ศาสตร์แห่งพระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น 1 ใน 6 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการทำงานแบบบูรณาการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริ ในหลายวโรกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการคณะต่างๆ โดยยึดแผนแม่บทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทุกๆ กิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และเพื่อเป็นการสนองเบื้องพระยุคลบาท และยังให้ความสำคัญกับการขยายผลการพัฒนาไปสู่พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านที่ดินทำกิน ทั้งมีพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชน ในชนบท เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับ“พออยู่พอกิน” โดยยึด “คน” เป็นหลักในการพัฒนา


สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น 1 ใน 6 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการทำงานแบบบูรณาการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริ  ในหลายวโรกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการคณะต่างๆ โดยยึดแผนแม่บทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทุก ๆ กิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และเพื่อเป็นการสนองเบื้องพระยุคลบาท และยังให้ความสำคัญกับการขยายผลการพัฒนาไปสู่พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านที่ดินทำกิน ทั้งมีพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชน ในชนบท เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับ “พออยู่พอกิน” โดยยึด “คน” เป็นหลักในการพัฒนา  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้จึงเป็น แหล่งเรียนรู้ศาสตร์ของพระราชา ทั้งด้านดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ อุตสาหกรรม และการสาธารณสุข โดยได้รวบรวมและจัดแสดงไว้ในรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” คือ มิได้เป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งของเท่านั้น หากเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และยังเป็น “ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ” ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมและการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด และดินพรุ ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด  พร้อมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการนี้ไปเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรให้รู้จักวิธีการทำมาหากิน รู้จักใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพอันนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและดินทรายจัดในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่อื่นๆ เพื่อการเกษตร ต่อไป

...เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่คนทุกระดับสามารถที่จะมาดูจะว่าเป็นโรงเรียนก็ไม่ใช่  แต่ว่าเป็นที่มาดูมาศึกษาก็ได้  คือเป็นทัศนศึกษา  พานักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยก็ตาม หรือไม่ใช่นักเรียน เป็นข้าราชการทุกชั้นตั้งแต่ชั้นผู้น้อยมาจนถึงชั้นผู้ใหญ่ทุกระดับทุกอย่าง คือหมายความว่า ทุกหน้าที่สามารถมาดูในแห่งเดียวกัน วิธีการที่จะพัฒนาในสาขาต่างๆ ของวิชาการ  อันนี้เท่ากับเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่จะมาดูอะไรมีวิชาการใด  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา  นอกจากนั้นไปดูศูนย์ศึกษาก็ไปหย่อนใจก็ได้ เพราะว่าทำงานเครียด ก็ไปเที่ยวศูนย์ศึกษาเหมือนไปเที่ยวสวนสาธารณะ ก็ได้  ได้ความรู้ด้วย  นี่แหละเป็นหลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนา...

   

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ที่เรียกว่า ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้บริการคณะที่มาเที่ยวชมงานได้ศึกษา เรียนรู้ด้านต่างๆ  ได้แก่

ด้านดิน 
ด้านปศุสัตว์
 

ด้านประมง  
ด้านพืช 
 

ด้านป่าไม้
ด้านหัตถกรรมอุตสาหกรรม
ด้านสาธารณสุข

สวน 50 ปี ครองราชย์ จัดเป็นสวนรวบรวมพืชตระกูลปาล์ม กว่า 60 ชนิด เช่น สิบสองปันนา ช้างไห้ ปาล์มแสด มะแพร้ว ฯลฯ สวน 72 พรรษา ซึ่งจัดเป็นสวนรวบรวบพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น ต้นธัมมัง ไม้ค้อนตีหมา มะม่วงหาวมะนาวโห่ ไข่เน่า พืชสมุนไพรนานาชนิด สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม 76 พรรษา สวนสาธิตการเฉลิมเกียรติ 80 พรรษา สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา และ สวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558  มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีสีม่วงทั้ง ใบ ดอก ผล และหัว และจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อให้ผู้ศึกษาชมงาน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้คงอยู่สืบไป

พิพิธภัณฑ์ดิน เพื่อให้ผู้มาเที่ยวชมงานได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดินที่มีปัญหาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงให้ความสำคัญในการจัดการดิน และมีพระอัจฉริยภาพด้านดินจนเป็นที่ประจักษ์ ทำให้เกษตรกรได้รู้จักใช้ที่ดินในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน อันนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  และพระราชกรณียกิจด้านดินในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำองค์ความรู้ของศาสตร์พระราชา ไปเผยแพร่และถ่ายทอดแก่เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ

 

ระบาทสมเด็จพระปรมินทร  มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปราดเปรื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งกิจกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ทำการศึกษาตามแนวพระราชดำริ  ที่พระองค์ได้พระราชทานมาอย่างต่อเนื่องนั้น นับเป็นศาสตร์แห่งพระราชา นำพาเกษตรกรไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง อันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกร และประเทศชาติอย่างมากมายนับเป็นศาสตร์ ที่ทรงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ ควรแก่การจดจำและบันทึกลงในจิตใจของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ตราบนิจนิรันดร์

 

บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ วารสารสิ่งแวดล้อม

1

ขอบเขตของเนื้อหา

วารสารสิ่งแวดล้อม เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการและที่ปรึกษาวารสารสิ่งแวดล้อม

เปิดรับบทความ/ข้อเขียนที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทุกด้าน โดยจัดส่งต้นฉบับผ่านทางระบบ Submission พร้อมระบุชื่อและนามสกุล สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เขียน/ผู้รับผิดชอบบทความ

  • ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
  • กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
  • ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
  • นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
  • บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
  • ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
  • วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
  • วัชราภรณ์ สุนสิน
  • ศีลาวุธ ดำรงศิริ
  • อาทิมา ดับโศก

วารสารสิ่งแวดล้อม

เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 และเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ปีที่ 23 ปี 2562

ส่งบทความ

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

วารสารสิ่งแวดล้อมเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

วารสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ https://ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ISSN (PRINT) : 0859-3868
ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สำหรับสำนักพิมพ์

วารสารสิ่งแวดล้อมเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังวารสารสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • วารสารสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ