“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย

บทคัดย่อ

“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย พิชญา ปิยจันทร์ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษาและครูการศึกษาพิเศษ



พิชญา ปิยจันทร์. (2561). “ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School)โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 2), 5-13.

“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School)

โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย

การศึกษาทางเลือก ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเรียนและการพัฒนาแบบองค์รวมของเด็ก ๆ นอกเหนือจากการเรียนเพื่อคะแนน หรือการเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นกลางและชนชั้นกลางกลุ่มที่มีรายได้ระดับสูง ความนิยมในการศึกษาทางเลือกส่วนหนึ่งเกิดจาก “การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก” ของประเทศฟินแลนด์ ที่เด็ก ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ “เล่น” แต่ยังคงทำคะแนนสอบในโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment:PISA) ได้ดีเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก (Anderson & Wang, 2016) เด็ก ๆ ในประเทศแถบทวีปสแกนดิเนเวียหรือยุโรปเหนือ รวมถึง ประเทศฟินแลนด์จะได้รับการปลูกฝังให้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสังเกตและลงมือทำมาตั้งแต่การเรียนในระดับอนุบาล ซึ่ง “ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) หรือโรงเรียนในป่าเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ (Walker, 2016) นอกจากนี้ ประเทศฟินแลนด์เริ่มหันมาใช้รูปแบบการเรียนที่เน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและการลงมือปฏิบัติจริง หรือที่เรียกว่า “Phenomenon-Based Learning” (PBL) (BBC, 2017) ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้มากขึ้นและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีเสรีภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

สำหรับในประเทศไทยนั้น การศึกษาใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับจุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นการศึกษากระแสหลักในระบบโรงเรียนและมุ่งตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของผู้เรียน หากไม่ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร (extracurricular activities) แล้ว จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดการศึกษาทางเลือก (alternative education) ทั้งสิ้น โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542  นิยามการศึกษาทางเลือกไว้ว่า 

อย่างไรก็ตาม “ฟอเรสต์ สคูล” ยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย โรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” มักเป็นโรงเรียนเอกชนทางเลือก เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ หรือโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ เป็นต้น นอกจากนี้ คำว่า “ฟอเรสต์ สคูล” หรือ “โรงเรียนในป่า” มักถูกเข้าใจว่าเป็นการจัดการศึกษาแก่ชนกลุ่มน้อย เด็กยากจน หรือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ทุรกันดาร ทั้ง ๆ ที่ “ฟอเรสต์ สคูล” มีหลักการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจและเข้าใจธรรมชาติ โดยในขณะเดียวกันก็พัฒนาผู้เรียนจากภายในด้วย


การจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” มีความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และสำรวจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในแต่ละฤดู กิจกรรมของฟอเรสต์ สคูลจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเรียนในครั้งนั้น ๆ โดยกิจกรรมต่าง ๆ จะถูกร้อยเรียงเข้าด้วยกันผ่านหลักการสำคัญ 6 ประการ (Institute for Outdoor Learning, 2012) ดังต่อไปนี้
   1. จัดการศึกษาระยะยาวในป่าหรือในพื้นที่ธรรมชาติ และให้ผู้เรียนเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอ หลักสำคัญของการจัดกิจกรรม จะเน้นการวางแผน การปรับตัว การสังเกต และการทบทวน
   2. กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
   3. จัดกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม ปลูกฝังความอดทน มุมานะ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ความมั่นใจในตนเอง พึ่งพาตนเองได้และมีความคิดสร้างสรรค์
   4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองรับความเสี่ยงในการทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะกับทักษะความพร้อมของผู้เรียน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
   5. ดำเนินการโดยครู หรือผู้นำกิจกรรม ผู้ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะจากศูนย์ “ฟอเรสต์ สคูล” ที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น และต้องได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอยู่เสมอ
   6. จัดกิจกรรมโดยเน้นการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนา
จากหลักการจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” ทั้ง 6 ประการจะเห็นได้ว่า ล้วนมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น 

กิจกรรมของ “ฟอเรสต์ สคูล”

สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมาหลายครั้งแล้ว ครูอาจมอบหมายให้ก่อกองไฟเพื่อทำอาหารในป่าได้อีกด้วย ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้เวลาฝึกฝนทักษะการก่อกองไฟและผ่านการสอบปฏิบัติก่อนที่จะก่อกองไฟด้วยตัวเอง นอกจากนี้ นักเรียนต้องวางแผนการทำอาหาร ตลอดจนวางมาตรการรักษาความปลอดภัยของตนเองอย่างละเอียด ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการวางแผน คือ การบูรณาการความรู้และพัฒนาทักษะของนักเรียนนั่นเอง (O’Brien & Murray, 2006)


ในแต่ละกระบวนการเรียนรู้ (รูปภาพที่ 1) เด็ก ๆ จะได้ฝึกคิดอย่างละเอียดและได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยจะต้องบันทึกผลการปฏิบัติทุกครั้ง นักเรียนจะได้ฝึกเปรียบเทียบว่า กิ่งไม้สดหรือกิ่งไม้แห้งทีนำมาใช้ กิ่งไม้ประเภทใดจะสามารถก่อไฟได้ดีกว่ากัน โดยครูสามารถเชื่อมโยงการเรียนเรื่องนี้เข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ได้ การคำนวณขนาดและจำนวนเป็นการฝึกบวกและลบเลขในวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ นักเรียนจะได้ฝึกพูดและนำเสนอความคิดของตน ตลอดจนการถาม การตอบปัญหา และข้อสงสัยกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะและพัฒนาการทางภาษาอีกด้วย จะเห็นได้ว่า กิจกรรมบางส่วนของฟอเรสต์ สคูลมีความคล้ายคลึงกับการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดในประเทศไทยอยู่มากตรงที่นักเรียนได้ฝึกทักษะชีวิต อย่างไรก็ตาม ฟอเรสต์ สคูลเน้นให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้จากวิชาต่าง ๆ ฝึกพัฒนาตนเอง ตลอดจนได้เรียนรู้การเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมากกว่ากลุ่มวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดที่ส่วนใหญ่เน้นทักษะการเอาตัวรอดในยามคับขัน นอกจากนี้ ฟอเรสต์ สคูล ยังเน้นให้นักเรียนฝึกฝนทักษะจนชำนาญและเกิดความมั่นใจก่อนที่จะลงมือทำตั้งแต่ต้นจนจบอีกด้วย

ผลของการจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล”

การจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” ส่งผลต่อผู้เรียนและครู สรุปได้ดังนี้

1. ผลต่อผู้เรียน
ตารางที่ 1 ทักษะด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนาหลังจากเข้าร่วม “ฟอเรสต์ สคูล”

แนวทางการพัฒนาทักษะ  ความมั่นใจในตนเอง
(Confidence)
นักเรียนมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนมากขึ้น สามารถสื่อสารด้วยความมั่นใจไปยังผู้เรียนคนอื่นหรือครู ผ่านภาษากาย สายตา และคำพูดได้ นอกจากนี้ นักเรียนยังรู้สึกผ่อนคลาย เป็นตัวของตัวเองและมีความกระตือรือร้นมากขึ้น
นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้ทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการแบ่งปันอุปกรณ์ และได้รับการส่งเสริมให้เล่นเกมที่ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
(Language and communication)
นักเรียนสามารถต่อรองและสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนได้ และรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องสื่อสารกับเพื่อน ๆ หรือผู้ใหญ่ การใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เรียนรู้ตามความถนัดของแต่ละคน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การต่อยอดทางความคิด โดยไม่จำกัดอยู่กับการเขียนและทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน พัฒนาการทางด้านร่างกาย 
(Physical skills)
กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ได้พัฒนาเต็มที่ เด็ก ๆ เคลื่อนไหวได้คล่องตัวขึ้น ไม่ล้มง่าย หยิบจับอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่เหนื่อยง่าย มีความระแวดระวังเกี่ยวกับพื้นที่รอบตัว มีความกระตือรือร้นและอยากสัมผัสพื้นผิวใหม่ ๆ มีความอดทนมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับการเดินทางในป่าที่ค่อนข้างลำบาก
ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ การเรียนรู้ในการทำตามกติกาเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อตนเองและคนรอบข้าง หมั่นสังเกตว่าสิ่งใดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และการป้องกันแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้ ผู้เรียนยังได้รับการสนับสนุนให้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด เพื่อสังเกตสัตว์ป่าและพรรณพืชรอบตัว ที่มา: O’Brien และ Murray (2006)

2. ผลต่อครู

สรุป
เอกสารอ้างอิง
สํานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Anderson, J., and Wang, A.X. (2016). In the world’s biggest education test, one small country has raced past all the others. [Online]. Available form: https://qz.com/853656/massachusetts-ranks-nears-singapore-the-education-powerhouse-in-global-assessment-of-15-year-olds-who-are-the-best-students-in-the-world-according-to-pisa-2015/ [20 February 2018]
BBC. (2017). ระบบการเรียนรูปแบบใหม่ในฟินแลนด์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bbc.com/thai/international-40093564. [1 February 2018]
Harris, F. (2017). The nature of learning at forest school: practitioners' perspectives. International Journal of Primary, Elementary and Early Years Education 45(2): 272-291.
Institute for Outdoor Learning. (2012). What is Forest School? [Online]. Available form: http://www.forestschoolassociation.org/what-is-forest-school/ [1 February 2018]
Nainapat, P. (2017). บุกการศึกษาฟินแลนด์ : ระบบการเรียนแท้จริงเป็นยังไง เรื่องไหนเข้าใจถูกผิด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://thematter.co/pulse/a-little-bit-more-about-finland-education/20261 [1 February 2018]
O’Brien, L., and Murray, R. (2006). A marvellous opportunity for children to learn. [Online]. Available form: https://www.forestry.gov.uk/pdf/fr0112forestschoolsreport.pdf/$FILE/ fr0112forestschoolsreport.pdf [20 February 2018]
Turtle, C., Convery, I., and Convery, K. (2015). Forest Schools and environmental attitudes: A case study of children aged 8–11 years. Cogent Education 2(1): 1-14. doi: 10.1080/2331186X.2015.1100103
Walker, T.D. (2016). Kindergarten, Naturally. [Online]. Available form: https://www.theatlantic.com/ education/archive/2016/09/kindergarten-naturally/500138/ [20 February 2018]

 

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี

ISSN XXXX-XXXX (Online)
Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

© 2024 Thai Environmental, All rights reserved.

ติดต่อเรา

สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ej@chula.ac.th