โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

ในปี 2558 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะพง เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการจัดทำแผนผังพื้นที่สีเขียว แผนผังแสดงที่โล่ง (open - space plan) และ ผังชุมชน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และต่อมาในปี 2559 สำนักงานนโยบายฯ ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะพง ในการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดทำผังชุมชนตะพง เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการพื้นที่ สีเขียวและพื้นที่โล่งในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง สำหรับบทความนี้ จะได้กล่าวถึงผลผลิตหลักของการดำเนินงานโครงการในปี 2559 พร้อมทั้งบทเรียน และแนวทางการขยายผลต่อไปในอนาคต


โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม 
กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง 

โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. ที่มาของโครงการ
ในปี 2558 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการจัดทำแผนผังพื้นที่สีเขียว แผนผังแสดงที่โล่ง (open - space  plan) และผังชุมชน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และต่อมาในปี 2559 สำนักงานนโยบายฯ ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง ในการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดทำผังชุมชนตะพง เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง สำหรับบทความนี้ จะได้กล่าวถึงผลผลิตหลักของการดำเนินงานโครงการในปี 2559 พร้อมทั้งบทเรียน และแนวทางการขยายผลต่อไปในอนาคต

2. แนวทางการพัฒนาผังชุมชนเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง

เมื่อพิจารณาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและกลไกในการบริหารจัดการ สามารถแบ่งพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) พื้นที่อนุรักษ์ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ป่าสงวน เป็นต้น โดยทั่วไปถูกควบคุมไม่ให้มีการบุกรุกจากการพัฒนาเมือง และไม่ให้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ใดในพื้นที่ (2) พื้นที่ใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่แหล่งน้ำเพื่อการดำรงชีพ และพื้นที่ใช้สอยประจำวัน ซึ่งในโครงการนี้ ได้แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ (ก) พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา (เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ป่าชายเลน) (ข) พื้นที่เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ชุมชน (ค) พื้นที่เพื่อนันทนาการและพักผ่อน (ง) พื้นที่เพื่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (จ) พื้นที่เพื่ออรรถประโยชน์ (ฉ) พื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น และ (ช) พื้นที่เพื่อการสาธารณประโยชน์อื่น (ภาพที่ 1) กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ประเภทพื้นที่อนุรักษ์ และประเภทพื้นที่ใช้ประโยชน์ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ประเภทพื้นที่อนุรักษ์ใช้กลไกทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในขณะที่พื้นที่ใช้ประโยชน์ใช้กลไกทางด้านผังเมืองเป็นเครื่องมือสำคัญ

ผังชุมชนสามารถถูกผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) ผนวกเนื้อหาของผังชุมชนเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น (2) จัดทำเป็นเทศบัญญัติท้องถิ่น (3) ใช้กลไกทางผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อนำข้อมูลในผังชุมชน ไปใช้ประกอบการจัดทำผังเมืองรวม เป็นต้น 



ในประเทศไทย หน่วยงานและองค์กรหลายแห่งได้จัดทำผังชุมชนในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกสำหรับปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สำหรับการจัดทำผังชุมชนตะพงในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคต มีขั้นตอนสำคัญประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกำหนดวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) รวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ความจำเป็น โอกาส และความเสี่ยงที่ชุมชนประสบอยู่หรือจะประสบในอนาคต โดยศึกษารวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อออกแบบกระบวนการและกำหนดประเด็นศึกษา (ภาพที่ 2 และ 3) (3) สร้างภาพอนาคตการพัฒนาชุมชนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการพัฒนาชุมชนตามที่ต้องการและคาดหวัง เพื่อใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการจัดทำผังชุมชน โดยได้จัดให้มีการหารือปัญหาข้อจำกัดและทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน การใช้ประโยชน์จากโอกาส และการรับมือกับความเสี่ยง โดยได้ข้อสรุปการพัฒนาในอนาคตที่ชุมชนตะพงต้องการ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม (การรักษาสภาพทางธรรมชาติ การป้องกันภัยพิบัติ) (ภาพที่ 4 และ 5) (4) บูรณาการข้อมูลข้างต้นโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาร่างผังนโยบาย (ผังแนวคิด) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ด้านการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง จากนั้น ได้นำเสนอในที่ประชุมหารือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน อุตสาหกรรม และกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้อง ทีละกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ข้อมูลที่ประมวลได้ทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงร่างผังนโยบายทั้ง 4 ผัง ดังกล่าว (5) พัฒนายุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และตัวชี้วัด โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดทำเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในผังชุมชน จากนั้น ได้นำเสนอในที่ประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงรายละเอียดเป็นขั้นตอนสุดท้าย (ภาพที่ 6)

อย่างไรก็ตาม เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ได้จริง (ร่าง) ข้อบัญญัติดังกล่าวที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการในขั้นตอนนี้จะต้องถูกนำเสนอต่อประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น และต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น พร้อมทั้งผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเพื่อการประกาศใช้ต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องมีกระบวนการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามของยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการดังกล่าว เพื่อสามารถดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งประเภทพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา และพื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ได้อย่างยั่งยืนตามความต้องการของชุมชน

3. ข้อคิด ประโยชน์ และแนวทางการขยายผลโครงการในอนาคต
สำหรับนักวิชาการที่สนใจจัดทำผังชุมชนในพื้นที่อื่นหรือต่อยอดขยายผลต่อไป มีข้อคิดและข้อสังเกต ได้แก่ (1) ความตั้งใจและร่วมมืออย่างต่อเนื่องของผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้นำชุมชน เป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ดังนั้น คณะผู้ศึกษาต้องสื่อสารให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ และเป็นระยะๆ จนสิ้นสุดโครงการ (2) ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานโครงการเป็นระบบ และสามารถสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีประสิทธิภาพ (3) ในการวางแผนการสำรวจพื้นที่ควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลพื้นฐานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ให้มากที่สุด โดยควรพิจารณาใช้ข้อมูลในแผนที่ภาษี (หากมี) เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่สำคัญ เช่น ขอบเขตหมู่บ้าน กรรมสิทธิ์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกจากนี้ คณะผู้สำรวจควรประกอบด้วยผู้แทนชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อให้การชี้เป้าหมายพื้นที่และการสำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและรวดเร็ว มีการมีส่วนร่วมของประชาชน และผลการสำรวจพื้นที่ควรนำมาจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการได้อย่างกว้างขวางต่อไป (4) คณะผู้ศึกษาและจัดทำผังชุมชน ควรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง การพัฒนาเมือง การออกแบบชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และบุคลากรสนับสนุนเพื่อบันทึกข้อมูลและถ่ายภาพ

บรรณานุกรม
มัธยา รักษาสัตย์. (2558). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม (ตอนที่ 1). วารสารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 2) เมษายน – มิถุนายน, หน้า 34-47
มัธยา รักษาสัตย์. (2558). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม (ตอนที่ 2). วารสารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 3) กรกฎาคม – กันยายน, หน้า 30-37
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการจัดทำผังชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม: กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. รายงานฉบับสุดท้าย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). เอกสารถอดบทเรียน. โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม: กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ วารสารสิ่งแวดล้อม

1

ขอบเขตของเนื้อหา

วารสารสิ่งแวดล้อม เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการและที่ปรึกษาวารสารสิ่งแวดล้อม

เปิดรับบทความ/ข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทุกด้าน โดยจัดส่งต้นฉบับผ่านทางระบบ Submission พร้อมระบุชื่อและนามสกุล สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เขียน/ผู้รับผิดชอบบทความ

  • ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
  • กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
  • ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
  • นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
  • บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
  • ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
  • วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
  • วัชราภรณ์ สุนสิน
  • ศีลาวุธ ดำรงศิริ
  • อาทิมา ดับโศก

วารสารสิ่งแวดล้อม

เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 และเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ปีที่ 23 ปี 2562

ส่งบทความ

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

วารสารสิ่งแวดล้อมเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

วารสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ https://ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สำหรับสำนักพิมพ์

วารสารสิ่งแวดล้อมเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังวารสารสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • วารสารสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ