บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยวัสดุปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกชนิดใหม่สำหรับนำมาทดแทนกาบมะพร้าว โดยเน้นไปที่การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกระบะวัสดุปลูก เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งในอีกแนวทางหนึ่ง
บทความ: กระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร
อุตสาหกรรมกล้วยไม้สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจากการส่งออกสู่ตลาดโลกเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมด โดยกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกมีการผลิตและส่งออกประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตกล้วยไม้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้การปลูกกล้วยไม้จึงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการปลูกสำคัญเช่นกาบมะพร้าวมีความขาดแคลน ซึ่งกาบมะพร้าวเป็นวัสดุปลูกที่มีราคาสูงอันเนื่องจากพื้นที่ปลูกและผลผลิตที่ลดลง ซึ่งเกิดจากการระบาดของหนอนหัวดำ ด้วงงวงและแมลงดำหนาม รวมถึงเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนใช้พื้นที่ไปปลูกพืชชนิดอื่น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ในด้านของต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก เกิดปัญหากาบมะพร้าวไม่เพียงพอและราคาสูงขึ้น จากเดิมกระบะปลูกกล้วยไม้ ราคา 5-7 บาท ขยับเป็น 15-20 บาท หรือกาบมะพร้าวเหมารถ 6 ล้อต่อคัน 3,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 บาท นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย หลังจากปลูกไปแล้วทุก ๆ 3-5 ปี จะต้องมีการรื้อต้นกล้วยไม้เก่าและกาบมะพร้าวที่เป็นวัสดุปลูกออกจากสวน เพื่อปลูกต้นใหม่ในกระบะกาบมะพร้าวใหม่ เนื่องจากกล้วยไม้เริ่มให้ผลผลิตดอกลดลง มีจำนวนลำลูกกล้วยมากและหนาแน่น การระบายอากาศไม่ดี และมีการสะสมของโรคในลำกล้วยไม้เก่า รวมถึงกาบมะพร้าวจะเริ่มผุและเปื่อยยุ่ย บางครั้งกาบมะพร้าวที่อัดอยู่ในรูปของกระบะปลูกหลุดออกมา เกษตรกรเจ้าของแปลงกล้วยไม้จำเป็นต้องมีการวางแผนในการหากาบมะพร้าวทดแทนให้ได้ก่อนที่จะทำการรื้อแปลง เพราะหากหากาบมะพร้าวไม่ได้จะต้องทิ้งแปลงให้ว่างเปล่าส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดรายได้ จากปัญหานี้ผู้วิจัยและคณะได้มีการศึกษาวิจัยวัสดุปลูกชนิดใหม่สำหรับนำมาทดแทนกาบมะพร้าว โดยเน้นไปที่การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งเหล่านั้นได้อีกแนวทางหนึ่ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า ต้นกระถินและทางปาล์มน้ำมันมีความเหมาะสมสำหรับผลิตเป็นกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนการใช้กาบมะพร้าว นอกจากนั้นได้มีการวิจัยในส่วนของเครื่องมือผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้จากต้นกระถินและทางปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการผลิตกระบะวัสดุปลูกทดแทนกาบมะพร้าวในเชิงพาณิชย์ได้
1. ทำการคัดเลือกวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย ที่หาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ระบายน้ำได้ดี ไม่อุ้มน้ำจนแฉะ ช่วยให้ระบบรากและต้นกล้วยไม้เจริญงอกงามดี ปราศจากสารพิษเจือปน สะดวกต่อการใช้ปลูก โดยวัสดุที่คัดเลือกมามี 5 ชนิด ได้แก่ กระถิน ทางปาล์มน้ำมัน ทางสละ เศษเหลือทิ้งจากสับปะรด และทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โดยมีวัสดุปลูกกาบมะพร้าวเป็นตัวเปรียบเทียบในการทดสอบ (รูปที่ 1-6)
2. นำตัวอย่างวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทั้งหมดที่คัดเลือกในข้อ 1. ไปหั่นย่อยเพื่อลดขนาด (รูปที่ 7) และผสมกับตัวประสานคือปูนซีเมนต์ (รูปที่ 8) ในอัตราส่วนผสม วัสดุเกษตร:ปูนซีเมนต์:น้ำ เท่ากับ 1 กก.: 2.5 กก.: 1 ลิตร ตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมสำหรับการนำไปอัดขึ้นรูปเป็นกระบะวัสดุปลูกที่มีความแข็งแรง สำหรับปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย
3. กระบวนการอัดขึ้นรูปเป็นกระบะวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ ในโครงการวิจัยนี้ได้มีการศึกษาวิจัยเครื่องมือต้นแบบอัดกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ โดยมีความสามารถในการทำงานที่ 30 กระบะต่อชั่วโมง ใช้ระบบกระบอกไฮโดรลิคเป็นแกนสำหรับอัดวัสดุในบล็อคอัดขึ้นรูปขนาด 22x36x20 ซม. (กว้างxยาวxสูง) แรงดันที่ใช้ในการอัด 10 เมกะปาสคาล เพื่อให้ได้กระบะวัสดุปลูกขนาด 22x36x8 ซม. สามารถปลูกกล้วยไม้ได้ 4 ต้นต่อกระบะวัสดุปลูก ดังแสดงในรูปที่ 9-11 และกระบวนการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ แสดงไว้ในรูปที่ 12
รูปที่ 10 กระบะวัสดุปลูกจากวัสดุเกษตรทดแทน; รูปที่ 11 กระบะวัสดุปลูกจากกาบมะพร้าว
ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพได้แก่ ค่าความหนาแน่นและค่าการอุ้มน้ำของกระบะวัสดุปลูกจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรทั้ง 5 ชนิดและกาบมะพร้าว พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยกาบมะพร้าว ทางปาล์มน้ำมัน ต้นกระถิน เศษเหลือทิ้งจากสับปะรด ทางสละ และทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน จะมีค่าความหนาแน่นของวัสดุ 1.16, 1.47, 1.49, 1.63, 1.68 และ 1.75 ก./ลบ.ซม. ตามลำดับ (ตารางที่ 1) ในขณะที่กาบมะพร้าวมีค่าการอุ้มน้ำสูงที่สุด (72.91 %/น.น.) รองลงมาได้แก่ ทางปาล์มน้ำมัน และทางสละ (42.64 และ 40.35 %/น.น.) สำหรับคุณสมบัติทางเคมีของกระบะวัสดุปลูกทั้ง 6 ชนิด มีความแตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน (ตารางที่ 2)
1. กระถิน
1. กระถิน ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อหาต้นทุนการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทดแทนกาบมะพร้าว จุดคุ้มทุนในการผลิต และระยะเวลาการคืนทุนจากการลงทุน พบว่ามีต้นทุนในการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ 11.18 บาท/กระบะ ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่การตัด การรวบรวมวัสดุเกษตร การหั่นย่อย และการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ด้วยเครื่องต้นแบบ มีจุดคุ้มทุนเมื่อทำการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ 75,336 กระบะ/ปี และระยะเวลาการคืนทุนจากการลงทุนผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ประมาณ 1 ปี วัสดุเกษตรเหลือทิ้งจากต้นกระถินและทางปาล์มน้ำมัน เมื่อนำมาผลิตเป็นกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ที่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นตัวประสาน มีความเหมาะสมและสามารถนำมาปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย ทดแทนกระบะกาบมะพร้าวซึ่งเป็นกระบะวัสดุปลูกเดิมได้เป็นอย่างดี และเมื่อพิจารณาถึงความสะดวกในการนำมาใช้สำหรับเกษตรกรสวนกล้วยไม้ พบว่าต้นกระถินเป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย มีอยู่ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย เมื่อตัดลำต้นมาใช้งานก็สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้อีก ในขณะที่ทางปาล์มน้ำมันก็เป็นเศษวัสดุที่หาได้ง่าย โดยจะมีจำนวนมากในช่วงที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มทำการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีรอบระยะเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณ 15-20 วันต่อครั้ง ทำให้มีทางปาล์มน้ำมันที่เป็นเศษวัสดุทางการเกษตรเหลือทิ้งตลอดทั้งปี นอกจากนี้เครื่องผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรชาวสวนกล้วยไม้สำหรับการผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ใช้เอง หรือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้จำหน่าย สามารถนำไปขยายการผลิตจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ได้เช่นกันเพื่อทดแทนการใช้กาบมะพร้าวเป็นวัตถุดิบ แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้
ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ
กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ
สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมไทย
ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3 สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้ เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป
ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์ ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์
บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้ บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี
2. ทางปาล์มน้ำมัน
3. ทางสละ
4. เศษเหลือทิ้งจากสับปะรด
5. ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน
6. กาบมะพร้าว
หมายเหตุ: ตัวอักษร a, b, c, d, e แสดงถึงความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์สถิติด้วยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
1. กระถิน
2. ทางปาล์มน้ำมัน
3. ทางสละ
4. เศษเหลือทิ้งจากสัปปะรด
5. ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน
6. กาบมะพร้าว
หมายเหตุ: ตัวอักษร a, b, c, d, e, f แสดงถึงความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์สถิติด้วยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
จากข้อมูลการวิเคราะห์ในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 เมื่อนำมาวิเคราะห์ในภาพรวมพบว่า กระบะวัสดุปลูกที่เรียงตามลำดับจากคะแนนการวิเคราะห์ดีที่สุดได้แก่ กาบมะพร้าว ทางปาล์มน้ำมัน กระถิน ทางสละ เศษเหลือทิ้งจากสัปปะรดและทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้ต้องนำกระบะวัสดุปลูกทั้งหมดไปทำการปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย เพื่อดูผลการตอบสนองของกล้วยไม้อีกครั้ง และนำผลการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ ปริมาณและคุณภาพของดอกกล้วยไม้ที่ปลูกบนกระบะวัสดุปลูกทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์ร่วมกับผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีอีกครั้ง จึงจะสามารถสรุปเลือกชนิดของวัสดุเกษตรในการนำมาทดแทนกาบมะพร้าว สำหรับการผลิตเป็นกระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายได้
รูปที่ 16 กระบะวัสดุปลูกทะลายปาล์ม; รูปที่ 17 กระบะวัสดุปลูกสัปปะรด; รูปที่ 18 กระบะวัสดุปลูกกาบมะพร้าว
รูปที่ 19 ปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนของเกษตรกรและเก็บข้อมูล
2. ทางปาล์มน้ำมัน
3. ทางสละ
4. เศษเหลือทิ้งจากสัปปะรด
5. ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน
6. กาบมะพร้าว
หมายเหตุ: ตัวอักษร a, b, c แสดงถึงความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์สถิติด้วยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
รูปที่ 21 กระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้จากกระถินและทางปาล์มน้ำมัน อายุใช้งานมากกว่า 3 ปี
บทความอื่นๆ
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขอบเขตของเนื้อหา
ความยาวของบทความ
รูปในบทความ
การอ้างอิงทางบรรณานุกรม
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....
FAQ
เกี่ยวกับวารสาร
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
กองบรรณาธิการ
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
ที่ปรึกษา
สำหรับสำนักพิมพ์
สำหรับบรรณาธิการ
สำหรับผู้แต่ง
สำหรับผู้ประเมิน