บทความ: ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในอาคารและสถานศึกษา
มลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้น ๆ ของประเทศมาแล้วกว่าศตวรรษ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ปอดและถุงลมปอด ซึ่งเป็นอวัยวะในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ซึ่งการรับสัมผัส PM2.5 ในระยะยาวอาจนำไปสู่สาเหตุการเกิดมะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนผู้รับสัมผัสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2563) ได้รายงานผลแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยและค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากสถานีตรวจวัด 16 แห่ง ระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึง 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่าจำนวนของผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจมีแนวโน้มสัมพันธ์กับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ เดือน พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม และมีแนวโน้มลดลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นต้นไป (รูปภาพที่ 1) ขณะเดียวกัน ข้อมูลของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (2549) ยังได้รายงานระดับอันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 10 ไมครอน (PM10) ที่ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตในระยะสั้นลง 1.2 – 5.0% โดยประมาณ (ตารางที่ 1)
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2563)
ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 มิใช่เพียงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบในพื้นที่กลางแจ้งภายนอกอาคารเท่านั้น หากแต่พื้นที่ในอาคารยังตรวจพบฝุ่นละออง PM2.5 จากการถ่ายเทของอากาศจากภายนอกเข้ามาสู่ภายในอาคารผ่านช่องประตู หน้าต่าง หรือการเปิดเข้า-ออกของประตู ทั้งนี้ จากการศึกษาของ Ji และ Zhao (2015) พบความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างความเข้มข้นของ PM2.5 ภายนอกและภายในอาคาร กล่าวคือ หากสภาพแวดล้อมของภายนอกอาคารนั้น ๆ มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 สูง จะส่งผลให้ระดับ PM2.5 ที่ตรวจพบในพื้นที่อาคารมีค่าสูงไปด้วย และส่งผลกระทบต่อผู้อาศัย หรือบุคลากรที่ทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันอยู่ในพื้นที่อาคารดังกล่าว บุคคลเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจาก PM2.5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปภาพที่ 2 แสดงความแตกต่างของสีแผ่นกรองอากาศ (Air Filter) ของเครื่องปรับอากาศในห้องขนาด 45 ตารางเมตรที่ใช้แล้ว (ระยะเวลาการใช้งานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน) ในช่วงเดือน สิงหาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เทียบกับสีของแผ่นกรองอากาศใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า คราบฝุ่นที่ติดอยู่บนแผ่นกรองอากาศมีปริมาณมาก แม้ว่าจะมีการเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อใช้งานเพียง 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นระยะเวลาการทำงานทั่วไปในแต่ละวัน (Office Hour) โดยไม่ได้เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารและผลกระทบทางสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรับสัมผัสทางการหายใจตลอดระยะเวลาการใช้งานอาคาร
กรณีศึกษา (เมือง: ประเทศ) Eriandson และคณะ (2019) มิติที่ 2 การเรียนรู้ อาศัยแนวทาง 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับ PM2.5 แก่นักเรียน นักศึกษา 2) บูรณาการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาในการเรียนการสอน 3) ประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันตนเอง มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การจัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนในช่วงที่ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 2) เฝ้าระวังสุขภาพของนักเรียนนักศึกษา 3) เตรียมความพร้อมของห้องพยาบาล มิติที่ 6 การบริหารการเงิน ประกอบด้วย 1) การพิจารณาการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม 2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น PM2.5 เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่น เป็นต้น ส่วนที่ 2 แนวทางการปฏิบัติระหว่างเปิดภาคเรียนในระยะเกิดสถานการณ์ คือ ในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 มีค่ามากกว่า 50 µg/m3 ประกอบด้วยแนวทางหลัก 4 ด้าน ดังนี้ 1) แนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการศึกษา ครอบคลุมการประกาศนโยบายการปฏิบัติและกำหนดการดำเนินงาน รวมถึงพิจารณาการปิดสถานศึกษา ในกรณีที่ค่าความเข้มข้นของ PM2.5 มีมากกว่า 91 µg/m3 ติดต่อกัน 3 วัน หรือหาก PM2.5 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 151 µg/m3 หรือลักษณะสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีลักษณะเปิดโล่ง รวมไปถึงหากสถานการณ์ด้านสุขภาพของนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 จำนวน 10 คนขึ้นไป 2) แนวทางปฏิบัติสำหรับครูหรือผู้ดูแลนักเรียนนักศึกษา ติดตามสถานการณ์ PM2.5 ผ่านทุกช่องทาง ดูแลสุขภาพทั้งตนเองและเด็กในความดูแล ป้องกันตนเองทั้งในด้านของสถานที่และการดูแลส่วนบุคคล 3) แนวทางการปฏิบัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาหรือแกนนำนักเรียนนักศึกษา ใส่หน้ากากและเลี่ยงกิจกรรมนอกอาคาร สังเกตอาการตนเอง ทำความสะอาดห้องเรียน แกนนำติดตามสถานการณ์ในทุกช่องทาง ให้ความรู้ เฝ้าสังเกตดูแลความเรียบร้อยของเพื่อนนักเรียน นักศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกัน PM2.5 4) แนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง ติดตามสถานการณ์ในทุกช่องทาง ดูแลเด็กโดยเฉพาะระหว่างที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนนอกอาคาร จัดหาหน้ากากให้เด็ก และสังเกตอาการบุตรหลานจากผลกระทบจากปัญหา PM2.5
PM10 (µg/m3)
PM2.5 (µg/m3)
ผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์
150
75
เพิ่มอัตราการเสียชีวิตระยะสั้น 5.0%
100
50
เพิ่มอัตราการเสียชีวิตระยะสั้น 2.5%
75
37.5
เพิ่มอัตราการเสียชีวิตระยะสั้น 1.2%
50
25
ระดับที่กำหนดไว้ใน Air Quality Guideline
สำหรับปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่อาคารของสถานศึกษาเป็นประเด็นที่เริ่มได้รับความสนใจในการศึกษาวิจัย อาทิ Rovelli และคณะ (2014) ได้วิจัยเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในห้องเรียน พบอนุภาค PM2.5 ขนาดเล็กภายในห้องเรียนที่มีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนของ PM2.5 ภายนอกอาคาร ส่งผลให้นักศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษาเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 เนื่องจากต้องใช้เวลาในสถานศึกษาทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคารประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน นักศึกษาของสถาบันศึกษาของประเทศไทยโดยปกติแล้วต้องมีการเปลี่ยนห้องเรียน เปลี่ยนอาคารเรียนในการเรียนแต่ละสาขาวิชาของตน การเดินทางระหว่างการเปลี่ยนชั้นเรียนระหว่างอาคารจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น บุคลากรในสถานศึกษา เช่น อาจารย์ เจ้าหน้าที่ธุรการ งานเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในห้องทำงาน หากห้องทำงานไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุม PM2.5 เท่ากับว่าบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้ได้มีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส PM2.5 ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลงานวิจัยด้าน Indoor Air Pollution โดยเฉพาะข้อมูลสถานการณ์ รวมไปถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมและแหล่งกำเนิดที่ส่งผลต่อการตรวจพบฝุ่นละออง PM10 และ PM2.5 ในอาคาร
สรุปผลวิจัย
อ้างอิง
Queensland: ออสเตรเลีย
ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคารมีความสัมพันธ์กับภายนอกอาคารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีแนวโน้มว่ามาจากการปล่อยมลพิษจากการจราจร
Guo และคณะ (2010)
Rome: อิตาลี
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง (Chemical Composition) ที่พบทั้งภายในและนอกอาคารเรียนของ 3 โรงเรียนในกรุงโรม ประเทศอิตาลี พบองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมการเผาไหม้ การจราจร เป็นต้น
Tofful และคณะ (2014)
Barcelona: สเปน
ระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ภายนอกอาคารมีค่าสูงเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ภายในอาคาร และการจราจรเป็นแหล่งกำเนิดหนึ่งของฝุ่นละอองภายในบริเวณโรงเรียน
Rivas และคณะ (2014)
Northeastern: สหรัฐอเมริกา
ผลการศึกษาสถานการณ์และแหล่งกำเนิด PM2.5 ภายในอาคารของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองชั้นใน (Inner-City Schools) พบ 6 แหล่งกำเนิดหลักของฝุ่น PM2.5 จากภายนอกอาคาร ได้แก่ 1. สารมลพิษอากาศทุติยภูมิ (Secondary Pollution: ร้อยละ 41) 2. ยานยนต์ (Motor Vehicles: ร้อยละ 17) 3. การเผาไหม้ชีวภาพ (Biomass Burning: ร้อยละ 15) 4. อนุภาคที่มีองค์ประกอบแคลเซียมเป็นหลัก ซึ่งพบได้จาก ฝุ่นจากถนน ปูนซีเมนต์ที่เสื่อมสภาพ ฝ้าบุผนังที่ผุกร่อน เป็นต้น (Calcium (Ca)-Rich Particles: ร้อยละ 12) 5. ฝุ่นจากดิน (Soil Dust: ร้อยละ 6) และ 6. ละอองในอากาศจากทางทะเล (Marine Aerosols: ร้อยละ 4).
Carrion และคณะ (2019)
Kuala Lumpur: มาเลเซีย
ผลการศึกษาการรับสัมผัสฝุ่นและ PM2.5 ของเด็กนักเรียนทั้งจากการสัมผัสจากภายในและภายนอกอาคารเรียนพบว่า กิจกรรมของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ล้วนแต่ส่งผลต่อการรับสัมผัสฝุ่นและ PM2.5 อาทิ การเพิ่มขึ้นฉับพลันของ PM2.5 เวลา 10:00 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างพักเรียน และระหว่างการเดินออกจากห้องเรียนของนักเรียน อีกทั้งยังพบค่า PM2.5 สูงสุดเมื่อเวลา 10:30 ซึ่งเป็นเวลาที่นักเรียนเดินกลับเข้าห้อง เป็นต้น
Othman และคณะ (2019)
Pathumwan: ไทย
ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) ที่เคลือบบนอนุภาคฝุ่น PM2.5 ทางการหายใจของคนที่อาศัยในย่านที่พักอาศัยในตัวเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร
Parnnarong, K. (2014)
Selangor: มาเลเซีย
คนที่ทำงานในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูงกว่า 53.88 µg/m3 มีแนวโน้มการเกิดภาวะ Sick Building Syndrome สูงประมาณ 7 เท่า เมื่อเทียบกับคนทำงานในพื้นที่ที่ค่า PM2.5 น้อยกว่า 53.88 µg/m3
Zamani และคณะ (2013)
Barcelona: สเปน
ห้องเรียนที่มีที่ตั้งและทิศทางของหน้าต่างที่ตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับถนนและย่านจราจร พบค่า PM2.5 สูงกว่าห้องเรียนที่มีหน้าต่างและรับอากาศจากฝั่งตึกเรียนอื่นหรือทางสนามเด็กเล่น
Amato และคณะ (2014)
Barcelona: สเปน
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ PM2.5 ในอาคาร ได้แก่ การเปิดปิดหน้าต่าง ประเภทของหน้าต่าง อายุของอาคาร เป็นต้น
Rivas และคณะ (2015)
Northeast States: สหรัฐอเมริกา
การวิจัยด้าน Modeling Indoor Particulate Exposures in Inner-City School Classrooms ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองชั้นใน พบว่า ระดับมลพิษภายนอกมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคาร โดยเฉพาะ อนุภาคจำพวก Black Carbon ที่แทรกซึมเข้ามาในโรงเรียนและห้องเรียน
Gaffin และคณะ (2017)
Beijing: จีน
การศึกษาและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารของห้องเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า ถึงแม้ว่าจะมีการปิดหน้าต่างและประตูของอาคารเรียนแล้ว แต่ระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ในอาคารยังคงสูงถึงร้อยละ 60 -70 ของปริมาณ PM2.5 ภายนอกอาคาร
Hou และคณะ (2015)
Bangkok: ไทย
ระดับ PM2.5 ที่วัดได้ภายในอาคารมีความเข้มข้นสูงกว่าภายนอกอาคาร เนื่องจากมีแหล่งกำเนิด PM2.5 เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น ในขณะที่ผลศึกษาพบว่าค่า PM2.5 ภายในหอพักพยาบาลมีค่าน้อยกว่าด้านนอกอาคาร สาเหตุอาจเนื่องมาจากไม่พบแหล่งกำเนิด PM2.5 ในบริเวณใกล้เคียง
Tsai และคณะ (200)
Athens: กรีซ
ผลวิจัยตรวจพบค่าฝุ่นละอองสูงในพื้นที่โรงยิมที่มีการเข้าใช้บริการในสถานศึกษา ในขณะที่พบค่าฝุ่นละอองในระดับที่ต่ำในบริเวณห้องสมุด
Diapouli และคณะ (2008)
Urban Areas: อินเดีย
การศึกษาสถานการณ์ของฝุ่นละอองในห้องเรียนที่มีการระบายอากาศทางธรรมชาติ (Naturally Ventilated Classrooms) ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมือง พบว่าทั้ง PM2.5 และ PM10 ในอาคารเรียนมีค่าสูงกว่านอกอาคารในช่วงวันธรรมดาเนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคาร
Goyal และคณะ (2011)
Mountain West: สหรัฐอเมริกา
ค่าฝุ่นละอองในห้องเรียนมีค่าสูงกว่าที่ตรวจพบในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง สาเหตุอาจเนื่องมาจากห้องเรียนมีผู้เข้าใช้ต่อปริมาณพื้นที่มากกว่าพื้นที่ส่วนกลาง
ได้นำเสนอคู่มือแนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 สำหรับสถานศึกษา โดยมีเนื้อหา 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ การเตรียมความพร้อมระหว่างเปิดภาคเรียน และส่วนที่ 2 คือ แนวทางการปฏิบัติระหว่างเปิดภาคเรียน โดยเนื้อหาส่วนที่ 1 ยึดกรอบแนวทางทั้ง 6 มิติ อ้างอิงจากโครงการเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ฝุ่นละออง PM2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ภายในกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานในรูปแบบเฉพาะเจาะจง เช่น สถานศึกษา และโรงเรียน รวมถึงอาคารทั่วไป ยังคงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่รอการแก้ไข ในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน แนวทางการออกข้อกำหนดบทกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาอาจเป็นหนึ่งแนวทางที่สามารถสนับสนุนการแก้ปัญหา แต่อย่างไรควรดำเนินการควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ด้านฝุ่นละออง PM2.5 ให้แก่ประชาชนเพื่อการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในสถานศึกษาและอาคารทั่วไปอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมไปถึงบทบาทด้านกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการควบคุมและบรรเทาปัญหาตามสาระที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบการประเมินและมาตรฐานการบ่งชี้อาคารสีเขียว (Green Building) ควรคำนึงถึงรูปแบบและแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยั่งยืน เป็นรูปธรรม และสนับสนุนให้มีการจัดทำฐานข้อมูลความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลสารอากาศภายในอาคารของผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
บทความวารสารฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง CU-SEI Joint Research Cluster Proposal Transdisciplinary Research to Support SDG Implementation