บทความ: “หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)” เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
ในขณะที่กระแสกรีนเริ่มขยายตัวในประเทศไทย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ยังไม่ได้จัดระบบแยกเก็บขยะตามประเภทที่ต้นทาง จนเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า “แยกไป ก็เทรวมกันอยู่ดี” ทั้งที่ในความเป็นจริง พนักงานเก็บขยะมีการแยกขยะรีไซเคิลตลอดเส้นทางที่เก็บขยะและมีกลุ่มคนที่คุ้ยขยะรีไซเคิลเพื่อขาย ณ ที่จุดพักขยะและสถานฝังกลบหรือบ่อขยะที่เป็นปลายทางของขยะในประเทศไทย เพียงแต่ปัญหาอยู่ที่ความไม่พร้อมของ อปท.ที่จะจัดระบบแยกเก็บขยะตามวันหรือต่อเที่ยวรถซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งที่ อปท. ไม่กล้าลงทุนเนื่องมาจากการที่เห็นว่าประชาชนไม่แยกขยะ ทำให้เกิดสภาวะโทษกันไปโทษกันมาของผู้ทิ้งและผู้เก็บจนไม่สามารถขับเคลื่อนให้ระบบการแยกขยะที่ต้นทาง
แม้ปัจจุบัน จะมีกลุ่มองค์กรและผู้ผลิตบางรายเริ่มทำโครงการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์และซากผลิตภัณฑ์ฯ ไปรีไซเคิลหรือแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น กล่อง UHT นำไปทำหลังคาหรือโต๊ะเก้าอี้นักเรียน พลาสติกชนิด PE นำไปทำถุงพลาสติกรีไซเคิล ฝาขวดพลาสติกนำไปแปลงเป็นกระถางต้นไม้) แต่ก็ทำได้ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากใช้งบ PR หรือ CSR และเป็นการดำเนินการเพียงบริษัทเดียว ไม่สามารถตั้งจุดรับและเก็บรวบรวมได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ อันเป็นจุดอ่อนของการทำเชิงสมัครใจ อีกทั้งเริ่มมีบริษัทที่เปิดรับขยะประเภทเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derive Fuel: RDF) เพื่อส่งเผาเป็นพลังงานทดแทนที่โรงปูนซีเมนต์ แต่ประชาชนหรือแหล่งกำเนิดต้องเสียค่าขนส่งไปรษณีย์จัดส่งเชื้อเพลิงขยะไปให้อีก เป็นที่มาของคำถามว่า ทำไมภาครัฐทั้งหน่วยงานส่วนกลาง อปท. และภาคเอกชนถึงไม่จัดระบบรับคืน (Drop-off point) ขยะบรรจุภัณฑ์และซากผลิตภัณฑ์ฯ เหมือนต่างประเทศที่มีจุดรับคืนตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือที่สาธารณะต่าง ๆ
อาจถือได้ว่า หลักการ EPR ได้กลายเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายของการจัดการขยะยุคใหม่ที่มุ่งส่งเสริมการจัดระบบเก็บรวบรวมเพื่อรีไซเคิลและการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาแนวคิดและรูปแบบมาเกือบ 30 ปีแล้วแต่หลักการ EPR ยังเป็นแนวคิดใหม่สำหรับสังคมไทย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวคิดและพัฒนาการของระบบ EPR เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิรูประบบการจัดการขยะในประเทศไทยที่นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป
2. พัฒนาการของหลักการ EPR
“EPR เป็นหลักการทางนโยบายที่ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นการรับคืน การรีไซเคิลและการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ในทางปฏิบัติ หลักการ EPR เป็นพื้นฐานของการเลือกชุดเครื่องมือทางนโยบายไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางการบริหาร เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์หรือเครื่องมือเชิงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ”
Lindhqvist เห็นว่า หากให้ผู้ผลิตเข้ามามีบทบาทในการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ตนเองผลิตขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ใช่แค่ช่วงของการผลิตแต่ให้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมและรีไซเคิลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคด้วย จะทำให้ผู้ผลิตได้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นรีไซเคิลได้ยากหรือง่ายเพียงใด ยิ่งรีไซเคิลได้ยาก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดมาก เมื่อผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อต้นทุนในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ให้ง่ายต่อการรีไซเคิลหรือได้มากขึ้น ลดการใช้สารที่เป็นอันตรายที่จะยิ่งเพิ่มค่ากำจัด นอกจากนี้ หลักการ EPR ยังเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการบริโภคและมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์หรือขยะบรรจุภัณฑ์ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle) เป็นการเปลี่ยนจากความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่นและผู้เสียภาษีมาเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค (OECD, 2016a)
ตามหลักการ EPR โดยทั่วไป “ผู้ผลิต” คือ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ (manufacturer) และผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ (professional importer) (เจ้าของแบรนด์) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยตรง แต่ในทางปฏิบัติ ภาครัฐอาจกำหนดให้ร้านค้าปลีกมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย เช่นกรณีกฎหมายบรรจุภัณฑ์ของเยอรมันนี
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ภายใต้กฎหมายหรือนโยบาย EPR ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72) คือ การจัดระบบรับคืน (take-back requirements) โดยกำหนดความรับผิดชอบให้กับผู้ผลิตหรือผู้ค้าปลีก นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดล่วงหน้า (Advanced Disposal Fees: ADF) (ร้อยละ 16) และมาตรการมัดจำคืนเงิน (ร้อยละ 11) ซึ่งนิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มและแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและใช้ควบคู่กับข้อกำหนดเรื่องการจัดระบบรับคืน เครื่องมือเชิงนโยบายอื่น ๆ ที่มีการใช้ ได้แก่ การเก็บภาษีวัสดุใหม่ (virgin material taxes) มาตรฐานสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ระบบ EPR ที่พบส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีสภาพบังคับ นั่นคือ มีการตราเป็นกฎหมาย ในขณะที่ระบบ EPR ที่เป็นแบบเชิงสมัครใจมีน้อยและจำกัดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรได้ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่มักจะพบว่าอัตราการเก็บรวบรวมอยู่ในระดับต่ำ แต่โครงการเชิงสมัครใจอาจเกิดขึ้นได้ในประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้กำหนดนโยบายยังไม่มีนโยบายในการผลักดันกฎหมาย EPR (OECD, 2016a) ในยุคแรก ๆ ของระบบ EPR มักจะมี PRO เพียงองค์กรเดียว (ดังแสดงในรูปที่ 1) เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ผลิตและหน่วยงานกำกับดูแลและในประเทศที่พื้นที่ไม่ใหญ่ การมี PRO เพียงหนึ่งองค์กรอาจช่วยให้เกิดการจัดการที่คุ้มค่ามากกว่าเพราะมีความประหยัดต่อขนาด แต่ภายหลัง เริ่มมีข้อห่วงกังวลเรื่องการผูกขาดของ PRO ที่อาจทำให้ต้นทุนการบริหารสูงกว่าที่ควรจะเป็น ในระยะหลัง ภาครัฐจะออกกฎหมาย EPR ที่ส่งเสริมให้ระบบ EPR มี PRO หลายองค์กรได้เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในด้านราคาและการบริการ จากการสำรวจของคณะกรรมาธิการยุโรปในปีค.ศ. 2014 พบว่า ระบบ EPR ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่เป็นการจัดการโดยรูปแบบที่มี PRO หลายองค์กร ในทางตรงกันข้าม ซากรถยนต์มักจะถูกจัดการโดย PRO เดียว ประสบการณ์ของเยอรมนีพบว่า ต้นทุนในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ลดลงอย่างมากเมื่อเปิดให้มีการประมูลบริการในระดับ PRO และเปิดให้มีการแข่งขันกันระหว่าง PRO แต่ประสบการณ์ของโปรตุเกส พบว่า หากต้นทุนเก็บรวบรวมอยู่ที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ การเปิดให้มีหลาย PRO ไม่ได้ช่วยลดต้นทุนของระบบมากนัก (Rubio et al., 2019) OECD (2016a) เสนอให้มีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการมี PRO หนึ่งรายเทียบกับหลายราย ตัวแสดงหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในระบบ EPR (OECD, 2016a) ได้แก่ จากระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่หลายประเทศทั่วโลกได้ออกกฎหมายหรือใช้หลักการ EPR ในการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะบรรจุภัณฑ์และยางรถยนต์ OCED (2016a) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลซึ่งยังพบว่ามีข้อจำกัดในการประเมิน แต่สามารถสรุปผลการดำเนินงานของระบบ EPR ในภาพรวมได้ดังนี้ 1) ระบบ EPR ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องส่งไปกำจัด เพิ่มอัตราการรีไซเคิลและช่วยลดภาระงบประมาณของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยลง รูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปีค.ศ. 1995 – 2011 อัตราการเกิดขยะมูลฝอยชุมชนต่อคนในกลุ่มประเทศ OECD มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา นอกจากนี้ สัดส่วนการรีไซเคิลวัสดุในกลุ่มประเทศ OECD เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19 ในปีค.ศ. 1995 เป็นร้อยละ 33 ในปีค.ศ. 2011 นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลอัตราการเก็บรวบรวมหรือรีไซเคิลขยะประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายหรือระบบ EPR ในสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนที่มีระบบ EPR เช่น อัตราการรีไซเคิลหรือแปลงสภาพของขยะบรรจุภัณฑ์ของประเทศสมาชิกอยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 29 ถึงร้อยละ 84 เช่นเดียวกับข้อมูลจากญี่ปุ่นที่พบว่า EPR ช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์จากปีค.ศ. 1997 ได้ร้อยละ 27 ในปีค.ศ. 2000 หรือจาก 1.25 ล้านตันเป็น 1.59 ล้านตัน (OCED, 2016a)
พัฒนาของแนวคิดและกฎหมาย
Thomas Lindhqvist เสนอรายงานหลักการ EPR ต่อกระทรวงสิ่งแวดล้อม สวีเดน
หลักการ EPR บรรจุอยู่ในกฎหมายจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของประเทศเยอรมนี (The Ordinance on the Avoidance of Packaging Waste, BGB1. I 1991 S. 1234)
หลักการ EPR เป็นพื้นฐานของกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการบรรจุภัณฑ์ (Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste) ของสหภาพยุโรป
ผู้ผลิตจัดตั้งองค์กร PRO Europe S.P.R.L เป็นหน่วยงานกลางในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในยุโรป
หลักการ EPR บรรจุอยู่ในกฎหมายการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าในครั้งเรือน (Specified Home Appliances Recycling Law: SHARL) ของประเทศญี่ปุ่น
หลักการ EPR เป็นพื้นฐานของกฎระเบียบว่าด้วยซากรถยนต์ (Directive 2000/53/EC on end-of-life vehicles) ของสหภาพยุโรป
OECD จัดทำคู่มือ EPR สำหรับภาครัฐ
หลักการ EPR เป็นพื้นฐานของกฎระเบียบว่าด้วยซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Directive 2002/96/EC on waste electrical and electronic equipment) ของสหภาพยุโรป
เกาหลีใต้ปรับปรุงกฎหมายการประหยัดและรีไซเคิลทรัพยากร (Act on the Promotion of Saving and Recycling of Resource: APSRR) โดยใช้หลักการ EPR
ประเทศจีนออกกฎหมายว่าด้วยการรีไซเคิลและกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Regulation on Management of E-waste Recycling and Disposal) โดยใช้หลักการ EPR แต่บริหารการเงินโดยกองทุนของรัฐ
OECD ปรับปรุงคู่มือ EPR เพื่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
สหภาพยุโรปยกร่างกฎระเบียบเพื่อจัดการพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic Directive) โดยเพิ่มประเภทพลาสติกที่ต้องจัดระบบ EPR ควบคู่ไปกับมาตรการห้ามและลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและเพิ่มสัดส่วนพลาสติกที่รีไซเคิลได้
ที่มา: OECD (2016a)
1)ผู้ผลิต ควรมีบทบาทหลักภายใต้ระบบ EPR โดยจะต้องรับผิดชอบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย EPR ไม่ว่าจะดำเนินโดยลำพังหรือร่วมกันดำเนินการและไม่ว่าจะดำเนินการผ่าน PRO เดียวหรือหลาย PRO
2)รัฐบาลส่วนกลาง โดยทั่วไปจะรับผิดชอบในการพัฒนากรอบกฎหมาย ติดตามตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย ภาครัฐช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ EPR ได้โดยยกเลิกนโยบายที่ขัดแย้งกันและดำเนินนโยบายที่สนับสนุนระบบ EPR
3)รัฐบาลท้องถิ่น ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนภายใต้ระบบ EPR รัฐบาลท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมและจัดการซากผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด บางประเทศ การเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย EPR เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตหรือ PRO ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นทำหน้าที่เพียงกำกับดูแลการดำเนินงานของ PRO นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นอาจมีบทบาทเพิ่มเติมในการส่งเสริมตลาดรีไซเคิล การช่วยบริษัทในการสร้างศักยภาพการรีไซเคิล อำนวยความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4)ผู้ค้าปลีก อาจมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ แต่บทบาทขั้นต่ำคือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
5)ผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการส่งคืนซากผลิตภัณฑ์หรือขยะบรรจุภัณฑ์ให้กับระบบการเก็บรวบรวมที่ผู้ผลิตจัดทำขึ้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความสะดวกของผู้บริโภคในการส่งคืน
ที่มา: OECD (2016a)
หมายเหตุ: รวมเฉพาะข้อมูลขยะบรรจุภัณฑ์และขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้รวมข้อมูลขยะอื่นๆ ที่อยู่ในระบบ EPR
2) ระบบ EPR ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดการขยะ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรีไซเคิล ช่วยให้เกิดการจ้างงาน ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการจัดการขยะและรีไซเคิลในเยอรมนีมีการจ้างงานประมาณ 290,000 คนทำงานในโรงงาน 15,800 แห่งและในบริษัท 10,800 แห่ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 76 พันล้านยูโรต่อปี (GIZ, 2018) การเพิ่มอัตราการรีไซเคิลเป็นการช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกำจัดขยะ เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศจากบ่อขยะหรือเตาเผาขยะ การปนเปื้อนสารอันตรายในแหล่งน้ำและดินและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แต่จุดอ่อนที่สำคัญของระบบ EPR ที่ผ่านมา คือ ระบบ EPR ยังไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design) ได้เท่าที่ควร การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้สารอันตรายหรือการใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตมากขึ้น การลดปริมาณวัสดุที่ใช้ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีน้ำหนักเบาขึ้นหรือลดการใช้บรรจุภัณฑ์ การยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มความทนทานและชิ้นส่วนที่นำมาใช้ซ้ำได้ และการลดผลกระทบในช่วงการจัดการขยะ เช่น การออกแบบให้ง่ายต่อการแกะแยกชิ้นส่วนหรือใช้วัสดุชนิดเดียวกัน เป็นต้น แต่ด้วยเหตุที่ระบบ EPR ได้เปิดให้ผู้ผลิตร่วมกันบริหารจัดการผ่าน PRO และในหลายประเทศ รัฐบาลท้องถิ่นยังคงสนับสนุนต้นทุนการเก็บรวบรวมบางส่วนอยู่และขาดการสื่อสารที่ใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการรีไซเคิลกับผู้ผลิต ทำให้ EPR ที่ผ่านมายังไม่บรรลุเป้าประสงค์เรื่อง eco-design มากนัก
ตัวอย่างของความพยายามในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดขยะที่ต้นทาง คือ การยกร่างกฎระเบียบสหภาพยุโรปว่าด้วยการลดผลกระทบของผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อสิ่งแวดล้อม (Directive of the European Parliament and of the Council on the reduction of the impact of certain plastic products on the environment1 ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Single-use Plastic (SUP) Directive ในปีค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสการรณรงค์ลดขยะพลาสติกและขยะทะเลทั่วโลก โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องออกกฎหมายภายในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 เพื่อห้าม (ban) หรือลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 10 ชนิด2 ที่พบว่าเป็นขยะที่พบมากที่สุดบนชายหาด 276 แห่งใน 17 ประเทศสมาชิก ประเภทที่ห้ามการใช้ตั้งแต่ปีค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) ได้แก่ หลอด ช้อนส้อม มีด จานชาม แท่งคนเครื่องดื่ม ก้านสำลี ก้านลูกโป่ง รวมถึงพลาสติกชนิด Oxo-degradable และบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มชนิดโฟม (expanded polystyrene) ส่วนบรรรจุภัณฑ์อาหารและแก้วพลาสติก ให้ประเทศสมาชิกลดการบริโภคลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ภายในปีค.ศ. 2025 และลดการใช้ที่กรองก้นบุหรี่พลาสติกไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปีค.ศ. 2025 และร้อยละ 80 ภายในปีค.ศ. 2030
1 Directive (EU) 2019/904 of the European Parliament and of the Council of 5 June 2019 on the reduction of the impact of certain plastic products on the environment (OJ L 155, 12.6.2019, pp. 1-19)
2 ไม่ได้รวมถุงพลาสติก เนื่องจากสหภาพยุโรปออกแก้ไขกฎระเบียบว่าด้วยบรรจุภัณฑ์ ในปีค.ศ. 2015 กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องออกกฎหมายในประเทศห้ามร้านค้าแจกถุงพลาสติกฟรีแก่ผู้บริโภค
จากประสบการณ์ของการพัฒนาระบบและกฎหมาย EPR ในประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียบางส่วนพบว่า แต่ละประเทศ (หรือแต่ละรัฐ) มีการออกแบบรายละเอียดการดำเนินงานที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อระดับความสำเร็จของหลักการ EPR ในคู่มือของ OECD (2016a) จึงได้สรุปข้อแนะนำสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่ต้องการดำเนินนโยบายและออกกฎหมาย EPR ควรพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ระบุวัตถุประสงค์ บทบาทและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอย่างชัดเจน
2) ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับการกำหนดเป้าหมาย อย่างน้อยควรมีการกำหนดเป้าหมายในการเก็บรวบรวมซากผลิตภัณฑ์และอัตราการรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมได้ การกำหนดเป้าหมายควรมาจากการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์และการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ ควรมีการทบทวนเ