กระบวนการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาเกษตรกรรมไร้หมอกควัน จังหวัดน่าน
1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* Puntita.t@chula.ac.th
สถานการณ์หมอกควันในประเทศไทยส่วนมากจะพบบริเวณภาคเหนือของประเทศ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ เปรียบเสมือนกำแพงขวางกั้นการไหลเวียนของอากาศ ปัญหาหมอกควันมักจะเกิดในช่วงหน้าแล้ง (มกราคม-พฤษภาคม) ของทุกปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในรอบการผลิตถัดไปทั้งในพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ป่า รวมถึงการเกิดไฟป่าทั้งในพื้นที่ป่าไม้ภายในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน (ภาพที่ 1) ก็ยังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์หมอกควันให้เพิ่มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดสาเหตุการเกิดหมอกควันจากภาคการเกษตรในจังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่น่านเหนือ (ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ) พื้นที่น่านกลาง (ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง) และพื้นที่น่านใต้(ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย)
ที่มา: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)
ที่มา: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)
ที่มา: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)
ที่ดิน (Land) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดสวนทางกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากอัตราการเติบโตของประชากร ที่ดินนอกจากจะเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเครื่องค้ำจุนเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม แล้วยังเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ชาติมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2531 อ้างอิงถึงใน ปิยกุล, 2553 : 102 น.) การใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง การใช้ที่ดินเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ เช่น ทำการเกษตร แหล่งน้ำ ที่อยู่อาศัย และใช้เป็นพื้นที่ป่าโดยมีขนาดของที่ดินในการใช้ประโยชน์ต่างๆกันไป (บุญยเกียรติ, 2535 : 25-27)
นายปวิณ ปุณศรี (การเกษตรที่สูงในประเทศไทย .สาราณุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12) กล่าวถึงเกษตรกรรมในพื้นที่สูงว่า การทำการเกษตรของชาวเขาจะมีลักษณะเป็นการทำไร่เลื่อนลอย คือ ย้ายที่ไปเรื่อยๆ หลังจากที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีวัชพืชเกิดขึ้น ทำให้มีการทำลายป่า เพื่อการเพาะปลูกมากขึ้นทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงทราบถึงปัญหาในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ทรงเห็นว่าการที่จะขับไล่หรือเคลื่อนย้ายชาวเขา ให้ไปอยู่ในที่ที่กำหนดให้นั้นจะทำได้ยาก แต่ถ้าสามารถช่วยให้ชาวเขามีความรู้ ความสามารถทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ชาวเขาตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่ถาวรได้โดยไม่เคลื่อนย้ายทำไร่เลื่อนลอยดังแต่ก่อน และจะก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมในที่สุดจึงทำให้เกิดโครงการส่วนพระองค์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 มีชื่อว่า "โครงการหลวง" จึงทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยทางเกษตรสาขาใหม่ขึ้นในประเทศไทย นั่นคือ "การเกษตรที่สูง"
การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาร์นสไตน์ (Shery R. Arnstein, 1969, pp. 216-214) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมถือเป็นอำนาจอย่างหนึ่งของประชาชนและใช้เป็นกลยุทธ์ให้กับประชาชนที่ไร้ซึ่งอำนาจ ที่ถูกกีดกันจากกระบวนการทางการเมืองและเศรษฐกิจให้สามารถกำหนดแนวทางในการรับรู้และแบ่งปันข่าวสาร กำหนดเป้าหมายและนโยบายสาธารณะ การจัดสรร/ใช้จ่าย/รายได้/ภาษีอากร การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ รวมถึงการเปิดเผยและกระจายผลประโยชน์ ตามแนวคิด “ขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง” แบ่งระดับการมีส่วนร่วมออกเป็น 8 ระดับ (ภาพที่ 3)
ที่มา: Arnstein (1969)
การศึกษานี้ได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเริ่มต้นจากการมีส่วนร่วมในระดับ “ปรึกษาหารือ” (Consultation) โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็น (Focus group) สะท้อนบทเรียนจากการเกษตรที่เป็นอยู่ เพื่อให้เข้าใจบริบทพื้นที่และชุมชน สภาพปัญหาของพื้นที่การเกษตรร่วมกันระหว่างเกษตรกร ภาคการศึกษา องค์กรและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสร้างการมีส่วนร่วมในระดับ “ความร่วมมือ” (partnership) โดยการรับสมัครเกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ภายใต้ชื่อกิจกรรม “เกษตรกรรมแบบไม่ใช้ไฟ...ลดเสี่ยงภัยหมอกควัน” ร่วมกับกระบวนการทำแผนที่ทำมือ การสำรวจกายภาพเพื่อระบุพิกัดของแปลงเกษตรกรรม และนำเสนอในรูปแบบของแผนที่กราฟิก เพื่อระบุข้อมูลการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินจาก “เกษตรกรรมแบบพึ่งพาไฟ” ไปสู่ “การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
ที่มา: โดยคณะผู้วิจัย เมื่อ 26 มีนาคม 2560
ที่มา: โดยคณะผู้วิจัย เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2559
ในกระบวนการศึกษาวิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่นำร่องทั้ง 3 แห่งในจังหวัดน่าน ได้แก่ พื้นที่น่านเหนือ (ชุมชนบ้านยอดดอยวัฒนาและชุมชนบ้านน้ำหมาว ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ) พื้นที่น่านกลาง (ชุมชนบ้านราษฎร์สามัคคี ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง) และพื้นที่น่านใต้ (ชุมชนบ้านห้วยส้ม ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย) พบปัจจัยสำคัญของความแตกต่างเชิงพื้นที่ตามสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดน่านที่มีความแตกต่างกันจึงส่งผลต่อวิถีในการดำเนินชีวิต เกษตรกรมีปัญหาหนี้สินเพิ่มจากระบบการเกษตรเชิงเดี่ยวที่ดำเนินการอยู่ อีกทั้งในการทำการเกษตรของจังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นการเกษตรแบบพึ่งพาไฟ โดยมีการเผาหลังจากการแผ้วถางพื้นที่และการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบการผลิตถัดไป รวมถึงการใช้สารใช้สารเคมีการเกษตรจำนวนมากโดยเฉพาะสารฆ่าหญ้า ในกระบวนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นระยะเวลานาน ดังแสดงในตารางที่ 2
วิถีการหมุนเวียนพื้นที่ในการทำการเกษตร โดยจะเวียนรอบ 3-5 ปี และมีการพึ่งพาไฟในการหักร้างถางป่า เมื่อเวียนครบรอบกลับมายังพื้นที่ที่ได้หยุดพักทำการเกษตร ดังแสดงในภาพที่ 6 ผลจากการสำรวจข้อมูลเชิงลึกด้านต่างๆ ได้แก่ วิถีการเกษตร ปัจจัยการผลิต ต้นทุน-กำไรของการเกษตรที่ได้ดำเนินการ รวมถึงวิถีการใช้ชีวิตของเกษตรกรแต่ละครัวเรือน สังคมและวัฒนธรรม ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่ (โครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน, 2560) ได้นำมาเป็นฐานข้อมูลหลักในการวิเคราะห์และการประเมินความเหมาะสมเชิงพื้นที่ บริบทชุมชนและสังคม ตลอดจนความเป็นไปได้ของพืชทดแทนที่มีศักยภาพและมีความต้องการของตลาด จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน สามารถสรุปรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรนำร่องดังแสดงในตารางที่ 3 และนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ของพื้นที่เพาะปลูกที่ลดการพึ่งพาไฟในรูปแบบกราฟิกแผนที่ดังภาพที่ 8 และการปรับเปลี่ยนใช้ประโยชน์ที่รายแปลงในภาพที่ 9
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ประเทศไทยไร้หมอกควัน” ชุดโครงการย่อยที่ 1 “การปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดิน และการออกแบบห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรเพื่อลดการเกิดหมอกควัน - พื้นที่จังหวัดน่าน”ภายใต้ความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (Research University Network: RUN) ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการ Thailand Grand Challenge
แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้
ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 6 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ
กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ
สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมไทย
ISSN (ONLINE) : xxxx-xxxx
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มิถุนายน และ ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3 สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้ เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป
ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์ ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์
บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้ บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี
สภาพบริบทเชิงพื้นที่
น่านเหนือ
พื้นที่การเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บริเวณเนินเขาที่มีความลาดชันและไม่มีระบบน้ำดังแสดงในภาพที่ 7
2. พื้นที่เพาะปลูกไม้ผลพืชสวนและพืชไร่ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และอื่นๆ บริเวณที่ราบและพื้นที่เนินเขาที่มีระบบน้ำเข้าถึงน่านใต้
- มีการพึ่งพาไฟในการทำเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และกำจัดวัสดุเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว
- วิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาเนื่องจากพ่อ แม่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลลูก
- รายได้หลักของคนในชุมชนมาจากการขายน้ำยางพาราดิบ
ที่มา: โดยคณะผู้วิจัย เมื่อ 31 มีนาคม 2561
ที่มา: โดยคณะผู้วิจัย เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560
การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรใหม่
ที่มา: โดยคณะผู้วิจัย 2559-2560
ภาพที่ 9 การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรพื้นที่ศึกษานำร่อง
การศึกษานี้อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือและสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวที่ต้องพึ่งพาไฟและสารเคมี ไปสู่การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รักษาสภาพแวดล้อม ฟื้นฟูวิถีเกษตรกรรมแบบดั่งเดิมที่ใช้หลักพึ่งพิงธรรมชาติและสร้างความยั่งยืนให้กับการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น โดยอาศัยองค์ความรู้และวิทยาการแบบใหม่มาผสมผสาน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหมอกควันและการรักษาทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน
บทความอื่นๆ
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขอบเขตของเนื้อหา
ความยาวของบทความ
รูปในบทความ
การอ้างอิงทางบรรณานุกรม
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....
FAQ
เกี่ยวกับวารสาร
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
กองบรรณาธิการ
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
ที่ปรึกษา
สำหรับสำนักพิมพ์
สำหรับบรรณาธิการ
สำหรับผู้แต่ง
สำหรับผู้ประเมิน