ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน

บทคัดย่อ

ในภาวะปัจจุบันปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ คือ ปัญหาทางสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อันมีสาเหตุมาจากการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่ทวีจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้เกิดมลพิษปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศ พื้นดิน และพื้นน้ำอย่างมากมาย ซึ่งแต่เดิมความจุของการแบกรับของตัวกลางธรรมชาติ เช่น น้ำ อากาศ และดิน เหล่านี้ยังสามารถรองรับได้ แต่เมื่อมลพิษเหล่านั้นเพิ่มทวีอย่างมากมายจนธรรมชาติไม่อาจรองรับไหว จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็ยิ่งส่งผลให้ผลกระทบจากมลพิษบางกลุ่มยิ่งรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาด้านอากาศในปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญอยู่ก็คือ ปัญหาฝุ่นละอองจากอุตสาหกรรม การคมนาคม และภัยธรรมชาติ ที่สามารถสัมผัสผ่านการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยในแง่ของมลพิษฝุ่นละอองนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ไมโครอน ลงไป เรียกว่า ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate, TSP) 2) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เรียกกว่า PM10 และ 3) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า PM2.5 โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมักเป็นอนุภาคของสารเคมีอันตรายอย่างแอมโมเนีย ซัลเฟต และไนเตรท และสามารถเข้าสู่ปอดได้ด้วยขนาดที่เล็กมาก


อรุบล โชติพงศ์. (2561). ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 1), 54-63.

ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน

บทนำ
หนึ่งในปัญหาด้านอากาศในปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญอยู่ก็คือ ปัญหาฝุ่นละอองจากอุตสาหกรรม การคมนาคม และภัยธรรมชาติ ที่สามารถสัมผัสผ่านการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยในแง่ของมลพิษฝุ่นละอองนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ไมโครอน ลงไป เรียกว่า ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate, TSP) 2) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เรียกกว่า PM10 และ 3) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า PM2.5 โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมักเป็นอนุภาคของสารเคมีอันตรายอย่างแอมโมเนีย ซัลเฟต และไนเตรท และสามารถเข้าสู่ปอดได้ด้วยขนาดที่เล็กมาก

สถานการณ์ฝุ่นละอองของโลก
ปัญหาภาวะมลพิษนี้ไม่ได้เกิดเพียงแค่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป

  • ปัญหาจากไฟไหม้ป่ายังส่งผลเกิดมลพิษทางอากาศในเกาะสุมาตราและเกาะสิมิลัน ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ กันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงและประชาชนล้มป่วย นอกจากนี้ยังพบว่าหมอกควันจากไฟป่าได้แผ่ปกคลุมไปถึงรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ทำให้ระดับคุณภาพอากาศในพื้นที่อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยต้นตอของไฟป่านั้นมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าในเชิงพาณิชย์ การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกปาล์มและภัยแล้งอย่างรุนแรงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ 
  • กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ประสบปัญหาการปะทุหมอกควันขึ้นสู่ท้องฟ้าของภูเขาไฟโปโปคาเตเปตล์ ใน พ.ศ. 2558 และ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559 ก็ประสพกับมลพิษเนื่องจากไอเสียของยานพาหนะมีจนทำให้มีค่าของฝุ่นสูงเกือบ 2 เท่าของค่าที่ยอมรับได้ 

สถานการณ์ฝุ่นละอองในประเทศจีน
ปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นละอองที่อยู่ในระดับที่สูงเกินมาตรฐานอยู่ยาวนานในเมืองใหญ่ของประเทศจีน ทำให้รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าจะลดระดับค่ามลพิษให้ลดลงเหลือ 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก่อนปี พ.ศ. 2560 และในหลายปีที่ผ่านมาประเทศจีนก็พยายามแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด การแก้ไขใช่ว่าจะทำได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ที่มีปัญหาอย่างรุนแรง จีนเองก็ได้วางแผนทั้งระยะสั้น และระยะยาวเพื่อการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้เกิดมลพิษที่มีค่า PM2.5 ในบางเขตมีค่าเกินค่ามาตรฐานซึ่งอยู่ในระดับอันตราย นครปักกิ่งได้ปิดโรงงานหลายแห่งชั่วคราวหรือลดกำลังการผลิตเช่น โรงพิมพ์ โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง และอุสาหกรรมเคมี ผลกระทบนี้นอกจากจะสร้างปัญหาทางด้านสุขภาพแล้วยังมีผลต่อการคมนาคมทั้งทางอากาศและทางบก ทำให้ต้องมีการยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินที่สนามบินนานาชาติปินไห่ในเทียนจินเลยทีเดียว และเปิดทางหลวงเพียงหนึ่งสายเท่านั้นที่ให้รถวิ่งได้ เนื่องจากทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ต่ำมาก รูปที่ 1 (ก-ค) แสดงให้เห็นหมอกควันในกรุงปักกิ่ง และรูป 1 (ง) หมอกควันในเมืองถังซาน 
 
 

 สถาบันผลกระทบต่อสุขภาพในสหรัฐ เผยผลการศึกษาว่าในปี พ.ศ. 2557 มีผู้เสียชีวิตจากมลภาวะอากาศเป็นพิษมีมากกว่า 4.2 ล้านคนทั่วโลก โดยจีนและอินเดียมีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 2.2 ล้านคนซึ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งโลก เพื่อแก้ไขปัญหานี้จีนได้ดำเนินนโยบายและแนวทางการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2560 นี้ จีนก็ยังต้องทะยอยการแก้ปัญหาระดับชาตินี้อย่างต่อเนื่องด้วยภารกิจอันหนักหน่วง นั้นคือ การปิดโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศที่ตั้งมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การปิดโรงงานเหล็กในมณฑลเหอเป่ยนั้นนับเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในโลกแต่เป็นการปิดในระยะสั้น โดยภาคส่วนอุตสาหกรรมเป็นตัวการปล่อย PM2.5 ถึงร้อยละ 40-50 ในมณฑลดังกล่าว ซึ่งโรงงานเหล็กและซีเมนต์นั้นนับเป็นภาคที่ปล่อยมลพิษสูงที่สุด 

สาเหตุของปัญหาหมอกควันพิษในประเทศจีน

ผลกระทบของคุณภาพอากาศในประเทศจีน
ด้านทัศนวิสัยทัศน์การบดบังฝุ่นละออองในบรรยากาศ ย่อมทำให้ส่งผลต่อวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ลดลง ทำให้มีโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรที่มากกว่าเดิมและประชาชนไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนในสวนสาธารณะ 

ด้านเศรษฐกิจนั้นปัญหาหมอกควันกระทบกับความสามารถในการผลิตของแรงงาน (Labor Productivity) ราวร้อยละ 6.5 ของการผลิตทั้งประเทศ (ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท) ด้วยเหตุนี้ จีนจึงประกาศสงครามกับปัญหาหมอกควัน ซึ่งประมาณการกันว่าจีนต้องใช้งบประมาณราว 7 ล้านล้านบาท จึงจะลดปัญหาหมอกควันได้  

แนวทางป้องกันและแก้ไขของประเทศจีน
ส่วนการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งมลพิษโดยตรง ได้แก่ ควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาครัฐมีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายในการอัพเกรดโรงงานให้ใช้พลังงานอย่างอื่นแทนถ่านหิน ในแผนยุทธศาสตร์ลดควันพิษ ภายในระยะเวลา 5 ปี และการปิดโรงงานอุตสหกรรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลจีนได้สั่งปิดโรงงาน 300 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาหมอกครันในกรุงปักกิ่ง นอกจากนั้นยังมีการออกมาตรการระหว่างมณฑลเพื่อลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงการลดการใช้ถ่านหิน โดยแผนลดมลพิษทางอากาศของจีนในปี พ.ศ. 2560 ต้องลดควันพิษให้ได้ร้อยละ 10  โดยมีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดแทนการใช้พลังงานจากถ่านหิน 

นอกจากการแก้ปัญหาโดยตรงแล้ว จีนยังได้มองไปถึงการทำวิจัยที่จะผลิตวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสีกินฝุ่นหรืออาคารกรองอากาศ โดยได้มีศึกษาในด้านการสร้างอาคารที่มีส่วนช่วยป้องกันหมอกควัน คือ สีที่มีส่วนผสมของสารเคมี “ไทเทเนี่ยมไดออกไซค์” (titanium dioxide) สารเคมีดังกล่าวจะช่วยในการจับกับไนโตรเจนออกไซค์ ซึ่งเป็นสารพิษหลักที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำแอพพลิเคชั่นในการติดตามการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรายงานสภาพอากาศแต่ละจุด เฝ้าระวังและจับผิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยควันเสีย 
บรรณานุกรม   
  • Breakingenergy. Chinese Air Pollution Documentary Paints Chilling Picture, Goes Viral. [ออนไลน์]. 2558. แหล่งที่มา: https://breakingenergy.com/2558/03/03/chinese-air-pollution-documentary-paints-chilling-picture-goes-viral/ [6 ธันวาคม 2560]
  • Greenpeace Thailand. ปักกิ่งเริ่มสั่งปิดตัวโรงงานเหล็กครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/60644/ [6 ธันวาคม 2560]
  • Netherlands Enterprise Agency (Rijksdienst voor Ondernemend Nederland). Mining industry in China. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา: https://www.rvo.nl/sites/default/files/2559/06/Mining-industry-in-China%202559.pdf  [6 ธันวาคม 2560]
  • SOFTPEDIA. Microsoft Can Forecast China Air Pollution with Windows Phone App, New Website. [ออนไลน์]. 2558. แหล่งที่มา: http://news.softpedia.com/news/Microsoft-Can-Forecast-China-Air-Pollution-with-Windows-Phone-App-New-Website-483998.shtml [6 ธันวาคม 2560]
  • TransportPolicy. INDIA: AIR QUALITY STANDARDS. [ออนไลน์]. 2560 ข . แหล่งที่มา: http://www.transportpolicy.net/standard/india-air-quality-standards/  [6 ธันวาคม 2560]
  • World Health Organization . WHO Air quality guidelines for particulate matter, ozone, nitrogen dioxide and sulfur dioxide. [ออนไลน์]. 2549 . แหล่งที่มา: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/69477/1/WHO_SDE_PHE_OEH_06.02_eng.pdf [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะจีน: ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (1). [ออนไลน์]. 2557 ก. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/02/shanghai-pollution-1/ [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะจีน ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (7): ชาวจีนรวมตัวทวงความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น.  [ออนไลน์]. 2557 ค. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/08/shanghai-pollution-7/ [6 ธันวาคม 2560
  • ไทยรัฐออนไลน์. จีนตั้งเป้าลดมลพิษทางอากาศใน 28 เมืองภาคเหนือ. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1055685 [6 ธันวาคม 2560]
  • ประชาธรรม. ดูวิธีแบบจีนสไตล์ อยู่และจัดการปัญหาหมอกควัน. [ออนไลน์]. 2559 . แหล่งที่มา: https://www.prachatham.com/article_detail.php?id=411 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. “เม็กซิโก” ห้ามรถนับล้านคันวิ่งในเมืองหลวง หลังเจอปัญหามลพิษในอากาศ. [ออนไลน์]. 2559 ข . แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028075 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. “นิวเดลี” เจอหมอกควันพิษอีกรอบ! ค่าฝุ่นละอองในอากาศพุ่งเกินมาตรฐาน 2 เท่า. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: https://mgronline.com/around/detail/9600000112641 [6 ธันวาคม 2560]
  • เดลินิวส์. คุณภาพอากาศในจีนยังเลวร้ายจากปัญหาหมอกควัน. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: http://www.dailynews.co.th/foreign/546741 [6 ธันวาคม 2560]

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี