ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ณัฐภากัญญ์ ชูสินภาณุมาศ และ วราลักษณ์ คงอ้วน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นของประชาชน

ที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

บทนำ
     การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง พิจารณาเฉพาะประเด็นทางด้านกายภาพ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมและขนส่ง การระบายน้ำและกำจัดน้ำเสีย และการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองที่ประชาชนสามารถรับรู้และแสดงความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยตรง การเก็บข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการโดยการทำแบบสอบถาม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบทราบประชากรของยามาเน่ (Yamane, 1973) จากจำนวนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ 1,519 ครัวเรือน ใน พ.ศ. 2557 ที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 90 จะได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 93.82 ชุด (ในการเก็บข้อมูลจริง กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 100 ชุด) (ประคอง กรรณสูตร, 2542)
     สำหรับการแบ่งเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ น้อยที่สุด (ช่วงคะแนน 1.00-1.50) น้อย (ช่วงคะแนน 1.51-2.50) ปานกลาง (ช่วงคะแนน 2.51-3.50) มาก (ช่วงคะแนน 3.51-4.50) และมากที่สุด (ช่วงคะแนน 4.51-5.00) 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองทองผาภูมิ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่เมืองทองผาภูมิที่ได้จากการสำรวจภาคสนามและการจัดทำแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมและขนส่ง การระบายน้ำและบำบัดน้ำเสียและการจัดการขยะมูลฝอย แสดงรายละเอียดดังนี้ (รูปภาพที่ 1)

1. การใช้ประโยชน์ที่ดิน 

ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

2. การคมนาคมและขนส่ง 

ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

3. การระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย 
4. การจัดการขยะมูลฝอย 

ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามและปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
2. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตารางที่ 1 ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ค่าเฉลี่ย (X) การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของเทศบาลหรือภาครัฐ 0.89
3.37 การควบคุมประเภทและขนาดของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 0.87
3.53 การกำหนดระยะถอยร่นอาคารและขนาดอาคารในพื้นที่ริมแม่น้ำแควน้อย 1.06
3.11 การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน 1.07
2.97 การจัดระบบระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 1.19
2.69 การจัดเก็บ รวบรวม ขนส่ง และกำจัดขยะมูลฝอย 1.30
3.14 ที่มา : จากการแจกแบบสอบถาม พ.ศ.2560

3. ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตารางที่ 2 ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ค่าเฉลี่ย (X) การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย 1.06
3.50 การปรับปรุงหรือจัดทำพื้นที่สวนสาธารณะ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 1.01
3.19 การจัดหาสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เหมาะสมและเพียงพอ 1.13
3.46 การใช้มาตรการบริหารการจราจร เช่น การควบคุมที่จอดรถ การจัดการระบบการเดินรถ ฯลฯ 0.82
3.48 การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด 0.88
3.66 การจัดหาระบบบาบัดน้ำเสียภายในชุมชน 0.92
3.92 การจัดหาสถานที่กำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ 0.99
3.99 การนำกฎหมาย แผน นโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจัง 1.00
3.64 ที่มา : จากการแจกแบบสอบถาม พ.ศ.2560

บทสรุป 

     ทั้งนี้ ประชาชนมีความพึงพอใจในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและขยายตัวของเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ การเพิ่มขึ้นของอาคาร ที่พักอาศัย ร้านอาหารหรือรีสอร์ทบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ในขณะที่ ความพึงพอใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมีเพียงเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนมีแนวโน้มของการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและขยายตัวของเมือง หากมีการควบคุมและดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างเหมาะสม ในด้านของการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จะเห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยประชาชนมีความต้องการให้จัดหาสถานที่กำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพในระดับมาก นอกจากนั้น การนำกฎหมาย แผน นโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจังในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง ยังเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญมาก 

     1. วางแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการวางแผนการจัดการขยะมูลฝอย ที่คำนึงถึงทั้งในเรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย การหมุนเวียนและนำกลับมาใช้ใหม่ การรวบรวมและขนส่ง ตลอดจน การจัดหาสถานที่และการดำเนินการกำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะจะช่วยแก้ไขปัญหาขยะตกค้างและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ (Pichtel, 2014)
     2. เร่งดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม แม้ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการควบคุมประเภทและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดมลพิษจะอยู่ในระดับปานกลาง แต่การเร่งดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองในพื้นที่ศึกษา จะนำมาซึ่งการตอบสนองความต้องการประชาชนในระดับมาก ทั้งในเรื่องการนำกฎหมายมาใช้อย่างจริงจัง การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย การจัดหาสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เหมาะสมและเพียงพอ ฯลฯ 
     3. ควบคุมกิจกรรมและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณริมแม่น้ำอย่างเข้มงวด การนำกฎหมายมาใช้อย่างเข้มงวด เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร ฯลฯ นอกจากจะเป็นการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอาคาร ที่พักอาศัย ร้านอาหารหรือรีสอร์ทบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา
     4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพอเพียงและได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงและดูแล รักษาสวนสาธารณะให้มีทัศนียภาพที่สวยงามและเหมาะสมแก่การใช้งาน การซ่อมแซมเส้นทางการจราจรให้ได้มาตรฐาน และการพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความเชื่อมโยงและเป็นไปอย่างทั่วถึง การส่งเสริมการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียติดกับที่ (Onsite Treatment) ฯลฯ (สำนักจัดการคุณภาพน้ำ, ม.ป.ป.) จะช่วยยกระดับความพึงพอใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่ ป้องกันการเกิดขึ้นของปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนมากขึ้น

     บทความนี้พัฒนาและปรับปรุงมาจากสารนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี” อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการผังเมืองบัณฑิต สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559  


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี

ISSN 2686-9248 (Online)
Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

© 2024 Thai Environmental, All rights reserved.

ติดต่อเรา

สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารสรรพศาสตร์วิจัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330