มาตรการด้านผังเมืองเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติและเตรียมรับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

การผังเมืองในประเทศไทยได้พัฒนามานานหลายทศวรรษ จากการวางผังเมืองเดิมที่เป็นระบบผังมืองแบบอังกฤษ (British Planning System) กระทั่งได้รับอิทธิพลการวางผังเมืองสมัยใหม่ซึ่งเป็นระบบอเมริกันในปี พ.ศ. 2503 และกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการผังเมือง ในปี พ.ศ. 2518 ต่อมาได้รับการแก้ไขหลายครั้ง และเป็นครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2558 แต่สาระสำคัญของการผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติและผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงยังไม่ปรากฏชัดเจน แม้ประชาคมโลกได้รณรงค์เรียกร้องให้ร่วมกันลดผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ โดยมาตรการผังเมืองถูกกล่าวถึงว่าเป็นมาตรการที่ยั่งยืน และถูกประยุกต์ใช้มานานให้เป็นมาตรการหลักในประเทศที่พัฒนาแล้ว กระแสความเคลื่อนไหวและตื่นตัวเรื่องผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เริ่มแผ่ไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 1992 ในการประชุมขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศบราซิล แต่เรื่องราวของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยกลับมีน้อยมาก และจำกัดความสนใจในกลุ่มนักวิชาการ กระทั่งการประชุมเรื่องเดียวกันอีกครั้งในปี 2012 จึงเริ่มมีความตื่นตัวมากขึ้นในประเทศไทย ล้าหลังประชาคมโลกกว่า 20 ปี แต่ความสนใจยังคงจำกัดในกลุ่มเดิม ไม่มีสาระใดที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองมากนัก จึงเป็นคำถามสำคัญว่า มาตรการด้านผังเมืองที่หลายประเทศนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนั้น จักสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้อย่างไร


Planning Measures for Disaster Risk Reduction and Climate Change Resilience 

การผังเมืองในประเทศไทยได้พัฒนามานานหลายทศวรรษ จากการวางผังเมืองเดิมที่เป็นระบบผังมืองแบบอังกฤษ (British Planning System) กระทั่งได้รับอิทธิพลการวางผังเมืองสมัยใหม่ซึ่งเป็นระบบอเมริกันในปี พ.ศ. 2503 และกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการผังเมือง ในปี พ.ศ. 2518 ต่อมาได้รับการแก้ไขหลายครั้ง และเป็นครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2558 แต่สาระสำคัญของการผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติและผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงยังไม่ปรากฏชัดเจน แม้ประชาคมโลกได้รณรงค์เรียกร้องให้ร่วมกันลดผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ  โดยมาตรการผังเมืองถูกกล่าวถึงว่าเป็นมาตรการที่ยั่งยืน และถูกประยุกต์ใช้มานานให้เป็นมาตรการหลักในประเทศที่พัฒนาแล้ว

ในอดีตมิใช่เพียงประเทศไทย แต่หลายประเทศในโลกต่างถกเถียงถึงสาเหตุของภัยพิบัติ และถูกปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หลายครั้งถูกกระแสการเมืองเบี่ยงเบนเพื่อประโยชน์ในการผลักดันนโยบายการเมือง และเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจบางประเภท โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก

เอกสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงปรากฏมากมาย ตัวอย่างเช่น รัฐสภาแห่งสหภาพยุโรป โดยกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและความปลอดภัยด้านอาหาร ได้เผยแพร่เอกสารชื่อ Climate Change and natural Disasters; Scientific evidence of a possible relation between recent natural Disasters and Climate Change ในปี 2006 เอกสารนี้นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศในยุโรปในหลายประเทศ สาระสำคัญได้แก่

 

รายงานฉบับนี้ กล่าวถึงสาเหตุของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งยังเป็นบริบทหลักของทฤษฏี Anthropogenic อันว่าด้วยมนุษย์และกิจกรรมของมนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง มาตรการบรรเทา (Mitigation) และมาตรการปรับตัว (Adaptation) ถูกเสนอให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และผลการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนยาวนานนับสิบปี กระทั่งรัฐบาลบางประเทศที่เคยปฏิเสธเรื่องราวของภาวะโลกร้อน ต้องยอมรับความจริง หลังจากผลกระทบต่างๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี 

ภัยพิบัติจากสภาพอากาศรุนแรงมาก หรือ Extreme Weather Disasters โดยมีข้อมูลทางสถิติปรากฏชัด เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจนเป็นภัยพิบัติคลื่นความร้อนในปี 2003 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในยุโรปมากถึง 22,146 คน และพายุหมุนที่รุนแรงมากขึ้นจนเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ใน 11 ประเทศในยุโรปในปี 2002 แต่ความเสียหายในยุโรปยังน้อยกว่าการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในภูมิภาคต่างๆของโลกโดยเฉพาะประเทศยากจนและล้าหลังในช่วงเวลาเดียวกัน

ขณะเดียวกัน เอกสารทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากประเทศต่างๆ ซึ่งล้วนมีข้อสรุปไม่ต่างกันมากนัก โดยเฉพาะแนวโน้มในอนาคตและความผันผวนไม่แน่นอนของสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านต่างๆ ตามมา บริบทของภัยพิบัติจากสภาพอากาศรุนแรงมาก หรือ Climate Extreme Disasters จึงเป็นความท้าทายของผู้ที่เกี่ยวข้อง 

ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัด ภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกว้างไกลมาก แทบทุกภาคส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผลกระทบแต่ละด้านยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในหลายมิติ จากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สู่ความเปราะบางด้านเศรษฐกิจและสังคม จากหมู่บ้านชนบทสู่เมืองใหญ่ จากภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น

ความร่วมมือระหว่างสมาชิกประชาคมโลกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดบริบทอื่นตามมาและถูกผนวกเป็นวาระสำคัญร่วมกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

วาระสำคัญ ได้แก่ ข้อตกลงเซนไดว่าด้วยการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ (Sendai Agreement on Disaster Risk Reduction) และข้อตกลงกรุงปารีสว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Paris Agreement on Sustainable Development) และวาระใหม่ว่าด้วยการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) วาระเหล่านี้มีเป้าหมายในมิติของเวลาเดียวกันคือ บรรลุวัตถุประสงค์ภายในปี 2030

ด้วยเหตุนี้ กระแสงานผังเมืองในประชาคมโลกจึงปรากฏเรื่องราวเหล่านี้ เช่น Sustainable Sydney 2030 ในประเทศออสเตรเลีย โดยเน้นสาระความเป็นสีเขียว ความเป็นสากลระดับโลก และการเชื่อมโยงต่างๆ Green, Global and Connect ซึ่งเป็นบริบทนำในงานผังเมือง และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายจากฝ่ายบริหารในอนาคต จนเป็นกระแสให้มหานครขนาดใหญ่ลงมาถึงระดับชุมชน (Neighborhood) ต่างกำหนดสาระเหล่านี้เป็นแกนสำคัญ (Core) ของการพัฒนาเมือง 

หากพิจารณากรณีประเทศไทย บทเรียนจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วประเทศสามารถหยิบยกเป็นตัวอย่างได้มากมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเพื่อตอบรับภัยพิบัติ เช่น การแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อบรรเทาผลกระทบของภัยพิบัติ กระทั่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกครั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติ หากจำแนกมาตรการการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติที่ปรากฏชัดในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญมาตรการเน้นสิ่งก่อสร้างเป็นหลักในการป้องกันภัยพิบัติ ดังปรากฏเป็นโครงการขนาดต่างๆ น้อยใหญ่ตามเหตุที่เกิดขึ้น กระทั่งปัจจุบันโครงการเหล่านี้ยังถูกเสนอแนะ พร้อมกับงบประมาณที่สูงมากขึ้น จนเป็นประเด็นถกเถียงถึงความยั่งยืน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง เช่น กรณีโครงการป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ สร้างเสร็จในปี 2552 และท่วมใหญ่ในปี 2553 เป็นต้น

โครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับงานผังเมือง แต่ไม่ปรากฏสาระรวมในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นกลุ่มคนที่มีความเปราะบางมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากเกิดภัยพิบัติ การช่วยเหลือจะยากลำบาก กระทั่งปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏแนวทางปฏิบัติหรือการจัดเตรียมทรัพยากรหรือสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงนี้ 

ตามหลักการ Build Back Better ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเซนได นั่นหมายความว่า การออกแบบและวางผังเมืองควรเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย (Simple Urban Pattern) เพื่อสะดวกต่อการดูแล ประหยัดงบประมาณ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบที่ยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลาน้อยเมื่อจำเป็นต้องซ่อมแซม ทำให้เมืองสามารถฟื้นฟูและประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในเวลาที่สั้นที่สุด

อุปสรรคในการดำเนินการที่ประสบบ่อยครั้ง ได้แก่ ขั้นตอนบังคับตามกฎหมายในรูปการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือสาธารณชน เนื่องจากสังคมไทยยังเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบต่อส่วนรวม  การจัดประชุมประชาชนในงานผังเมืองจึงมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นไม่มากนัก บางครั้งน้อยมาก แต่การคัดค้านและคำร้องมักปรากฏตามมาหลังจากประสบปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย  คำร้องคัดค้านมักเกิดขึ้นในเมืองที่การพัฒนารวดเร็ว มีผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งสูงมาก เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ฉะเชิงเทรา สระบุรี ชลบุรี ระยอง และ เมืองที่การเก็งกำไรภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรง เช่น นนทบุร

การเพิ่มพื้นที่โล่งในเมืองเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ด้วยความพยายามในการเพิ่มมาตรฐานพื้นที่โล่งในเมืองให้ได้อย่างน้อย 15 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน เทียบกับกรณีกรุงเทพมหานครในปัจจุบันที่มีพื้นที่โล่งไม่ถึง 5 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน โดยที่ดินในย่านธุรกิจมีราคาสูงเกินกว่างบประมาณของรัฐในการจัดซื้อหรือเวนคืน ในขณะที่นักลงทุนภาคเอกชนต้องการแสวงหาประโยชน์และกำไรให้คุ้มค่ากับราคาที่ดินกลางเมืองเหล่านี้ การเว้นที่ว่างเพื่อเพิ่มพื้นที่โล่งในเมืองจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 

อาจกล่าวได้ว่า มาตรการผังเมืองเป็นมาตรการป้องกันภัยพิบัติที่ยั่งยืนที่สุด หลายประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวัน ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้มาตรการผังเมืองลดความเสียหายจากภัยพิบัติ ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันยังเผชิญปัญหาภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากขึ้นและมากขึ้น 

เอกสารอ้างอิง
Anderson J. (2006), Climate Change and natural Disasters; Scientific evidence of a possible Relation between recent natural Disasters and Climate Change, the European Parliament’s Environment, Public health and Food Safety Committee. Brussels, Belgium
United Nations (2015), Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 20015-2030, The Secretariat for Disaster Risk Reduction, UN, New York, USA


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี