ปฏิบัติการ "WAJU" หนีน้ำท่วม

บทคัดย่อ

“Kiso Sansen” หรือ บริเวณที่มีแม่น้ำสายหลักไหลมารวมกัน 3 สาย เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศญี่ปุ่นว่ามีระบบเขื่อนที่เรียกว่า “Waju” สร้างขึ้นล้อมรอบบริเวณที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรของชาวบ้านเพื่อป้องกันน้ำท่วม “Waju” ถูกสร้างในเมือง Gifu เมือง Ogaki เมือง Hashima และพบทั่วไปทางด้านตะวันตกของเมืองนาโกยา ตั้งแต่ยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) “Juroku Waju” หรือ “วาจูหมายเลข 16” ในเมือง Ogaki (พื้นที่สีแดงในแผนที่รูปที่ 1) ถูกเลือกให้เป็นที่ที่ผู้เขียนสนใจศึกษาเป็นพิเศษ เนื่องจากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันชุมชนที่อาศัยอยู่ใน Juroku Waju นั้น ยังคงมีความกระตือรือร้นในการปกป้องตัวเองจากภัยน้ำท่วม ถึงแม้ว่าส่วนงานของการป้องกันภัยน้ำท่วมนั้น จะถูกรวมอยู่ในภาระงานและความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเมือง Ogaki แล้วก็ตามข้อมูลส่วนใหญ่ที่ถูกรวบรวมอยู่ในบทความนี้ จึงเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนได้มาจากการสัมภาษณ์กับผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วาจู (Waju Museum) เจ้าหน้าที่จากสำนักควบคุมน้ำท่วม และ เจ้าหน้าที่จากกองบริหารงานก่อสร้าง รวมทั้งเอกสารและภาพถ่ายโบราณที่ถูกรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ ประกอบกับเอกสารวรรณกรรมอื่นๆ ที่ผู้วิจัยท่านอื่นได้เคยนำเสนอมาด้วย


“Kiso Sansen” หรือ บริเวณที่มีแม่น้ำสายหลักไหลมารวมกัน 3 สาย เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศญี่ปุ่นว่ามีระบบเขื่อนที่เรียกว่า “Waju” สร้างขึ้นล้อมรอบบริเวณที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรของชาวบ้านเพื่อป้องกันน้ำท่วม “Waju” ถูกสร้างในเมือง Gifu เมือง Ogaki เมือง Hashima และพบทั่วไปทางด้านตะวันตกของเมืองนาโกยา ตั้งแต่ยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) 

ตั้งแต่ยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) พบ Waju มากกว่า 80 จุดที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำด้วยระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากเหนือลงใต้ และ 20 กิโลเมตร จากตะวันออกถึงตะวันตก การก่อสร้าง Waju นั้นมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความรุนแรงของกระแสน้ำจากแม่น้ำโดยตรง Waju จึงมีรูปร่างคล้ายตัว U หรือ ตัว V เพื่อรองรับความรุนแรงของกระแสน้ำที่ไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ Waju รูปร่างหน้าตาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในนามของ Shirinashi-zutsumi หรือ Tsukizute-zutumi

เมื่อมีการสร้าง Waju ในเมืองมากขึ้น ชุมชนจึงสร้าง Jo – Gai ซึ่งเป็นแท่นหินที่ทุกชุมชนจะตกลงระดับในการสร้าง Waju เพื่อให้มีระดับความสูงที่เท่ากัน ไม่มีชุมชนใดได้เปรียบจากการสร้าง Waju ที่สูงกว่า เป็นวิธีการที่ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนได้

นอกจากการสร้าง Waju เพื่อป้องกันการล้นข้ามของน้ำเข้ามาในชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ประกอบการเกษตรแล้ว Hijiri-ushi ซึ่งมีความหมายว่า วัวยักษ์ ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อลดปัญหาการกัดเซาะของน้ำด้วย Hijiri – ushi นั้นมีหลายชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามวัสดุที่สร้างขึ้นมา โดยที่พบบ่อยจะเป็นลักษณะของโครงสร้างทั้งหมด 5 ชิ้น (1 ชุด) และในตำแหน่งหนึ่งจะถูกติดตั้ง 13 – 15 ชุด เพื่อช่วยลดแรงของน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะของพื้นที่ริมแม่น้ำ ในปัจจุบันยังคงพบ Hijiri – Ushi อยู่ในหลายพื้นที่ แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของวัสดุที่ต่างจากเดิม คือ มีการใช้คอนกรีตเพื่อเป็นโครงสร้างหลักแทนไม้ เนื่องจากจะสามารถยืดอายุการใช้งานออกไปได้มากกว่าเดิม 

ชาวนาใน Waju มีการปรับพื้นที่ในการทำการเกษตรของตนใหม่ โดยการขุดคูคลองเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการสะดวกในการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่รับน้ำในหน้าฝนไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่ปลูกพืชสวนของตน แต่ไหลลงมาเก็บไว้ที่คู ดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อทำคูนั้น ก็จะนำมาปรับความสูงของพื้นที่เกษตรกรรมให้มีพื้นที่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำปกติด้วย ดังนั้น ถึงแม้ว่าชุมชนจะประสบปัญหาน้ำท่วมในหน้าฝน แต่ด้วยพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำ จึงทำให้พืชผลไม่ได้รับความเสียหายจากระดับน้ำที่สูงขึ้น

นอกจากการสร้าง Waju เพื่อเป็นการช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ทางหนึ่งแล้ว ในเขตพื้นที่ของ Waju เองก็มีองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Mizuya หรือ บ้านหนีน้ำ นั่นเอง 
Mizu ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า น้ำ บวกกับคำว่า Ya ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า บ้าน หากนำคำสองคำนี้มารวมกัน ก็จะมีความหมายว่าบ้านน้ำ แต่ในนัยยะนั้น คือ บ้านที่ไว้ใช้เพื่อหนีน้ำนั่นเอง ผู้เขียนจึงเรียกบ้านลักษณะนี้ว่า บ้านหนีน้ำ จากลักษณะการทำงานที่สำคัญของมันเอง 

ส่วนพื้นที่เพิ่มความสูงมีลักษณะคล้ายการสร้างเขื่อนให้กับบ้านของตนเองนั้นเรียกว่า Giage ซึ่งการก่อสร้างบ้านที่ยกสูงกว่าเดิม 1.3 เมตรนั้น จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ ดังนั้นจึงพบว่า บ้านหนีน้ำนั้นจะถูกสร้างโดยเจ้าบ้านที่มีฐานะค่อนข้างดี ส่วนบ้านที่มีฐานะไม่ร่ำรวมนัก ก็จะอาศัยการใช้แรงงานที่มากขึ้น โดยการเดินทางไปที่แม่น้ำเพื่อค้นหาหิน ดิน และทรายที่จะนำมาใช้ในการสร้างบ้านได้ และทำการลำเลียงมาเพื่อสร้างบ้านของตน 

อีกองค์ประกอบของบ้านหนีน้ำที่น่าสนใจ คือ แท่นบูชา หรือ Age - Butsudan ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้เพื่อการศักการะบูชาพระเจ้าในศาสนาพุทธ รวมไปถึงบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว พื้นที่ส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นห้องที่มีกลไกชักรอกที่สามารถทำการชักรอกเพื่อยกแท่นบูชาจากชั้นที่ 1 ไปสู่ชั้นที่ 2 ได้ หากระดับน้ำเพิ่มสูงมากขึ้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่ใช่บ้านทุกหลังใน Waju ที่จะมีการสร้างบ้านหนีน้ำได้ด้วยตนเอง คนในชุมชนจึงร่วมกันสร้างพื้นที่โล่งที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่สูงใจกลางชุมชน เพื่อเป็นสถานที่เพื่อหนีน้ำให้กับสมาชิกชุมชนที่ไม่มีบ้านหนีน้ำเป็นของตนเอง ในช่วงน้ำท่วมชาวบ้านก็จะพายเรือเพื่อไปพักอยู่ที่พื้นที่นี้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอให้ระดับน้ำลดลงตามปกติ พื้นที่เพื่อหนีน้ำใจกลางชุมชนแห่งนี้เรียกว่า “Jomei-dan”

จะเห็นได้ว่า กลไกการป้องกันน้ำท่วมของชาว Waju นั้น มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นที่โดยการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่าง Waju หรือ การป้องกันน้ำท่วมในระดับปัจเจกอย่างการสร้างบ้านหนีน้ำ รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ร่วมในการหนีน้ำหรือจัดเก็บอุปกรณ์เพื่อต่อสู้กับน้ำร่วมกันของชุมชนอีกด้วย โดยภาครัฐในระดับจังหวัด ก็มีการประสานงานเพื่อร่วมกันปกป้องชุมชนอย่างมีระบบ ในจังหวัด Ogaki เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานร่วมกับชุมชนเพื่อช่วยกันวางแผนการป้องกันและเผชิญกับภัยน้ำท่วม โดยมีแผนที่ทั้งชุมชนเข้าใจขั้นตอนในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี พร้อมทั้งชุมชนนั้นยังทราบถึงหน้าที่ของตนในการป้องกันน้ำท่วมหรือในระหว่างภาวะที่ต้องเผชิญกับภัยน้ำท่วมอย่างชัดเจนอีกด้วย 

Waju ในปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลมาตรฐานในการคำนวณปริมาตรน้ำฝนผ่านเรดาร์ของสถานีเฝ้าระวัง เพื่อประเมินระดับความสูงของน้ำที่เพิ่มขึ้นและทำการประมาณการประเมินระดับของน้ำที่จะเพิ่มขึ้น โดยหากพบว่าฝนที่ตกจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญและสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดภัยน้ำท่วมให้แก่ชุมชน ก็จะทำการแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมาตรการในการป้องกันน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี