บทความ: การตีความผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต: การเลือกใช้ถุงพลาสติกและถุงผ้า

บทคัดย่อ

บทวิเคราะห์การตีความผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต โดยใช้กรณีศึกษาจากการเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระหว่างถุงพลาสติกและถุงผ้า โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจในพื้นฐานของการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างประเภท และเกณฑ์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกนำมาประเมินในกระบวนการศึกษา


ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“Every solutions create the other problems” หรือแปลเป็นไทยว่า “ทุกๆ การแก้ไข ก่อให้เกิดอีกหลายๆ ปัญหา” คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการกระทำ หรือกิจกรรมที่เลือกใช้ในการแก้ไขปัญหา จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา คำตอบคือ มันไม่ทางที่การกระทำสิ่งหนึ่ง จะไม่ส่งผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่ง และนิยามของคำว่า “ปัญหา” ของแต่ละคน มันไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราจะสามารถทำได้ คือการลดผลกระทบของปัญหาที่ตามมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ถูกละเลยมานาน คือปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นเหตุให้ปัจจุบันผลกระทบเหล่านั้นย้อนกลับมายังมนุษย์เราเอง เช่น สภาวะโลกร้อน การลดลงของชั้นโอโซน เหตุการณ์น้ำท่วม และไฟป่า เป็นต้น ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เป็นแรงขับดันให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม คือ หลักการการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment; LCA)

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องทำละเอียดขนาดไหน? ยกตัวอย่างเช่น จะดูแค่เฉพาะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระหว่างกระบวนการผลิต หรือว่า จะดูไปถึงตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ (การปลูกฝ้ายดิบ และการขุดเจาะน้ำมันดิบที่ใช้ผลิตพลาสติก) แล้วเราจะต้องคำนึกถึงเวลาที่ต้องขนส่งวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคด้วยหรือเปล่านั้น คำตอบนี้ “ไม่มีตายตัว” ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการประเมินวัฏจักรชีวิต เพื่อจะได้สามารถตีกรอบการเก็บข้อมูลทำบัญชีทางสิ่งแวดล้อม และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีวิธีการคำนวณและการประเมินที่แตกต่างกัน (ขึ้นอยู่กับประเทศ และช่วงเวลาในการคำนวณ) ซึ่งด้วยขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันนี้เอง ทำให้ผลสรุปของการทำ LCA ได้ผลสรุปที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเนื้อในของการทำ LCA ของแต่ละโครงการครับ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง และไม่บิดเบือน

รายงานประเทศเดนมาร์ก จัดทำขึ้นเพื่อที่จะเลือกวิธีการจัดการถุงหิ้วจ่ายตลาด (Grocery carrier bag) ที่ทำมาจากวัสดุหลากหลายชนิด (รูปที่ 1) รวมถึงผลกระทบของการใช้ถุงหิ้วเหล่านั้นต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในตัวรายงานได้สรุปว่า การใช้ถุงหิ้วจ่ายตลาดชนิดถุงผ้าฝ้าย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ถุงพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ หรือถุงเย็น ที่เราเรียกกันในท้องตลาด (Low Density Polyethylene; LDPE) โดยในการประเมินระบุไว้ว่าจะต้องใช้ถุงผ้าฝ้าย มากกว่า 20,000 ครั้ง เพื่อที่จะลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้เท่ากับการใช้ถุงเย็น 1 ครั้ง โดยคิดจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ถุงผ้าฝ้ายส่งผลกระทบสูงสุด คือ การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศ (Ozone depletion) ดังที่แสดงใน ตารางที่ 1


ตารางที่ 1 จำนวนถุงที่ต้องใช้ซ้ำของถุงผิ้วแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเทียบเท่ากับการใช้ถุง LDPE 1 ครั้ง

การมองกรอบที่ใช้ในการประเมินที่แตกต่างกันออกไป นี่คืออีกหนึ่งในเสน่ห์ของการประเมินวัฏจักรชีวิต ซึ่งในงานเขียนฉบับนี้ ผู้เขียนตั้งใจจะสอนให้ผู้อ่านได้รู้จักโลกของการประเมินวัฏจักรชีวิต 

การตั้งวัตถุประสงค์ของการทำ LCA เป็นขั้นตอนที่จะเป็นตัวตัดสินใจในการเก็บข้อมูลทางสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น สำหรับการตั้งวัตถุประสงค์นั้นมีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ กิจกรรม หรือบริการ (เช่น ปริมาณการปลดปล่อย CO2 ต่อการผลิตน้ำ 1 ลิตร) เพื่อระบุกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (Hot spot) สำหรับพัฒนากิจกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเพื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ กิจกรรม หรือบริการ ของเรากับของคู่แข่ง เป็นต้น สำหรับในรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของประเทศเดนมาร์กนั้น วัตถุประสงค์ของโครงการนี้มีด้วยกัน 3 วัตถุประสงค์

จากวัตถุประสงค์นี้เองทำให้เราสามารถกำหนดขอบเขตของการประเมินได้ โดยขอบเขตของการประเมินมีได้หลายระดับ เช่น ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การแปรรูปวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การใช้งาน จนถึงจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ ดังที่แสดงไว้ใน รูปที่ 2 โดยใน รายงานประเทศเดนมาร์ก ระบุว่าจะประเมินแบบเต็มรูปแบบ คือ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ จนกระทั้งถึงจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ (Cradle-to-Grave)

 


 

ในการนำถุงหิ้วกลับมาใช้ สามารถลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและกำจัดถุงตามจำนวนครั้งที่วนใช้ถุงหิ้วซ้ำ เพื่อหิ้วของ และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะถูกส่งไปกำจัด ซึ่งกระบวนการกำจัดมีด้วยกัน 3 วิธี คือ การเผา การรีไซคลิ่ง และการใช้แทนถุงขยะและเผาทำลาย ดังที่แสดงในรูปที่ 2 โดยพลังงานที่ได้จากการเผาถุงหิ้วจะนำไปหักลบกับเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า

การระบุหน่วยการใช้งาน (Functional unit) ก็มีความสำคัญ เนื่องจากเราจะได้สามารถเปรียบเทียบถุงหิ้วจ่ายตลาดต่างชนิดกันได้ ใน รายงานประเทศเดนมาร์ก ได้เลือกใช้ “ความสามารถในการบรรจุสินค้า (คุณสมบัติในการใช้งานหลักของถุงหิ้ว ) เป็นเกณฑ์กำหนดจำนวนถุงหิ้วที่จะต้องใช้ในการประเมิน โดยถุงหิ้ว 1 ถุง ต้องมีปริมาตรบรรจุอย่างน้อย 22 ลิตร และต้องรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 12 กิโลกรัม (คุณสมบัติจำเพาะที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบถุงพลาสติกต่างชนิดกันได้)” โดนข้อมูลความจุ และความสามารถในการรับน้ำหนักของถุงในรายงานฉบับนี้ ได้จากการสำรวจของกลุ่มประชาชนในประเทศเดนมาร์กตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ซึ่งถุงหิ้วเหล่านั้นจำเป็นที่จะต้องมีทั้งความจุและความสามารถในการรับน้ำหนักตามเกณฑ์นี้ ถ้าถุงหิ้วนั้นมีคุณสมบัติน้อยกว่าที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นด้านความจุ หรือความสามารถในการรับน้ำหนัก จะต้องเพิ่มจำนวนถุงหิ้วประเภทนั้นเป็นจำนวน 2 ถุงแทน เช่น ถุงผ้าฝ้ายอินทรีย์ มีความจุ 21 ลิตร (น้อยกว่า 22 ลิตร) และรับน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัม ในการทำ LCA นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ถึงผ้าฝ้ายอินทรีย์จำนวน 2 ถุง ถึงแม้ถุงผ้าฝ้ายอินทรีย์จะรับน้ำหนักได้ถึง 50 กิโลกรัม ก็ตาม โดยคุณสมบัติจำเพาะและจำนวนถุงหิ้วแต่ละชนิดที่จะถูกประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมสามารถดูรายละเอียดได้ใน ตารางที่ 2 นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การใช้ถุงผ้าฝ้ายมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ถุงพลาสติกในประเทศเดนมาร์ก

หลังจากการตั้งวัตถุประสงค์และกรอบในการทำ LCA เสร็จแล้ว เราจะทราบว่าเราควรจะเก็บข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง ในการเก็บข้อมูลนั้น เพื่อความเป็นระบบนิยมแบ่งกระบวนการออกเป็นกระบวนการย่อยๆ หลาย ๆ กระบวนการ แล้วค่อยเอามาต่อกัน ดังรูปที่ 3 การได้มาของข้อมูลนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. แบบปฐมภูมิ (Primary data), 2. แบบทุติยภูมิ (Secondary data) และ 3. สมมุติฐานและข้อจำกัด (Assumption & Limitation)


ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจริง ในพื้นที่และช่วงเวลาจริงที่จะใช้ทำ LCA เช่น ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิตถุงแต่ละชนิด ที่ได้จากการสัมภาษณ์โรงงานผลิตถุงแต่ละชนิด เป็นต้น ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่อาศัยข้อมูลจากแหล่งงานวิจัยอื่น ๆ ไม่ได้เก็บข้อมูลเอง ซึ่งในบางครั้งข้อมูลที่ได้มาจะไม่ตรงกับความต้องการในการทำ LCA เช่น ผลผลิตของฝ้ายต่อพื้นที่ เป็นต้น และสุดท้ายคือ สมมุติฐานและข้อจำกัด ข้อมูลชนิดสุดท้ายจะใช้ต่อเมื่อเราไม่สามารถหาข้อมูลนั้น ๆ ได้จากปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น การเก็บถุงหิ้ว สามารถเก็บได้ 100% ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ สำหรับข้อจำกัดนั้น มีไว้เพื่อทำให้การทำ LCA สะดวกขึ้น เช่น จะไม่รวมผลกระทบของการผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตถุงพลาสติก รวมถึงการทำถนน เพื่อการขนส่ง เป็นต้น อันที่จริงข้อมูลที่เป็นข้อจำกัดนั้นสามารถหาได้ แต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ได้อาจจะมีน้อยมาก เช่น การผลิตเครื่องจักร เนื่องจากเราไม่ได้ผลิตถุงพลาสติกเพียงถุงเดียว เราผลิตเป็นล้านๆ ถุง เมื่อนำมาหารเฉลี่ยแล้ว ผลกระทบจากการผลิตเครื่องจักรอาจจะน้อยมาก และสามารถตัดทิ้งได้

เมื่อทำบัญชีสิ่งแวดล้อมเสร็จแล้ว เราจะมาดูกันว่าวัตถุดิบ พลังงาน และของเสีย ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านใด และในปริมาณเท่าใด เราสามารถแบ่งผลกระทบออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. ระดับกลาง (Midpoint) 2. ระดับปลาย (Endpoint) ดังที่แสดงในรูปที่ 4

การเลือกการคำนวณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมวิธีใดนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การคำนวณนั้นจะต้องมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เราสนใจ และเป็นวิธีการคำนวณที่นักวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้ในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา เพื่อที่จะได้สามารถเปรียบเทียบผลการประเมินได้ ซึ่งในรายงานของประเทศเดนมาร์กได้เลือก Midpoint ออกมาทั้งหมด 14 ชนิด ดังที่แสดงในรูปที่ 3 และใช้วิธีการคำนวณแบบ ILCD 2011 ที่นิยมใช้ในการทำ LCA ในประเทศโซนยุโรป แต่ในรายงานของประเทศเดนมาร์กจะไม่นำ Midpoint ดังกล่าวไปคำนวณ Endpoint


จากการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทำให้เราทราบว่า การใช้ถุงผ้าฝ้ายส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ถุงหิ้วที่ทำมาจากวัสดุอื่น ๆ โดยรวมแล้วการใช้ถุง LDPE เป็นถุงหิ้ว ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่กับทุก Midpoint ดังที่แสดงไว้ใน ตารางที่ 3 และการเลือกใช้วิธีการกำจัดถุงหิ้วที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของถุงหิ้ว โดยถุงหิ้วพลาสติกเนื้อหนา เช่น PP, PET และ polyester สามารถนำไปรีไซคลิ่งได้ จะดีที่สุด ส่วนชนิดบาง เช่น LDPE กระดาษ และพลาสติกชีวภาพ ให้นำไปใช้แทนถุงขยะก่อนส่งเผา ผลิตเป็นพลังงาน โดยวิธีการกำจัดถุงหิ้วแต่ละชนิดสรุปอยู่ใน ตารางที่ 4

• เมื่อเปรียบเทียบระหว่างถุงกระดาษและถุงผ้าฝ้ายแล้ว ถุงผ้าฝ้ายส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงกระดาษมาก ทั้งนี้เนื่องจาก “น้ำหนัก” ของถุงผ้าฝ้ายหนักกว่าถุงกระดาษมาก นั่นหมายถึงต้องมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตเป็นปริมาณที่มากกว่า ซึ่งเหตุผลนี้ทำให้ถุงผ้าฝ้ายส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงพลาสติกด้วยเช่นกัน

• จากผลกระทบของถุงผ้าฝ้ายที่ส่วนใหญ่เกิดในช่วงการผลิตฝ้าย (Hot spot) สามารถนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาได้ดังต่อไปนี้
      o การทำเกษตรแบบแม่นยำ (Precision agriculture) ที่ใช้สารเคมีและน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ 
      o การนำเสื้อผ้าเก่ามาผลิตเป็นถุงผ้าแทน 
      o การเลือกใช้เส้นใยชนิดอื่นแทนฝ้าย เช่น ป่าน และปอ เป็นต้น
      o การพัฒนากระบวนการผลิตถุงผ้าที่ใช้ปริมาณฝ้ายน้อยลง

• ถึงแม้การใช้ถุงผ้าฝ้ายจะส่งผลกระทบต่อการลดลงของชั้นโอโซนสูงสุด แต่สถานการณ์ปัจจุบันชั้นโอโซนของโลกเริ่มฟื้นตัวไปในทางที่ดี ถ้าจะพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตัวที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจำนวนครั้งที่จะต้องใช้ถุงผ้าฝ้ายซ้ำจะเหลือเพียง 52 ครั้ง สำหรับผ้าฝ้ายธรรมดา และ 149 ครั้ง สำหรับผ้าฝ้ายอินทรีย์ เท่านั้น

สำหรับย่อหน้าส่งท้ายของบทความนี้ จากการวิเคราะห์การทำ LCA ของรายงานผลกระทบการใช้ถุงหิ้วชนิดต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าการทำ LCA ไม่ใช้ศาสตร์ที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ กรอบการประเมิน สมมุติฐาน บริบทของข้อมูล และข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน ดังนั้นอยากจะฝากไว้กับผู้อ่านอย่าเพิ่งตระหนกกับผลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำ LCA ขอให้พิจารณาเนื้อในของตัวรายงาน ตั้งคำถามว่าทำไมผลถึงออกมาเป็นเช่นนั้น และถ้ามีข้อสงสัยก็สามารถสืบค้นได้ด้วยตนเองหรือซักถามผู้ที่มีความรู้ อย่าเพิ่งด่วนสรุปกับผลที่รายงานออกมา สุดท้ายอยากฝากเอาไว้ว่า LCA ไม่ใช่เครื่องมือที่ทรงพลังที่สามารถตอบได้ทุกคำถาม และคำตอบที่ได้ออกมาก็มีความคลาดเคลื่อนตามคุณภาพของข้อมูล หัวใจหลักของการทำ LCA คือ ผู้วิจัยที่จะต้องเป็นผู้แปรผล และหาทางแก้ปัญหาในสิ่งที่ค้นพบในการทำ LCA ต่างหากที่สำคัญ



บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี