บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาวัสดุเพาะเห็ดนางรมทองโดยผสมขี้เลื่อยไม้กับกระดาษลัง เปลือกมังคุดและเปลือกเงาะในอัตราส่วนต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าเห็ดที่เจริญจากขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุดร้อยละ 25:75 โดยปริมาตร มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เปลือกมังคุดจึงเป็นวัสดุผสมที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะ
ณัฐวรา กิจธรรมรัตน์1, ภัทรพร เอี่ยมศิริกิจ1, ศศธร ศิริกุลสถิตย์1, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ1,2, ภัทรญา กลิ่นทอง1,*
1 สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม
2 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* E-mail: Pattaraya.kln@mwit.ac.th
งานวิจัยนี้ศึกษาวัสดุเพาะเห็ดนางรมทอง (Pleurotus citrinopileatus Singer.) ที่ทำมาจากวัสดุเหลือทิ้งและเปลือกผลไม้ ได้แก่ กระดาษลัง เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะ โดยผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารากับกระดาษลัง เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะในอัตราส่วนต่าง ๆ บันทึกการเจริญเติบโต วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของดอกเห็ด ผลการศึกษาพบว่า ขนาดและน้ำหนักแห้งของเห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยผสมกับกระดาษลังและขี้เลื่อยผสมกับเปลือกมังคุดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียว โดยเห็ดที่เจริญมาจากวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยผสมกับเปลือกมังคุดที่อัตราส่วนร้อยละ 25:75 โดยปริมาตร มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด แม้จะมีโปรตีนและการเติบโตที่ช้าลง ดังนั้น หากต้องการทำให้เห็ดนางรมทองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เปลือกมังคุดจึงเป็นวัสดุผสมชนิดหนึ่งที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรมทอง
เห็ดเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่นิยมบริโภคอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากเห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 นอกจากนี้เห็ดบางชนิด เช่น เห็ดนางรมทอง (Golden Oyster Mushroom) ยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งอนุมูลอิสระเป็นสารที่ไม่เสถียรและมีความว่องไวในการเข้าทำปฏิกิริยากับสารชีวโมเลกุลในร่างกายและทำลายองค์ประกอบของเซลล์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งนำไปสู่ความไม่สมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อนุมูลอิสระจึงเป็นสาเหตุของโรคภัยหลายชนิด
มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโต สารอาหารและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเห็ดขึ้นอยู่กับวัสดุเพาะ ยกตัวอย่างเช่น อามีเนาะ อาแย (2556) ได้ใช้กรวยกระดาษเหลือทิ้งร่วมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราในการเป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดภูฐาน พบว่าเห็ดนางรมมีการเจริญเติบโตของเส้นใยบนวัสดุเพาะกรวยกระดาษร่วมกับขี้เลื่อยไม้ยางพารามากที่สุด และเมื่อเพาะเส้นใยเห็ดนางรมบนวัสดุเพาะกรวยกระดาษและขี้เลื่อยไม้ยางพาราสัดส่วน 75:25 โดยน้ำหนัก พบว่าวัสดุเพาะดังกล่าวสามารถให้ผลผลิตเป็นดอกเห็ดสดน้ำหนักเฉลี่ย 26.59 กรัมต่อ 100 กรัมวัสดุเพาะ มีปริมาณโปรตีนร้อยละ 35.75 ต่อน้ำหนัก และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าดอกเห็ดชุดควบคุมที่เพาะด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ Baysal et al. (2003) ศึกษาการเพาะเห็ดนางรมโดยใช้กระดาษเหลือทิ้งจากการตีพิมพ์ผสมกับวัสดุเสริมอื่น ๆ ได้แก่ ถ่าน ขี้ไก่ และแกลบด้วยอัตราส่วนต่าง ๆ โดยน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่า เห็ดที่เพาะในกระดาษที่เหลือจากการตีพิมพ์ผสมกับแกลบด้วยอัตราส่วนร้อยละ 80:20 มีน้ำหนักดอกมากที่สุด งานวิจัยล่าสุดโดย Jin et al. (2018) ได้ทดลองเพาะเห็ดนางรมโดยใช้ซังข้าวโพดผสมกากสมุนไพร (herb residue) จากอุตสาหกรรมยาท้องถิ่นของประเทศจีนในสัดส่วน 5:3 โดยน้ำหนัก ผลการทดลองพบว่าเห็ดนางรมมีน้ำหนักสด ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่เพาะในซังข้าวโพดเพียงอย่างเดียวและไม่พบโลหะหนัก (แคดเมียม ตะกั่ว และสารหนู) ในเห็ดทั้งในชุดควบคุมและชุดทดลอง
เพื่อศึกษาผลของวัสดุเพาะจากกระดาษลัง เปลือกมังคุดและเปลือกเงาะต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเห็ดนางรมทอง และผลของวัสดุดังกล่าวต่อการเจริญเติบโตและปริมาณโปรตีนในเห็ด
1. เตรียมวัสดุเพาะเชื้อเห็ดซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเพาะพื้นฐานและใช้วัสดุเพาะอื่น ๆ ได้แก่ กระดาษลัง เปลือกมังคุดแห้งบด และเปลือกเงาะแห้งบดผสมในอัตราส่วนที่แตกต่างกันโดยปริมาตร ดังตารางที่ 1 พร้อมทั้งผสมอาหารเสริมซึ่งประกอบด้วยรำละเอียด แป้งมัน ยิปซัม ปูนขาว และดีเกลือตามสูตรมาตรฐานของศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก จ.นครปฐม โดยบรรจุวัสดุเพาะเชื้อเห็ดลงในถุงพลาสติก ใส่คอขวดพลาสติก อุดจุกด้วยสำลี และรัดด้วยยางรัดให้แน่นเพื่อผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด จากนั้นนำไปนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป
2. เทเมล็ดข้าวฟ่างที่มีเส้นใยเชื้อเห็ดนางรมทองเจริญเต็มทั่วทั้งเมล็ดลงในถุงก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 15-20 เมล็ดข้าวฟ่างต่อถุง ปิดจุกด้วยสำลี และนำถุงก้อนเชื้อเห็ดไปวางบนชั้นเพื่อบ่มเชื้อเป็นเวลา 3-4 สัปดาห์เพื่อให้เส้นใยเชื้อเห็ดเจริญจนเต็มหรือเกือบเต็มถุงซึ่งเส้นใยจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างอัดกันเป็นตุ่มดอกเห็ด จึงทำการเปิดจุกออกเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตโผล่ออกทางปากถุง ดูแลโดยพ่นละอองน้ำเพื่อรักษาความชื้นของก้อนเชื้อเห็ดและดอกเห็ด 4. นำเห็ดที่แห้งแล้วมาสกัดด้วยสารละลาย 80% เอทานอล วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนด้วยวิธีแบรดฟอร์ด (Bradford's method) และวิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยการทำปฏิกิริยากับ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH assay) เชื้อเห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นชุดควบคุม (ชุดที่ 1) ใช้เวลาในการเจริญของเส้นใยในถุงพลาสติกบรรจุวัสดุเพาะประมาณ 29 วัน และประมาณ 10 วัน สำหรับการเจริญเป็นดอกเห็ด (รูปที่ 2ก) ในขณะที่เชื้อที่เพาะในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยผสมกระดาษลัง (ชุดที่ 2, 3) ใช้เวลาประมาณ 50-60 วัน สำหรับการเจริญของเส้นใย และประมาณ 9-15 วัน ในการออกดอก (รูปที่ 2ข, ค) ส่วนเชื้อที่เจริญในขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุด (ชุดที่ 4, 5) ใช้เวลาประมาณ 65 วันในการเจริญของเส้นใย และ 20-24 วันในการออกดอก ในขณะที่เชื้อที่เพาะในขี้เลื่อยผสมเปลือกเงาะในอัตราส่วนต่าง ๆ (ชุดที่ 6, 7) ไม่มีการเจริญของเส้นใยของเชื้อเห็ดนางรมทอง คณะผู้วิจัยขอขอบคุณศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม สำหรับวัสดุ ความรู้และเทคนิคในการเพาะเห็ด และขอขอบคุณทุนสนับสนุนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และทุนสนับสนุนบางส่วนจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 21 (YSC 2019) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้
ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ
กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ
สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมไทย
ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3 สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้ เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป
ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์ ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์
บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้ บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี
เมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนในดอกเห็ดนางรมทองพบว่า ดอกเห็ดที่เพาะในชุดควบคุมซึ่งเพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวมีปริมาณโปรตีนมากที่สุดคือประมาณ 5,000 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งของเห็ดซึ่งมากกว่าชุดทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (รูปที่ 4) รองลงมาคือปริมาณโปรตีนในดอกเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยผสมกระดาษลังซึ่งมีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 1,800 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งของเห็ดโดยมีค่ามากกว่าโปรตีนในดอกเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุด (รูปที่ 4) จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า การเพาะเชื้อเห็ดในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวให้ดอกเห็ดที่มีโปรตีนสูงที่สุด รองลงมาเป็นดอกเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยผสมกระดาษลัง ทั้งนี้อาจเนื่องจาก วัสดุเพาะดังกล่าวมีความเหมาะสมต่อเชื้อเห็ดในการใช้ประโยชน์จากแหล่งไนโตรเจนที่เป็นอาหารเสริมที่ผสมลงไป เช่น รำละเอียด จึงทำให้เห็ดที่เพาะในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยและขี้เลื่อยผสมกระดาษลังมีปริมาณโปรตีนมาก
เมื่อวิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของดอกเห็ดที่เพาะในวัสดุต่าง ๆ พบว่า ดอกเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุดที่อัตราส่วนร้อยละ 25:75 มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยมีค่าประมาณ 64% ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (รูปที่ 5) ผลการทดลองที่ได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ Jin et al. (2018) ที่ได้รายงานว่าเห็ดนางรมที่เพาะในซังข้าวโพดผสมกากสมุนไพรมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชุดควบคุมที่เพาะในซังข้าวโพดเพียงอย่างเดียวซึ่งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเกิดจากวัสดุที่เพาะโดยระหว่างที่มีการเติบโตของเส้นใยเห็ดจะมีการดูดซึมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารประกอบฟีนอลจากกากสมุนไพรทำให้เมื่อเส้นใยเจริญเต็มที่เป็นดอกเห็ดจึงมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและมีปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดสูง ดังนั้น ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุดซึ่งมีค่าสูงที่สุดนั้นอาจมาจากเปลือกมังคุดที่ผสมลงไปในวัสดุเพาะ เนื่องจากมีรายงานการวิจัยว่าในเปลือกมังคุดมีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอลฟาแมงโกสติน (alpha-mangostin) อิพิคาเทชิน (epicatechin) และโปรแอนโทไซยานิดิน ไดเมอร์ (proanthocyanidin dimer) (ศนิดา คูนพานิช, 2549; โนรี จงวิไลเกษม, 2550; Jaisupa et al., 2018) ดังนั้น เส้นใยเห็ดที่เจริญในวัสดุเพาะที่มีเปลือกมังคุดจึงมีโอกาสในการดูดซึมสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวจึงทำให้ดอกเห็ดนางรมทองมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามความสามารถนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนที่ใช้โดยการศึกษาในครั้งนี้อัตราส่วนระหว่างขี้เลื่อยและเปลือกมังคุดที่ดีที่สุดคือร้อยละ 25:75 โดยปริมาตร (รูปที่ 5)
จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า การเพาะเห็ดนางรมทองในขี้เลื่อยผสมเปลือกมังคุดที่อัตราส่วนร้อยละ 25:75 โดยปริมาตรทำให้เห็ดนางรมทองมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยมีประเด็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่
1. เห็ดนางรมทองที่เพาะในวัสดุผสมระหว่างขี้เลื่อยและกระดาษลัง และวัสดุผสมระหว่างขี้เลื่อยและเปลือกมังคุดให้ดอกเห็ดที่มีขนาดและน้ำหนักแห้งไม่แตกต่างจากเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียว แต่การผสมกระดาษลังและเปลือกมังคุดลงไปในขี้เลื่อยทำให้การสร้างเส้นใยและการเจริญของดอกเห็ดช้ากว่าการเพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียว
2. เห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวมีปริมาณโปรตีนมากที่สุด
3. เห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยผสมกระดาษลังหรือเปลือกมังคุดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงขึ้นโดยการผสมกับเปลือกมังคุดที่อัตราส่วนร้อยละ 25:75 โดยปริมาตร มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด แต่ทำให้เห็ดมีปริมาณโปรตีนลดลง
4. เปลือกเงาะไม่เหมาะสำหรับการเป็นวัสดุเพาะเชื้อเห็ดนางรมทอง
บทความอื่นๆ
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขอบเขตของเนื้อหา
ความยาวของบทความ
รูปในบทความ
การอ้างอิงทางบรรณานุกรม
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....
FAQ
เกี่ยวกับวารสาร
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
กองบรรณาธิการ
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
ที่ปรึกษา
สำหรับสำนักพิมพ์
สำหรับบรรณาธิการ
สำหรับผู้แต่ง
สำหรับผู้ประเมิน