แนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

บทคัดย่อ

จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (2) เพื่อศึกษาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าในพื้นที่และการเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ (3) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอุทยานฯ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ สถานประกอบการ และนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 28 คน รวมถึงการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข จากการศึกษาพบว่า (1) อุทยานฯ มีปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้คือ ปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูง ปัญหาสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และพฤติกรรมของผู้ที่มาเยือนอุทยานฯ เขาใหญ่ (2) ด้านทัศนคติพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักเล็งเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากต้องดูแลผืนป่าสงวนที่มีผลต่อความมั่นคงระดับชาติ สำหรับผู้ให้ข้อมูลรองจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่เพราะเป็นแหล่งอาศัยและใช้ทำมาหากินจึงก่อให้เกิดความหวงแหน สำหรับนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งที่ได้สัมภาษณ์จะเล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของพื้นที่ (3) ด้านการให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีหน้าที่ในการอนุรักษ์และปกป้องอุทยานฯ ในฐานะที่เป็นมรดกโลก สำหรับสถานประกอบการที่อยู่รอบอุทยานฯ จะให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเพราะจำเป็นต้องพึ่งพาอุทยานฯ ในการประกอบอาชีพ และสำหรับนักท่องเที่ยว จะให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง


THE DEVELOPMENT OF KHAO YAI NATIONAL PARK
FOR SUSTAINABLE TOURISM

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วิธีดำเนินการวิจัย
ผลการวิจัย
1. ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบทางกฎหมาย
เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีกฎระเบียบและข้อกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติอยู่ ซึ่งกำหนดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ส่วนด้านความเข้มงวดของข้อกฎหมาย ผู้ให้ข้อมูลหลักให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่า พ.ร.บ.อุทยานฯ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีความเข้มงวดอยู่ในตัวบทกฎหมาย โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก 1 คนมีทัศนคติที่ต่างออกไปว่า กฎหมายที่บังคับใช้จะเข้มงวดหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ และการที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดและเข้มงวด มีสาเหตุมาจากเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านกฎหมาย และยังพบอีกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความร่วมมือในการปฏิบัติได้มากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย ซึ่งพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง คือ การให้อาหารสัตว์ป่า ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเขตอุทยานฯ และการส่งเสียงดัง เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อภิชญา พูลสวัสดิ์ (2556) ซึ่งพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยกระทำพฤติกรรมทางลบสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ยกเว้นเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลทางสถิติไม่แตกต่างกันเท่าใด เป็นผลมาจากกฎหมายในต่างประเทศมีบทกำหนดโทษที่รุนแรงกว่าประเทศไทย เจ้าหน้าที่ในต่างชาติมีความเด็ดขาด ไม่มีการประนีประนอม ทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ส่งผลให้นักท่องเที่ยวในต่างประเทศมีตัวเลขผู้กระทำผิดไม่สูง ในด้านมาตรการรองรับที่ทางอุทยานฯ ดำเนินการ คือ โครงการตาสับปะรดและโครงการประชาสัมพันธ์ 4 ม ที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอุทยานฯ ตามแนวคิด “หัวใจสีเขียว” (Green Heart) คือ หัวใจที่เคารพในวิถีแห่งธรรมชาติ สร้างทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ และตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ พบว่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ขาดการประชาสัมพันธ์แบบต่อเนื่องโดยประชาสัมพันธ์เพียงช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมากเท่านั้น สื่อที่ใช้ประชาสัมพันธ์มีข้อมูลไม่ครบถ้วนคือ ระบุเพียงข้อห้ามแต่ไม่มีการอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน และข้อความที่ประชาสัมพันธ์มีเพียงภาษาไทย ไม่มีเนื้อหาที่ทำให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศและการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว

2.1) สถานประกอบการ ส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Social Network และผ่านทางนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักที่โรงแรมหรือเข้ามารับประทานอาหารภายในร้านอาหาร ผู้ให้ข้อมูลรองบางส่วนให้การสนับสนุนด้านอาหารแก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ออกลาดตระเวน บางส่วนก็เข้าร่วมกิจกรรมของทางอุทยานฯ โดยตรง เช่น กิจกรรมปลูกป่า ทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อยู่ในกรอบแนวคิด “ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” (Green Plus) คือ การมีกิจกรรมหรือการบริจาคให้คืนกลับแก่ธรรมชาติด้วยความเต็มใจ อีกทั้งบางส่วนยังมีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่และจัดการขยะตามหลักการอนุรักษ์ มีการบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งท่อดักไขมัน กรองเศษอาหาร และลดของเสียก่อนทิ้ง ซึ่งอยู่ในขอบข่ายแนวคิด “ชุมชนสีเขียว” (Green Community) คือ แหล่งท่องเที่ยวที่มีความรู้ที่จะบริหารจัดการการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เห็นแก่ส่วนรวม จะทำให้การท่องเที่ยวของชุมชนยั่งยืนไปได้ตลอด ซึ่งระดับการให้ความร่วมมือจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเข้าใจและการให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สอดคล้องกับแนวคิดของ พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร คือ ศักยภาพทางการท่องเที่ยว กระบวนความคิดแบบยั่งยืนในด้านการมีจิตสำนึกที่ดีในการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความยั่งยืนของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวมากกว่าการมุ่งเน้นผลประโยชน์ด้านรายได้ มุ่งที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้นำชุมชนเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมกับการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม (พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, 2557) 

จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก พบว่า เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลในแต่ละภาคส่วนมีไม่เพียงพอ ซึ่งทางรัฐบาลก็ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก โดยสาเหตุที่เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอเกิดจาก 3.1) รัฐบาลไม่มีเงินสนับสนุนเพียงพอ 3.2) ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างเหมาะสม เช่น เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามเป็นหลัก แต่ปัจจุบันได้นำเจ้าหน้าที่บางส่วนไปช่วยดูแลด้านความปลอดภัยและให้บริการนัก ท่องเที่ยว ทำให้จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ต้องลาดตระเวนผืนป่าจะน้อยลง 3.3) เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา และ 3.4) รายได้และเบี้ยเลี้ยง ซึ่งส่งผลต่อความตั้งใจและความซื่อสัตย์ในหน้าที่การงาน ผลกระทบคือเจ้าหน้าที่ที่มีศักยภาพต้องลาออกและไปหางานใหม่ที่มีค่าตอบแทนที่ดีกว่า 

4. ด้านปัญหาและอุปสรรคของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 
5.1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก มีความคิดเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดี เพราะเป็นการพัฒนาด้านการคมนาคมควบคู่กับการอนุรักษ์ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ต่าง ๆ กล่าวคือ ถนนเส้น 304 นั้นเป็นถนนที่แคบและลาดชัน ทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ในการพัฒนาครั้งนี้จะทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น ทั้งยังเป็นถนนเส้นหลักในขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คำนึงถึงการลดผลกระทบทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ป่า โดยได้ทำสะพานยกระดับคู่ เพื่อให้สัตว์ลอดไปมาระหว่างพื้นที่ป่าทั้ง 2 แห่งซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่าในถิ่นอาศัย เรื่องของการขยายถิ่นอาศัย การเพิ่มขึ้นของแหล่งอาหาร การขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าที่อาจใกล้สูญพันธุ์ และแก้ปัญหาการสืบพันธุ์ของสัตว์ป่าในสายเลือดเดียวกันเอง และ 5.2) ผู้ให้ข้อมูลรอง ส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องโครงการเชื่อมผืนป่า ทราบเพียงเรื่องการขยายถนนเส้น 304 และมีทัศนคติเป็นกลางในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจาก 2 เลนเป็น 4 เลน คือ มีความเห็นที่สอดคล้องกัน หากการพัฒนาไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติจนเกินความเหมาะสม ผู้ให้ข้อมูลบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการขยายถนนเส้น 304 พวกเขาได้เล็งเห็นถึงข้อเสียที่จะเกิดขึ้น เช่น ปัญหามลพิษจากการก่อสร้างและมลพิษทางอากาศที่เกิดจากจากควันรถ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ามากขึ้น แต่บางส่วนเห็นว่า การพัฒนานั้นจะส่งผลดีต่อธุรกิจ เพราะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางสะดวก สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้วิจัยได้ค้นพบสาเหตุที่ผู้ให้ข้อมูลรองไม่เห็นด้วยต่อการขยายถนนว่า ผู้ให้ข้อมูลรองส่วนใหญ่ทราบแต่เพียงเรื่องการขยายถนนเส้น 304 จึงทำให้ผู้ให้ข้อมูลรองเหล่านั้นแสดงความไม่เห็นด้วยเพราะขาดความเข้าใจถึงเหตุผลและข้อสนับสนุนในการพัฒนาดังกล่าว เมื่อผู้วิจัยได้ทำการอธิบายถึงเหตุผลโดยมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ผู้ให้ข้อมูลรองเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ โดยแสดงความ เห็นด้วยกับการพัฒนาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าสื่อที่ประชาสัมพันธ์หากมีเนื้อหาครบถ้วน ชัดเจน เข้าใจง่าย เชื่อถือได้และมีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง ก็จะส่งผลต่อความเข้าใจ ทัศนคติ และความคิดเห็นของประชาชนผู้รับสารดังกล่าว

ปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กำลังดำเนินงานภายใต้มาตรการการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังมีการประนีประนอมต่อผู้กระทำผิดพ.ร.บ.อุทยานฯ รวมถึงระบบการประสานงานระหว่างกันยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะสามารถคำนวนปริมาณนักท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยำ และพบว่า ขณะนี้ทางอุทยานฯ ได้มีมาตรการจองบ้านพักออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวคงที่แล้ว และกำลังเริ่มทดลองระบบจองเต๊นท์ออนไลน์อย่างจริงจัง แต่ ณ ตอนนี้ระบบจองเต๊นท์ออนไลน์ยังไม่คงที่เท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถคำนวณตัวเลขนักท่องเที่ยวที่พักค้างคืนในอุทยานฯ ได้อย่างแม่นยำ ผู้ให้ข้อมูลหลัก เสนอว่า หากจำนวนนักท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เต็ม ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวไปกางเต๊นท์ที่อุทยานฯ ข้างเคียง นั่นคืออุทยานแห่งชาติทับลาน ปางสีดาและตาพระยาตามลำดับ เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดกับธรรมชาติ รวมถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาห้องน้ำไม่เพียงพอและปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณนักท่องเที่ยวส่งผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว ทำให้พื้นที่เกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว มีสาเหตุมาจากการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งงบประมาณการสนับสนุนด้านบุคลากร ความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมของบุคลากร วัฒนธรรมและขนบธรรมเนีบมประเพณี รวมถึงนักท่องเที่ยวที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติต่อการให้ความสำคัญและคุณค่าที่มีต่อพื้นที่เหล่านั้น

     1) แนวทางการแก้ไขด้านนโยบายและบุคลากรอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ควรจัดทำแผนการจัดการอุทยานฯ ให้เป็นรูปธรรม จัดสรรงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีมาจัดจ้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อีกทั้งควรนำแนวคิด 7 Greens Concept มาปรับใช้ในส่วนของการท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ เช่น 1.1) Green Heart (หัวใจสีเขียว) การจัดโครงการที่สร้างทัศนคติที่ดีและให้ ตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม 1.2) Green Logistic (รูปแบบการเดินทางสีเขียว) รูปแบบการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.3) Green Community (ชุมชนสีเขียว) รณรงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงจุดยืนถึงความร่วมมือกันของชุมชนท้องถิ่น 1.4) Green Attraction (แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว) หมั่นดูแลรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานฯ ไม่ให้มีสภาพเสื่อมโทรม 1.5) Green Activity (กิจกรรมสีเขียว) จัดกิจกรรมสำหรับที่แฝงไปด้วยการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม 1.6) Green Service (การบริการสีเขียว) รณรงค์ให้ลดปริมาณการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.7) Green plus (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) รณรงค์ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม หรือรณรงค์ให้มีการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งให้กับกองทุนเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย 
     2) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ควรหาวิธีจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกต้นไม้โตไวขึ้นมาทดแทนป่าสงวนที่ถูกทำลาย รวมไปถึงปลูกพืชและต้นไม้ที่เป็นอาหารของสัตว์ป่า เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าออกมาหาอาหารในพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ซึ่งจะส่งผลให้การดำรงชีวิตของสัตว์ป่าเปลี่ยนแปลงไป 
     3) แนวทางการแก้ไขด้านการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ ควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ความปลอดภัย เครื่องมือสื่อสาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
     4) แนวทางการแก้ไขด้านการจัดการนักท่องเที่ยวและนันทนาการในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ควรจริงจังกับมาตรการการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวโดยนำประโยชน์จากเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความถูกต้องแม่นยำของระบบฐานข้อมูล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอให้มีการใช้ “National Parks of Thailand Card” คือ บัตรผ่านอุทยานฯ ที่ใช้แสดงตัวตนของผู้ถือบัตร โดยบัตร 1 ใบสามารถใช้ได้กับทุกอุทยานฯ ในประเทศไทย เป็นการลดการใช้กระดาษ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังสามารถนับสถิติของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานฯ ในประเทศไทยได้อย่างแม่นยำอีกด้วย 
     5) แนวทางการแก้ไขด้านสังคม หน่วยงานภาครัฐ ควรมีนโยบายในกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกที่ดี ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ของคนในชุมชน โดยมีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง เสริมสร้างความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งเสริมให้คนในชุนชนผลิตสินค้าให้โดดเด่นด้านเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และยังเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วย


บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: ผลสำเร็จของงานบริการวิชาการแก่สังคมด้านสิ่งแวดล้อม...สู่การพัฒนา 1 คณะ 1 โมเดล (The achievement of academic services to society for the environment...To the development of One Faculty – One Model)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี