงการ “การพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินที่แปรรูปจากกากไขมันจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ได้นำเสนอกระบวนการต้นแบบการแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยถังหมักต้นแบบให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม พื้นที่เกาะสมุย เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นทดแทนการจัดการกากไขมันในรูปแบบเดิมที่ทางโรงแรมดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเก็บรวบรวมและหมักไว้ในบ่อเกรอะ การแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักโดยวิธีการกองปุ๋ยหมัก หรือการหมักในบ่อซีเมนต์ เป็นต้น (รูปที่ 4)



รูปที่ 4 (ก) วิธีการจัดการกากไขมันปัจจุบันของอุตสาหกรรมโรงแรมในเกาะสมุย และ (ข) ถังหมักกากไขมันต้นแบบเพื่อใช้แปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมัก

โดยทางโครงการต้นแบบได้นำเสนอการใช้สารละลายกรดเพื่อสลายโครงสร้างทางเคมีของกากไขมัน ดังนี้

1) กรดฟอสฟอริก (H3PO4) ความเข้มข้น 1 โมลาร์ (Molarity) นอกจากจะช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มธาตุหลักประเภทฟอสฟอรัสให้แก่ปุ๋ยหมักอีกด้วย 

2) กรดไนตริก (HNO3) ความเข้มข้น 1 โมลาร์ (Molarity) นอกจากจะช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มธาตุหลักประเภทไนโตรเจนให้แก่ปุ๋ยหมักอีกด้วย 

3) น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำหมัก EM โดยโครงการต้นแบบได้ทดลองใช้น้ำหนักชีวภาพจากสับปะรด ซี่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5 จึงสามารถช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันได้

ในการนี้โครงการต้นแบบได้ดำเนินการปรับปรุงกากไขมันขั้นต้นด้วยสารละลายกรดฟอสฟอริก และน้ำหมักชีวภาพ แล้วจึงได้ดำเนินการผสมกากไขมันและวัสดุหมักต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่เกาะสมุยเข้าด้วยกัน ตามสูตรการหมักทั้งสิ้น 3 สูตร ดังสรุปในตารางที่ 2 แล้วใส่ลงในถังหมักกากไขมันต้นแบบ และหมักเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 60 วัน

กากไขมัน (กิโลกรัม)    เศษวัชพืช (กิโลกรัม) มูลสัตว์ (กิโลกรัม)  รำข้าว (กิโลกรัม)  ขี้เลื่อย (กิโลกรัม) น้ำหมัก (ลิตร)    น้ำเปล่า (ลิตร)    น้ำหนักรวม (หนัก) กรดฟอสฟอริก (ลิตร)  ตลอดระยะเวลาการหมักกากไขมันให้เป็นปุ๋ยหมัก 60 วันนั้น ยังได้ดำเนินการควบคุมสภาวะการหมักอื่น ๆ พร้อมกันด้วย ดังนี้

1) ขนาดของวัสดุหมัก ควบคุมให้วัสดุผสมมีลักษณะทางกายภาพต่างจากกากไขมัน และมีขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อทำให้อากาศสามารถถ่ายเทไปยังวัสดุหมักทั้งหมดได้

2) อุณหภูมิ ควบคุมให้อุณหภูมิกองปุ๋ยหมักในถังหมักต้นแบบสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส อุณภูมิที่สูงนี้จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช ไข่และตัวอ่อนของแมลงวันที่อาจปะปนอยู่กับกากไขมัน และวัสดุผสมได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคพืชภายหลังจากที่นำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์

<

บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี