บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง และมีรายงานผลการวิจัยพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ทั่วโลก
ศีลาวุธ ดำรงศิริ และ เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พลาสติก สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลาย ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย เช่น การแบ่งประเภทพลาสติกตามสมบัติทางความร้อน หรือการแบ่งประเภทของพลาสติกตามความสามารถในการนำกลับมาหมุนเวียน หรือรีไซเคิล (Recycle) ได้ เป็นต้น บทความนี้ได้กล่าวถึงประเภทของพลาสติกหลายชนิดที่ได้มีการศึกษาวิจัยและอ้างอิงถึงในบทความวิจัยต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งมีคำย่อภาษาอังกฤษของพลาสติกแต่ละชนิด ดังนี้ พอลิเอธิลีน (Polyethylene: PE) พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride: PVC) พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) พอลิเอธิลีนเทเรพฟธอลเลต (Polyethylene terephthalate: PET) พอลีเอสเตอร์ (Polyester: PES) พอลิยูรีเทน (Polyurethane: PUR) และพอลิเอไมด์ (Polyamide: PA) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถูกเรียกว่า ไนลอน (Nylon)
ไมโครพลาสติกเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกกล่าวถึงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันนี้ปริมาณของขยะพลาสติกนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และโดยส่วนมากมักถูกจัดการอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นบนบกเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้ำและทะเล จนก่อให้เกิดปัญหาแพขยะทะเลได้ในที่สุด พลาสติกนั้นเป็นขยะที่มีน้ำหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงสามารถถูกพัดพาออกไปไกลจากแหล่งกำเนิดได้ และสามารถสลายตัวกลายเป็นชิ้นพลาสติกที่มีขนาดเล็กลงได้เมื่อถูกแสงแดด หรือแรงกระแทกจากคลื่น ลม และกระแสน้ำในแหล่งน้ำและทะเล พลาสติกที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้ สามารถแพร่กระจายได้ง่าย สามารถถูกสะสมโดยสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ อีกทั้งยังสามารถเป็นวัสดุตัวกลางที่สะสมสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจศึกษาการจัดการขยะพลาสติกและสถานการณ์การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกตั้งแต่ต้นน้ำ (แหล่งกำเนิดบนบก) กลางน้ำ (แหล่งน้ำจืดผิวดิน) ไปจนถึงปลายน้ำ (ทะเลและมหาสมุทร) เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแล้วยังได้มีการเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบการผลิตน้ำประปาเพื่อการบริโภคและอุปโภคอีกด้วย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์การปนเปื้อนของขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกอย่างรอบด้าน จนสามารถนำไปสู่แนวทางการบริหารจัดการขยะพลาสติก และการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ไมโครพลาสติก (Microplastic) หมายถึง ชิ้นส่วนของพลาสติก (Plastic fragment) หรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร (Horton et al., 2017; Horton and Dixon, 2018; Jiang, 2018) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่มา ดังนี้
1) ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary microplastic) คือ พลาสติกที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาให้มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เพื่อการใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน (รูปที่ 1) เช่น เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์1 (Nurdle) กลิตเตอร์2 (Glitter) เม็ดบีดส์3 (Beads) หรือไมโครบีดส์ (Microbeads)
ที่มา: (ก) Horton and Dixon (2018), (ข) อรัณย์ หนองพล (2561), (ค) Way Magazine (2015) และ https://imgur.com/gallery/aSWGw
1 เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ (Nurdle) คือ วัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตพลาสติกทุกประเภท มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร จึงทำให้สามารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมระหว่างกระบวนการขนส่งและการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ (Horton and Dixon, 2018)
2 กลิตเตอร์ (Glitter) คือ สารตกแต่งอาหารที่ผลิตมาจากส่วนผสมที่มีส่วนประกอบของพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันได้รับความนิยมในการถูกนำมาใช้ตกแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารมีความเงางาม น่ารับประทาน (อรัณย์ หนองพล, 2561)
3 เม็ดบีดส์ (Beads) หรือ ไมโครบีดส์ (Microbeads) คือ พลาสติกขนาดเล็กที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย (Pesonal care products) เช่น เจล/ครีมล้างหน้า สบู่อาบน้ำ สครับขัดผิวกาย สบู่/เจลล้างมือ ยาสีฟัน ยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน (Household care products) เนื่องจากมีความสามารถในการขัดถู มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ (Active ingredients) มีความสามารถในการยืดอายุของผลิตภัณฑ์ (Shelf life) และมีราคาถูก (State of NSW and Environmental Protection Authority, 2016)
คือ พลาสติกที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่จนกลายเป็นชิ้นส่วน (Fragment) เส้นใย (Fiber) หรือแผ่นฟิล์ม (Film) ของพลาสติกที่มีขนาดเล็กลง (รูปที่ 2) กระบวนการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่ให้กลายเป็นพลาสติกขนาดเล็กนี้ สามารถเกิดได้ทั้งโดยกระบวนการย่อยสลายทางกล (Mechanical degradation) กระบวนการย่อยสลายทางเคมี (Chemical degradation) กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ (Biological degradation) และกระบวนการย่อยด้วยแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอัลตราไวโอเลต (UV degradation)
รูปที่ 2 ภาพแสดงไมโครพลาสติกทุติยภูมิชนิดต่าง ๆ ได้แก่ (ก) ชิ้นส่วน (Fragment) พลาสติก (ข) เส้นใย (Fiber) พลาสติก และ (ค) ฟิล์ม (Film) พลาสติก
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดนั้น ในกรณีที่เป็นการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกปฐมภูมินั้น มักมีที่มาจากการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่มีไมโครพลาสติกชนิดดังกล่าวเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของเม็ดบีดส์ที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ในน้ำเสียจากบ้านเรือน แล้วถูกปล่อยออกมาสู่แหล่งน้ำผิวดิน หรือการปนเปื้อนของเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ที่หลุดรอดออกมาจากกระบวนการผลิตและปนเปื้อนสู่น้ำเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น (Medrano et al., 2015; Horton and Dixon, 2018) เช่น ผลการศึกษาของ Napper (2015) ซึ่งรายงานว่าการใช้สครับที่มีเม็ดบีดส์เป็นส่วนผสมล้างหน้า 1 ครั้ง ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเม็ดบีดส์ลงสู่น้ำเสียครัวเรือนและแหล่งน้ำผิวดิน ได้เป็นจำนวนถึง 4,594–94,500 ชิ้น นอกจากนั้น Napper (2015) ยังได้ประมาณการว่าการดำรงชีวิตประจำวันของประชากร 1 คน อาจเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนไมโครพลาสติก (ชนิด PE) ประมาณ 40.5–215 กรัมต่อวัน แม้ว่าปัจจุบันน้ำเสียจากครัวเรือนและชุมชนโดยส่วนมากจะถูกรวบรวมและนำไปบำบัดก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือแหล่งน้ำผิวดินก็ตาม หากแต่ไมโครพลาสติกนั้นเป็นสารมลพิษที่มีขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ และมีน้ำหนักเบา ทำให้มลพิษชนิดนี้ไม่สามารถถูกบำบัดด้วยกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้ จึงเล็ดรอดออกจากระบบบำบัดน้ำเสียออกมาพร้อมกับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วสู่ธรรมชาติได้ในที่สุด
รูปที่ 3 ภาพแสดงตัวอย่างที่มาของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกทุติยภูมิในแหล่งน้ำจืด
ปัจจุบันพบว่าพลาสติกที่มักถูกนำมาใช้ประโยชน์และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มักประกอบไปด้วยพลาสติก 6 ชนิด ได้แก่ PP PE PVC PUR PET และ PS และพบว่าการใช้ประโยชน์จากพลาสติกเหล่านี้มีค่าสูงถึง 80% ของปริมาณการใช้ประโยชน์จากพลาสติกทั้งหมด (PlasticsEurope, 2015) ส่วนขยะพลาสติกที่มักถูกพบในแหล่งน้ำผิวดินและอาจเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำนั้น พบว่ามีหลายชนิดด้วยกันดังแสดงในตารางที่ 1
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง และมีรายงานผลการวิจัยพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีการพัฒนาวิธีการเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่าง และการตรวจวัดไมโครพลาสติกที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้ผลการศึกษาของงานวิจัยแต่ละชิ้นนั้นไม่สามารถถูกนำมาเปรียบเทียบกันได้โดยตรง ตัวอย่างวิธีการศึกษา และผลการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ สรุปได้ดังตารางที่ 2 ผลการศึกษาของตัวอย่างงานวิจัยพบว่าไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ศึกษา ไมโครพลาสติกที่พบปนเปื้อนในแหล่งน้ำจืดโดยส่วนมากเป็นประเภทเส้นใย (Fiber) และแหล่งที่มาของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกนั้นพบว่ามาจากทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน
ตารางที่ 3 ชนิดของพลาสติกที่จำแนกได้จากไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำจืด การปนเปื้อนไมโครพลาสติกนั้นมิได้ถูกตรวจพบเพียงเฉพาะในทะเลและมหาสมุทรเท่านั้น หากแต่ยังพบในแหล่งน้ำจืดผิวดินทั่วโลกอีกด้วย สถานการณ์การปนเปื้อนนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ศึกษา อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาโดยส่วนมากพบว่าชนิดของพลาสติกที่ปนเปื้อนโดยส่วนมากนั้น คือ พลาสติกที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-use plastic) เช่น ถุงก๊อบแก๊บ ถุงขนม ขวดและฝาขวดพลาสติก หลอด ช้อน ส้อม มีด และไม้จิ้มพลาสติก เป็นต้น และมักพบการปนเปื้อนในปริมาณมากในพื้นที่ชุมชน นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าน้ำทิ้งจากชุมชน ยังเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกประเภทเส้นใยในแหล่งน้ำอีกด้วย การปนเปื้อนไมโครพลาสติกนี้ยังถูกพบในแหล่งน้ำดิบของน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภคและน้ำประปาที่ผ่านปรับปรุงคุณภาพน้ำแล้วอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคในประเทศไทย เพื่อให้ทราบสถานการณ์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปัจจุบัน อันจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการออกนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการศึกษาสถานการณ์และการจัดการขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในประเทศไทย" ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนวิจัยเลขที่ CU-GR(S)-61-45-54-01
แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้
ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ
กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ
สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248
ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมไทย
ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3 สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้ เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป
ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์ ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์
บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้ ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้ บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี
หมายเหตุ: * อ้างอิงประเภทของพลาสติกจากการอธิบายคำย่อภาษาอังกฤษในส่วนแรกของบทความ
ผลการศึกษา
ทะเลสาบเจนีวา
(Geneva lake)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก จำนวน 1-7 ชิ้นในน้ำปริมาตร 1 ลิตร
- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกประมาณ 55,000 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- แหล่งที่มาของการปนเปื้อน คือ กิจกรรมของมนุษย์ริมทะเลสาบ และพื้นที่รอบทะเลสาบ รวมไปถึงต้นน้ำของทะเลสาบทะเลสาบลอเรนเทียน
(Laurentian Great lakes)
ประเทศสหรัฐอเมริกา- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเฉลี่ยประมาณ 43,000 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกสูงถึง 466,000 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ใกล้กับชุมชนเมือง
- แหล่งที่มาของการปนเปื้อน คาดว่าคือเม็ดบีดส์ที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย
- อย่างไรก็ดี พบว่าร้อยละ 20 ของอนุภาคของแข็งที่พบและคาดว่าคือไมโครพลาสติกนั้น แท้จริงแล้วคือเถ้าของถ่านหินทะเลสาบฮอฟสโกล
(Hovsgol lake)
ประเทศมองโกเลีย- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเฉลี่ยประมาณ 20,264 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- ร้อยละ 81 ของไมโครพลาสติกที่ตรวจวัดได้มีขนาดเล็กกว่า 4.75 มิลลิเมตร ทะเลสาบไทฮู
(Taihu lake)
ประเทศจีน- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก จำนวน 3.4-25.8 ชิ้นในน้ำปริมาตร 1 ลิตร
- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกประมาณ 10,000-6,800,000 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบโดยส่วนมากเป็นประเภทเส้นใยขนาด 100-1,000 ไมโครเมตร โดยเป็นพลาสติกชนิดเซลโลเฟน (Cellophane)4ทะเลสาบวินนิเพก
(Winnipeg lake)
ประเทศแคนาดา- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกประมาณ 53,000-748,000 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบเป็นไมโครพลาสติกทุติยภูมิ ประเภทเส้นใย พิล์ม (Film) และโฟม (Foam) และตรวจไม่พบเม็ดบีดส์ในตัวอย่างน้ำทะเลสาบ 20 แห่ง แม่น้ำแยงซี (Yangtze river)
และแม่น้ำหานเจียง (Hanjiang river) ในเมืองหวูฮัน (Wuhan city)
ประเทศจีน- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกประมาณ 1,660-8,925 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
- ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบโดยส่วนมากพลาสติกชนิด PET และ PP ที่เป็นเส้นใย ที่มีสี และมากกว่าร้อยละ 80 ของไมโครพลาสติกที่ตรวจพบมีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร
- ปริมาณไมโครพลาสติกถูกพบมากในแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เมืองและชุมชนเขื่อนซานเสียต้าป้า หรือ เขื่อนสามผา (Three Gorges Reservoir)
ที่รับน้ำจากแม่น้ำแยงซี (Yangtze river)
ประเทศจีน- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก จำนวน 1,597-12,611 ชิ้นในน้ำปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
- ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบโดยส่วนมากเป็นพลาสติกชนิด PS PP และ PE และมีลักษณะเป็นเส้นใยใส
- ปริมาณไมโครพลาสติกถูกพบมากในแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เมืองและชุมชน
- นอกจากนั้นยังตรวจพบการปนเปื้อนสารมลพิษจำพวกตัวทำละลายอินทรีย์และอนุพันธ์ของผลิตภัณฑ์ยาในไมโครพลาสติกอีกด้วยแม่น้ำดานูบ
ประเทศออสเตรียน- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกสูงสุด จำนวน 17,349 (ค่าเฉลี่ย 316±4,664) ชิ้นในน้ำปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร
- ร้อยละ 79.4 ของไมโครพลาสติกที่ตรวจพบเป็นพลาสติกที่เป็นสารตั้งต้นหรือวัตถุดิบสำหรับการอุตสาหกรรม มีลักษณะเป็นเม็ด และเกล็ดพลาสติกคลองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam canal)
ประเทศเนเธอร์แลนด์- พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก จำนวน 47-187 (ค่าเฉลี่ย 100) ชิ้นในน้ำปริมาตร 1 ลิตร
- ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบโดยส่วนมากเป็นประเภทเส้นใยงานวิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดบางส่วน ไม่เพียงดำเนินการตรวจนับปริมาณการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเท่านั้น หากแต่ยังได้ดำเนินการศึกษาถึงชนิดของพลาสติกที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำนั้นอีกด้วย ดังสรุปในตารางที่ 3 ซึ่งพบว่าประเภทของพลาสติกที่พบมากในแหล่งน้ำจืด คือ PE PP PS และ PET ซึ่งเป็นชนิดของพลาสติกที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์หลายชนิดด้วยกัน (ตารางที่ 1) เช่น ถุงก๊อบแก๊บ ถุงพลาสติก ถุงขนม ฝาพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ขวดน้ำดื่ม ขวดพลาสติก หลอด ภาชนะบรรจุอาหาร กล่องโฟมบรรจุอาหาร และช้อน ส้อม มีด และไม้จิ้มพลาสติก เป็นต้น
สถานที่ศึกษา
เอกสารอ้างอิง
ทะเลสาบไทฮู (Taihu lake) ประเทศจีน
Su et al. (2016)
ทะเลสาบซูบาลไพน์ (Subalpine lake) ประเทศอิตาลี
Sighicelli et al. (2018)
ทะเลสาบ 20 แห่ง แม่น้ำแยงซี (Yangtze river) และแม่น้ำหานเจียง (Hanjiang river) ในเมืองหวูฮัน (Wuhan city) ประเทศจีน
Wang et al. (2017)
ลุ่มน้ำคาร์พาเทียน(Carpathian basin) ประเทศฮังการี
Bordós et al. (2019)
เขื่อนซานเสียต้าป้า หรือ เขื่อนสามผา (Three Gorges Reservoir) ที่รับน้ำจากแม่น้ำแยงซี (Yangtze river) ประเทศจีน
Di and Wang (2017)
บทความอื่นๆ
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขอบเขตของเนื้อหา
ความยาวของบทความ
รูปในบทความ
การอ้างอิงทางบรรณานุกรม
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....
FAQ
เกี่ยวกับวารสาร
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์
กองบรรณาธิการ
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
ที่ปรึกษา
สำหรับสำนักพิมพ์
สำหรับบรรณาธิการ
สำหรับผู้แต่ง
สำหรับผู้ประเมิน